Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/898
Title: รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการยอมรับและการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Other Titles: A causal relationship model of acceptance and use of technology affecting internal communication behavior via social media of academic support staff at Thammasat University
Authors: ยงยุทธ บุญกิจ
metadata.dc.contributor.advisor: สมชาย เล็กเจริญ
Keywords: สื่อสังคมออนไลน์;การสื่อสาร -- นวัตกรรมทางเทคโนโลยี;การสื่อสารในองค์กร
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการยอมรับและการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจานวนทั้งสิ้น 400 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 7 ระดับ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โมเดลวิจัย ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ความคาดหวังในประสิทธิภาพ 2. ความคาดหวังในความพยายามใช้งาน 3. อิทธิพลทางสังคม 4. แรงจูงใจด้านความบันเทิง 5. มูลค่าราคาต่อประโยชน์ที่ได้รับ 6. สภาพสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน 7. ความเคยชิน 8. พฤติกรรมความตั้งใจในการใช้งาน 9. พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ผลการวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดีโดยมีค่า CMIN/DF = 1.28, GFI = 0.94, AGFI = 0.92, NFI = 0.96, CFI = 0.99, SRMR = 0.00 และ RMSEA = 0.03 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมสื่อสารภายในองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ ร้อยละ 79
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this research were development study the causal relationship model of extended Unified Theory of Acceptance and Use of Technology (UTAUT 2) affecting officers’ internal communication behavior via social media application and to validate the concordance of the causal model with empirical data. The samples were 400 officers from Academic Support Staff at Thammasat University that use social media for internal communication. Questionnaires (Rating Scale) were used to collect data. The Structural Equations Model (SEM) was used to analyze the causal relationship. The questionnaires contain the query measure gauges for measuring variables included nine variables: 1. Performance Expectancy 2. Effort Expectancy 3. Social Influence 4. Facilitating Conditions 5. Hedonic Motivation 6. Price Value 7. Habit 8. Behavioral Intention and 9. Communication Behavior. The results indicated that 1) the model was consistent with the empirical data. Goodness-of-Fit indicators included a relative Chi-Square/df = 1.28, GFI = 0.94, AGFI = 0.92, TLI = 0.99, CFI = 0.99, SRMR = 0.00 and RMSEA = 0.03. The variables in the model amounted to 79 percent (R2 = 0.79) of the variance of Academic Support Staff at Thammasat University officers’ internal communication behavior via social media.
Description: วิทยานิพนธ์ (สท.ม. (เทคโนโลยีสื่อสังคม)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: สารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: เทคโนโลยีสื่อสังคม
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/898
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:ICT-SMT-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yongyuth Boonkit.pdf5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.