Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/86
Title: | การพัฒนาความสามารถในการเขียนย่อความโดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 |
Other Titles: | The development of summary ability using printed media and STAD cooperative learning management of grade 5 students |
Authors: | ชณานันต์ สุขสาคร |
metadata.dc.contributor.advisor: | ศรีสมร พุ่มสะอาด |
Keywords: | ย่อความ;การจัดการเรียนรู้;การสอนแบบร่วมมือกัน |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนยอความโดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนเทียบกับระดับคะแนนตามเกณฑ์ ของโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนย่อความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์จัดดการเรียนเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนแห่งหนึ่งในสหวิทยาเขตพุทธสาคร อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครสังกดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 24 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก 1 ห้อง จาก 2 ห้อง เครื่องมือที่ใชในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้จานวน 4 แผ่น 2) สื่อสิ่งพิมพ ์ 4 ประเภท 3) แบบทดสอบวดความสามารถการเขียนย่อความจากสื่อสิ่งพิมพ์ 4 ประเภท เครื่องมือวิจัยทั้ง 3 ประเภทได้ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน มีค่าดัชนีสอดคลองกับวัตถุประสงค์ของ การวิจัย (IOC) เท่ากับ 0.67-1.00 ทุกฉบับ สำหรับแบบทดสอบวดความสามารถการเขียนย่อความ ค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.44-0.58 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.34-0.48 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยเป็นผู้จัดดการเรียนรู้ด้วยตนเองกับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน สหวิทยาเขตพุทธสาครโดยใช้เวลา 4 สัปดาห์รวม 10 ชั่วโมงวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย( ( X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า (t – test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนทุกคนสามารถเขียนย่อความได้หลัง เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือกันทคนิค STAD สูงกว่าก่อนทำกิจกรรมกลุ่มทุกคน โดยมีคะแนนเพิ่มระหว่าง 5-15 คะแนน คนที่เพิ่มมากที่สุดคือคนที่24 เพิ่มขึ้น 15 คะแนน คนที่เพิ่มน้อยที่สุดคือคนที่ 9 เพิ่มขึ้น 5 คะแนน คะแนนต่ำสุดก่อนเรียนคือ 47 คะแนน และคะแนนสูงสุดก่อนเรียนคือ 67 คะแนน คะแนนต่ำสุดหลังเรียนคือ 55 คะแนน และคะแนนสูงสุดหลังเรียนคือ 75 คะแนน 2) นักเรียนทุกคน มีความสามารถในการเขียนย่อความหลังเรียนสูงก่วาก่อนเรียนและเมื่อเปรียบเทียบนักเรียนทั้งหัองมี ผลความสามารถแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ( X = 64.67) (S.D = 6.85) |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objectives of this study were 1) to compare writing summary ability of Grade 5 students after study using printing media and STAD cooperative learning in comparison with score level of 60% based on criteria of the sample schools, and 2) to study comparative study of writing summary ability of Grade 5 students before study and after study using printing media and STAD cooperative learning. The samples used in this research were 24 persons of Grade 5 students who were studying in Second Semester of Academic Year 2018 in Phutthasakhon School Consortium, Krathum Baen District, under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office. The random sampling of the said students were taken from one of two rooms of students using Cluster Random Sampling. The using instruments include 1) learning management plan for four plans, 2) printing media such as tales, newspapers, magazines, and textbooks of Thai language for Primary Education, Grade 5, and 3) writing summary ability test. Content validity of all of three research instruments was examined by three experts to acquire Index of Item Objective Congruence (IOC) of the research at 0.67-1.00 for every issue, Difficulty of writing summary ability test at 0.44-0.58, Discrimination of writing summary ability test at 0.34-0.48, and Reliability at 0.89. Data were collected by the researcher as the person who managed learning by herself. Data were analyzed by measuring Frequency, Percentage, Mean ( X), Standard Deviation (S.D.) and Mean Difference Comparison using t-test. The finding of the research results indicated that 1) all students were able to write summary after study using printing media and STAD cooperative learning and score after study was higher than criteria of 60% (68.75-93.75%), and 2) all students were able to write summary after study higher than before study and upon comparison with the whole class students, the summary writing ability after study was significantly higher than that before study at statistical level of 0.01. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/86 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-CI-M-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chananan Suksakon.pdf | 47.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.