Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/831
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรรัฏค์ เจริญโชติธรรม | - |
dc.contributor.author | มัติกร บุญคง | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-03T07:45:29Z | - |
dc.date.available | 2022-03-03T07:45:29Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/831 | - |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง การสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ต้องการตอบวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษา 1) การกำหนดภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยรังสิต 2) การสื่อสารภาพลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยรังสิต และ 3) การรับรู้ภาพลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยรังสิต ในมุมมองของ กลุ่มเป้าหมาย โดยผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การวิเคราะห์เชิงเอกสาร การวิเคราะห์ เนื้อหาสาร และการสัมภาษณ์กลุ่ม เพื่อเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยรังสิต มีการกำหนดภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ขององค์กรไว้ 4 ประการ ได้แก่ 1) ภาพลักษณ์การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์สังคมธรรมาธิปไตย 2) ภาพลักษณ์การเป็น มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม 3) ภาพลักษณ์ของการเป็นมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตคุณภาพและ ประสบความสำเร็จ และ 4) ภาพลักษณ์ขการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีสาขาวิชาหลากหลาย โดยการ กำหนดภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยรังสิตมีความสอดคล้องปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ 1) คุณลักษณะที่เป็นจุดเด่นขององค์กร ได้แก่ นโยบาย อัตลักษณ์องค์กร คุณภาพนักศึกษา และความหลากหลายของสาขาวิชา 2) สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมภายนอกที่สัมพันธ์ต่อการ ดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะกับบริบทด้านการเมือง นโยบายด้านการศึกษาและการพัฒนาประเทศของ ภาครัฐ และ 3) ภูมหิ ลังของผู้บริหารองค์กร การสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร พบว่า มหาวิทยาลัยรังสิต มีการแต่งตัังให้ผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และให้ขึ้น ตรงกับผู้บริหารสูงสุดขององค์กร คือ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต สำหรับวิธีการสื่อสาร ภาพลักษณ์องค์กรเกี่ยวกับ กลยุทธ์ด้านสาร เน้นการนำเสนอสารบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่เป็น จุดแข็งขององค์กร กลยุทธ์ด้านสื่อ เน้นการใช้สื่อที่หลากหลาย ได้แก่ สื่อบุคคลและสื่อกิจกรรม พิเศษทัง้ ในรุปแบบของกิจกรรมเชิงรุกและกิจกรรมเชิงรับ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้ าหมายโดยตรง และ สื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งในรูปแบบของการเผยแพร่ข่าวสารและการโฆษณาเพื่อ การประชาสัมพันธ์องค์กร เพื่อสื่อสารกับประชาชนทั่วไป การรับรู้ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีภาพลักษณ์ต่อ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งสอดคล้องกับภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ ได้แก่ ภาพลักษณ์การเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณะและสาขาวิชาที่หลากหลาย และภาพลักษณ์การเป็น มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม และภาพลักษณ์การเป็นมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตคุณภาพและ ประสบความสำเร็จ ยกเว้นภาพลักษณ์การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์สังคมธรรมาธิปไตย ที่มีการรับรู้เฉพาะในกลุ่มเป้าหมายภายในองค์กรเท่านั้น ยังไม่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายภายนอก นอกจากนี ้กลุ่มเป้าหมายยังมีภาพลักษณ์อื่น ๆ ต่อมหาวิทยาลัยรังสิต ได้แก่ ภาพลักษณ์ การเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นครอบครัวและความอบอุ่น ภาพลักษณ์การเป็นมหาวิทยาลัยที่มี นักศึกษาที่มีชื่อเสียง ภาพลักษณ์การเป็นมหาวิทยาลัยที่ผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถ ภาพลักษณ์การเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณาจารย์คุณภาพ และภาพลักษณ์การเป็นมหาวิทยาลัยที่มี ค่าเทอมหรือค่าใช้จ่ายที่สูง เป็นต้น | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยรังสิต -- การประชาสัมพันธ์ -- วิจัย | en_US |
dc.subject | สถาบันอุดมศึกษาเอกชน -- การประชาสัมพันธ์ -- วิจัย | en_US |
dc.subject | ภาพลักษณ์องค์การ -- การประชาสัมพันธ์ | en_US |
dc.title | การสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.title.alternative | Corporate image communication of private higher education institution : case study of Rangsit University | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | The study, Corporate Image Communication of Private Higher Education Institution : Case Study of Rangsit University is a qualitative research answering 3 objectives; 1) the wish image of Rangsit University establishment, 2) the image of Rangsit University communication, and 3) the target group’ s perception of Rangsit University image, applying in-depth interview, documentary analysis, textual analysis and group interview as tools of data collection. The results reveal that Rangsit University has set the wishim age into 4 themes; 1) the image of Dhamacratic Society creation university, 2) the image of innovative university, 3) the image of successful and quality graduate producing university, and 4) the image of a diverse range of course offering university. Moreover, the wish image establishment of Rangsit University relates to 3 important f actors; 1) distinctive characteristics of the university, including policy, corporate identity, quality of the students, and a wide-variety of the programs, 2) situation or external environment relating to the business operation, especially to political context, educational policy as well as the country development by the government sector, and 3) background of the President of the organization. According to communication of the corpora teimage, it reveals that Rangsit University has appointed the top management to be in charge of units relating to corporate image communication of the universit y by directly reporting to the CEO of the organization, The Chancellor of Rangsit University. In regard to communication of the corporate image in message strategy aspect, the main focus is on presenting the basis of facts about the university’s strengths while in media strategy aspect, the main focus is on applying various types of media, including personal media and special events, both in active and passive forms, for communicating with the target market as well as the mass media and the social media in form s of news publishing and advertising for promoting the organization, and giving the public news and information. Regarding to the image perception of Rangsit University, it reveals that the targets have perceived the image of Rangsit University which relates to the established wish image including the image of a diverse range of course offering university; the image of innovative university; and the image of successful and quality graduate producing university, whereas the image of Dhamacratic Society creation university is perceived only among the internal targets of communication, yet to expand to the external targets of communication. Apart of that, there are other image perceptions toward Rangsit University, including the image of family and warm impression embracing university; the image of celebrities’ university; the image of a high competent CEO university; the image of high quality lecturers; and the image of high tuition fee university. | en_US |
dc.description.degree-name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | นิเทศศาสตร์ | en_US |
Appears in Collections: | CA-CA-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Mattikorn Bunkong.pdf | 3.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.