Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/883
Title: การหาตำแหน่งดวงอาทิตย์โดยใช้วิธีวิเคราะห์เวกเตอร์ เพื่อควบคุมการหมุนแผงโฟโตวอลเทอิก
Other Titles: Solar tracking by vector analysis for controlling pv panel rotation
Authors: อภิชัย ศิริขันธ์
metadata.dc.contributor.advisor: สมบูรณ์ ศุขสาตร
Keywords: เวกเตอร์วิเคราะห์ -- วิจัย;ดวงอาทิตย์ -- การคำนวณ -- วิจัย;การผลิตพลังงานไฟฟ้าโฟโตวอลเทอิก
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ในงานวิจัยนี้นำเสนอการหาทิศทางของดวงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการควบคุมแผง โฟโตวอลเทอิกหรือระบบติดตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เวกเตอร์ บทความนี้จะแสดงให้เห็นถึงการหาทิศทางของดวงอาทิตย์ไม่ว่าเราจะยืนอยู่ที่ตา แหน่งใดบนโลก ที่ เวลาใดของวัน และที่วันใดของปี โดยใช้แนวคิดระบบพิกัดคาร์ทีเซียนสามแกนของการวิเคราะห์ เวกเตอร์ กา หนดระบบพิกัดคาร์ทีเซียนสามแกน จา นวน 3 ระบบ ระบบแรกเรียกว่าระบบจักรวาลซึ่ง จุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์เป็นจุดเริ่มต้นของแกนทั้งสามแกน โดยโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์หรือ รอบแกนแนวตั้ง และแนวการเคลื่อนที่ของโลกอยู่บนระนาบของอีกสองแกนที่เหลือ ระบบที่สอง คือระบบโลกซึ่งจุดศูนย์กลางของโลกเป็นจุดเริ่มต้นของแกนทั้งสามแกน โดยมีแกนตามแนวขั้วโลก เหนือ-ใต้ เป็นแกนแนวตั้งของแกนทั้งสามแกน ซึ่งก็คือแกนหมุนของโลก ระบบที่สามจะเป็นระบบ ที่ตั้งแผงโฟโตวอลเทอิก ซึ่งคือจุดที่แผงโฟโต้โวลเทอิกหรือระบบติดตามการเคลื่อนที่ของดวง อาทิตย์ติดตั้งอยู่ เป็นจุดเริ่มต้นของแกนทั้งสามแกน การหาความสัมพันธ์ระหว่างระบบพิกัด คาร์ทีเซียนทั้ง 3 ระบบ เพื่อแปรเปลี่ยนมาเป็นระบบที่ตั้งแผงโฟโตวอลเทอิกเพียงระบบเดียว จะได้ ทิศทางของดวงอาทิตย์ที่อ้างอิงในระบบที่ตั้งแผงโฟโตวอลเทอิกหรือทิศทางของดวงอาทิตย์ที่ กระทำกับแกนทั้งสามแกนในระบบที่ตั้งแผงโฟโตวอลเทอิก หลังจากได้รับทิศทางของดวงอาทิตย์ แล้ว ก็สามารถนาไปใช้ในการควบคุมมุมของแผงโฟโตวอลเทอิกในอนาคตได้ เพื่อทำให้แผง โฟโตวอลเทอิกเล็งไปที่ดวงอาทิตย์ตามทิศทางที่ได้มานั้น ในงานวิจัยนี้มีการทดลองหาทิศทางของ ดวงอาทิตย์จากสถานที่และเวลาจริง เพื่อนา มาเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้จากการหาทิศทางของดวงอาทิตย์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เวกเตอร์ตามที่ได้มาจากงานวิจัยนี้
metadata.dc.description.other-abstract: In this research, deriving of the sun direction will be presented for controlling PV panel or Solar Tracking. The work has been done by utilizing vector analysis method. This paper will show that the sun direction from any location on the earth can be derived at any time of day and any day of a year. Conceptually, by using the three-axis cartesian coordinate system of vector analysis and determine 3 systems of the three-axis cartesian coordinate system. First system is called universe coordinate system which center of the sun is the origin. The earth rotating around the sun or around the vertical axis and the movement of the earth is on the plane of the other two axis. Second system is called earth coordinate system which center of the earth is the origin and the N-S axis of the earth as the z-axis of the system or rotating axis of earth. Third system is called local coordinate system which PV panel location is the origin of this three-axis cartesian coordinate system. Hence, finding the relationship between all 3 cartesian coordinate systems to be transformed into PV panel location system. The sun direction will be referenced to the local coordinate system or making angles to all three axis in the local coordinate system. After obtaining the sun direction, those results can be used to control the angle of PV panel aim to the sun in the future. In this research, include the experiments to find the direction of the sun from the a real location at a sample time and the experiments result will be brought to compare with result that derived from using vector analysis method.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/883
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Eng-ECE-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apichai Sirikhunt.pdf8.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.