Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/825
Title: การศึกษาองค์ความรู้การนวดไทย
Other Titles: A study of the body of knowledge of Thai massage
Authors: จุฑานาฎ อ่อนฉ่ำ
metadata.dc.contributor.advisor: พิมพ์อุไร ลิมปพัทธ์
Keywords: การนวด -- ไทย;การแพทย์แผนไทย;ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้การนวดไทย 4 ภาค และ 2) เพื่อ สอบทาน ตรวจสอบความเป็นจริง ค้นหาแนวทางการปฏิบัติ กระบวนการ และเทคนิคการนวดไทย โดยวิธีการปฏิบัติเชิงประจักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1) เอกสารงานวิจัยในระดับ บัณฑิตศึกษาที่เกี่ยวกับการนวดไทยย้อนหลัง 15 ปี 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และ 3) แบบบันทึกภาคสนาม (Fieldnotes) ผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้เป็นผู้ให้ข้อมูล แบบเจาะจง สรุปผลการวิจัย ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ได้ดังนี้ 1) องค์ความรู้การนวดไทย พบว่า หมอ พื้นบ้านทั้ง 4 ภาค มีวิธีการวินิจฉัยอาการ และวิธีการรักษา เหมือนกันคือ การซักประวัติ และการกด จุด หมอพื้นบ้านภาคใต้มีวิธีการรักษาที่แตกต่างจากภาคอื่นคือ มโนราห์เหยียบเสน สมุนไพรที่ใช้ใน การรักษา เหมือนกันคือ ลูกประคบ และน้ำมันสมุนไพร ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาพบในหมอ พื้นบ้านภาคเหนือคือ ไม้ค้อนและลิ่มตอกเส้น และหมอพื้นบ้านทั้ง 4 ภาค มีความเชื่อเหมือนกันคือ ความสมดุลของธาตุ ความเชื่อเกี่ยวกับผี ไสยศาสตร์ และเชื่อเรื่องกรรรมส่งผลให้เกิดโรค 2) เทคนิค การนวดไทย ที่ใช้เหมือนกันทั้ง 4 ภาค คือ แบบราชสำนัก และแบบเชลยศักดิ์ 3) ผู้ให้บริการ ต้องมี ความรู้และทักษะการนวดไทย และความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพนวด แผนไทย 4) ผู้รับบริการ ให้ความสำคัญกับเรื่อง ความสะอาด อัตราค่าบริการ และทักษะการนวด ไทยของผู้ให้บริการงานวิจัยชิ้นนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการและวิชาชีพการนวดไทยให้อยู่คู่สังคมไทยตลอดไป
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this study were to: 1) study body knowledge of Thai massage in 4 regions of Thailand; and 2) investigate the reality of Thai massage in in the 4 regions of Thailand in terms of knowledge, practice, process, and techniques via Evidence-based practice (EBP). The EBP designated body knowledge of Thai massage in 4 regions that integrated research evidence (synthesized within the last 15 years in Thailand), the massage expertise, massage practitioners and massagers, and the client preferences in Thai massage. The informants were purposively selected for the In-depth Interview and field Notes also performed. The results were revealed that: 1) there are two types of massage in 4 regions, Thai Royal and Unclear Body Therapy Massage, in which expertise and practitioners practiced with the same kinds of patterns in diagnosing the symptoms and performing the therapy; 2) Herbal compress ball and oils were used in all body press therapy. The differences are that in the Northern part of Thailand, line or hammer massage was in focus, and in the Southern part emphasized the technique called Nora Pedi Sen. Animism, superstitions, how to balance four body elements of air, earth, wind, and fire, including life karma played salient roles in each therapy; 3) the massagers and the practitioners must be qualified in terms of knowledge, skills, and professional law in Thai massage; and 4) the clients had the preferences particularly in hygiene, massage rate, and skills of the massagers. Overall, the research results could be applied to strengthen the body of knowledge and practices of Thai massage as to preserve Thai massage as a life-long learning for traditional Thai profession.
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด. (การศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การศึกษา
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/825
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-ES-D-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Juthanard Oncham.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.