Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/94
Title: | การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงพินอินโดยใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 |
Other Titles: | The development of pinyin pronunciation skill using creative activity sets of grade 3 students |
Authors: | เสกสรร โชคเชี่ยวชาญ |
metadata.dc.contributor.advisor: | ศรีสมร พุ่มสะอาด |
Keywords: | ภาษาจีน -- ตัวอักษร;ภาาจีน -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา);ภาษาจีน -- การออกเสียง |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงพินอินโดยใช้ชุด กิจกรรมสร้างสรรค์โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงพินอินของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ กับเกณฑ์ ร้อยละ 75 และ 2) เพื่อ เปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงพินอิน ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่กําลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จังหวัดปทุมธานี จํานวน 33 คน ได้จากการสุ่มนักเรียน 1 ห้องจาก 2 ห้อง ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ จํานวน 3 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จํานวน 3 แผน และ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านการ อ่านออกเสียงพินอิน เครื่องมือทั้ง 3 ประเภท ได้ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน มีค่าดัชนีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยชุดกิจกรรมสร้างสรรค์มีค่า (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ทุกชุดกิจกรรม แผนการจัดการเรียนรู้และแบบทดสอบการอ่านออกเสียง มีค่า (IOC) เท่ากับ 1.00 แบบทดสอบมีค่าความยาก ระหว่าง 0.50-0.77 ค่าอํานาจจําแนกระหว่าง 0.330.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 ผู้วิจัยจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย() ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1)นักเรียนมีคะแนนทักษะการอ่านออกเสียงพินอินโดยใช้ชุดกิจกรรม สร้างสรรค์หลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ มีจํานวนนักเรียน 27 คน ที่ผ่านเกณฑ์ในระดับดีมาก (คะแนน ร้อยละ 80.00-100,00) และมีนักเรียน มีจํานวน 5 คน ที่อยู่ในระดับดี (คะแนนร้อยละ 50.00-15.00 ) และมีเพียง 1 คน ที่อยู่ในระดับพอใช้ (คะแนนร้อยละ 40.00) ซึ่งต้องปรับปรุงทักษะการอ่านพินอิน 2)นักเรียนมีคะแนนทักษะการอ่านออกเสียงพินอินหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกคน และคะแนน ทักษะการอ่านออกเสียงพินอินของนักเรียนทั้งห้องหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 |
metadata.dc.description.other-abstract: | The key objective of this research was to develop pinyin pronunciation skills through the creative activity sets. The sub-objectives were 1) to compare pinyin pronunciation skills of rade 3 students after the creative acticity sets under the criteria of 75%; and 2) to compare pinyin pronunciation skills before and after the creative acticity sets. The samples included 33 of grade 3 students at a private school in Pathum Thani Province, Academic Year 2018. They were obtained from cluster random sampling of 1 class out of 2 (drawing lots). The instruments consisted of 1) 3 creative activity sets, 2) 3 learning management plans, and 3) pinyin pronunciation skill test. All 3 instruments were examined for their content validity by 3 experts. The values of IOC conformed with the research objectives. Specifically, all of the creative activity sets had IOC between 0.67-1.00. The learning management plans had IOC at 1.00. The test had difficulty between 0.50-0.77, discrimination between 0.33-0.67, reliability at 0.80. The researcher managed learning on his own. Data analysis relied on frequency, percentage, mean ( ), S.D., and t-test. The findings revealed that 1) the students passed the scoring criteria of pinyin pronunciation skills after the creative acticity sets (…%). 27 of them were at “excellent” level (score between 80% -100%). 5 of them were at “good” level (score between 50%-75%). Only 1 student was at “fair” level (score = 40%), which required the development of pinyin pronunciation skills. 2) All of the students had higher score of pinyin pronunciation skills after learning, with the statistical significance of 0.01. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/94 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-CI-M-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Seksan Chokchiewchan.pdf | 46.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.