Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/816
Title: การบ่มเพาะจิตสานึกสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัย
Other Titles: Cultivating public consciousness of university students
Authors: วัลลภา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
metadata.dc.contributor.advisor: อัญชลี ชยานุวัชร
Keywords: จิตสำนึกสาธารณะ;จิตสำนึก -- แง่สังคม;จิตสาธารณะ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะและกระบวนการบ่มเพาะจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัย และ 2) เสนอแนวทางในการจัดกระบวนการบ่มเพาะจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัย เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี ด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีวิทยาการสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (Grounded Theory) ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มนักศึกษาที่กำลังศึกษาภาคปกติระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1–ชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 9 คน และ 2) กลุ่มผู้บริหารและอาจารย์ ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 3 คน ที่ได้มาจากวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ร่วมกับการเลือกแบบแบบเครือข่ายหรือแบบก้อนหิมะ (Network or Snowball Selection) รวบรวมข้อมูลจนไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือข้อมูลถึงจุดอิ่มตัว (Theoretical Saturation) การวิเคราะห์ข้อมูล มีขั้นตอน ดังนี้ 1) Open Coding กำหนดรหัสเพื่อจำแนกข้อมูลแบบกว้าง ๆ เป็นกระบวนการที่ผู้วิจัยได้วิเคราะห์หาความสอดคล้องของข้อมูล 2) Axial Coding เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลที่ให้รหัสแบบ Open Coding แล้วเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มตามความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน 3) Selective Coding เป็นการนาข้อมูลในขั้น Axial coding มาบูรณการกัน เพื่อหาแก่นของงานวิจัย 4) Theory Generation การสร้างทฤษฎี ด้วยการนำเสนอทฤษฎีแสดงความสัมพันธ์ของหัวข้อหลัก ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า การบ่มเพาะจิตสานึกสาธารณะตามมุมมองของนักศึกษา ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลัก ๆ คือ 1) ความหมาย 2) ความสำคัญของจิตสำนึกสาธารณะ 2) ลักษณะของกิจกรรม 3) จุดเริ่มต้นของการมีจิตสำนึกสาธารณะ 4) สิ่งที่ได้เรียนรู้ 5) คุณค่าที่ได้รับ และ 6) ปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคที่มีต่อการบ่มเพาะจิตสำนึกสาธารณะ การบ่มเพาะจิตสำนึกสาธารณะตามมุมมองของผู้บริหารและอาจารย์ ประกอบด้วย 3 หัวข้อหลัก ๆ คือ 1) ความหมายและความสาคัญของจิตสำนึกสาธารณะ 2) สิ่งที่ปลูกฝัง และ 3) ปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรค ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 2 ด้านแนวทางในการจัดกระบวนการบ่มเพาะจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยพบว่า มหาวิทยาลัยควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาให้มีพัฒนาการด้านการเรียนรู้และด้านจิตสำนึกสาธารณะอย่างต่อเนื่องทุกชั้นปี หลักสูตรเนื้อหาการเรียนการสอนและการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านกิจกรรมเชิงสังคมและการลงมือปฏิบัติ มีการลงพื้นที่จริง กระตุ้นให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เห็นคุณค่าของตนเอง สนับสนุนการทำโครงงานและนาเสนอผลงานด้วยรูปแบบที่หลากหลาย จัดพื้นที่สาธารณะเพื่อประชาสัมพันธ์ การขอความร่วมมือจากครอบครัว รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณ และการใช้โซเชียลมีเดียในการบ่มเพาะจิตสำนึกสาธารณะ ข้อเสนอแนะสาหรับการนำผลวิจัยไปใช้คือ มหาวิทยาลัยควรกำกับให้ทุกหลักสูตรเห็นความสำคัญของการบ่มเพาะจิตสำนึกสาธารณะและสนับสนุนให้มีการเรียนรู้นอกห้องเรียนจากสถานการณ์จริงและเรียนผ่านการปฎิบัติในทุกหลักสูตร ข้อเสนอแนะสาหรับงานวิจัยต่อไป ควรศึกษาประเด็นเดียวกันในบริบทมหาวิทยาลัยที่หลากหลายและนาแนวคิดที่ได้จากงานวิจัยนี้ไปศึกษาเพิ่มเติมกับระดับการศึกษาอื่น ๆ
metadata.dc.description.other-abstract: The purposes of the study are 1) to investigate the characteristics and the public consciousness cultivating process of university students and 2) to propose guidelines for public consciousness cultivation process. The study was designed as a case-based qualitative research with the Grounded Theory for data analysis. The data was collected through semi-structured interview questions. There were two groups of key informants: 9 Year 1-Year 4 students and 3 administrators and lecturers at a private university in Prathumthani, screened with purposive selection focusing on network or snowball technique. Data collection ended when the data reached theoretical saturation. The steps of data analysis consisted of 1) Open Coding to categorize the raw data into themes to relate similar data together, 2) Axial Coding to reduce the number of categories for major themes, 3) Selective Coding to identify the emerging patterns, and finally, 4) Theory Generation to show how major themes were related to make a theory. The findings based on Objective 1 showed that cultivating public consciousness of university students consisted of six factors:-1) Meaning making and significance of public consciousness, 2) Format of the activities 3) The initial attraction of public consciousness, 4) The learning outcomes, 5) The spiritual values obtained and 6) Supporting factors and obstacles against public consciousness cultivation. The administrators and lecturers’ views on public conscious cultivation consisted of three main factors:- 1) meaning making and significance of public consciousness 2) the cultivated essence and 3) supporting factors and obstacles against public consciousness cultivation. The findings based on Objective 2: Guidelines in cultivating public consciousness in university students showed that the university should have a clear policy in continually promoting and supporting students’ learning development and public consciousness. The content in the curricula and the teaching and learning process should focus on learning outside the classroom through social activities and fieldwork to learn about the real situations, supporting learning and sharing, realizing the value of Self, promoting project work and presentations in various formats, organizing public space for public relations activities as well as getting family support including budgeting and the use of social media for public consciousness cultivation. It is suggested that to benefit from this study, the university should ensure that all curricula directors realize the importance of cultivating public consciousness and encouraging learning outside the classroom from real situations and learning by doing.
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด. (การศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การศึกษา
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/816
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-ES-D-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vallapa Senivongsa Na Ayudhya.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.