Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/950
Title: | The study of estrogen receptor in sandworm Perinereis Nuntia |
Other Titles: | การศึกษายีนสร้างโปรตีนคล้ายตัวรับเอสโตรเจนในพ่อแม่พันธุ์เพรียงทราย Perinereis Nuntia |
Authors: | Chotip Phooim, ช่อทิพย์ โพธิ์อิ่ม |
metadata.dc.contributor.advisor: | Gun Anantasomboon, Acharawan Thongmee |
Keywords: | Estrogen replacement therapy;Polychaeta |
Issue Date: | 2017 |
Publisher: | Rangsit University |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายีนตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen Receptor Gene) ในเพรียงทรายสายพันธุ์ Perinereis nuntia วัยเจริญพันธุ์ โดยมีสมมติฐานว่าเพรียงทรายสายพันธุ์นี้มีการสร้างและใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อควบคุมการทางานระหว่างกลุ่มเซลล์ของระบบสืบพันธุ์เหมือนกับรายงานที่ตรวจพบกับเพรียงทรายสายพันธุ์ P. aibuhitensis และสัตว์มีกระดูกสันหลังทั่วไป ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนจะออกฤทธิ์ที่เซลล์เป้าหมายโดยการจับกับตัวรับฮอร์โมนเพศชนิดนี้ตัวอย่างพ่อแม่พันธุ์เพรียงทรายอายุ 5-6 เดือนเพศละ 6 ตัว และเพรียงทรายก่อนวัยเจริญพันธุ์อายุ 2-3 เดือนจานวน 5 ตัว ถูกนามาตรวจสอบชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันระยะเจริญพันธุ์ของเพรียงทรายที่นำมาศึกษาแยกสกัดตัวอย่าง DNA เพื่อตรวจสอบยีนตัวรับเอสโตรเจนโดยวิธี PCR และ DNA sequencing ผลการศึกษาเนื้อเยื่อพบว่าพ่อแม่พันธุ์เพรียงทรายแต่ละเพศมีการผลิตเซลล์ไข่และอสุจิจำนวนมากสะสมภายในช่องว่างกลางลำตัว ผลการตรวจสอบชิ้นส่วนของยีนตัวรับเอสโตรเจนจากตัวอย่างเพรียงทรายวัยเจริญพันธุ์ทั้ง 6 ตัว ได้แถบผลผลิต PCR มีขนาดโมเลกุลประมาณ 200 bp โดยพบว่ามีลาดับเบสไม่ตรงกับตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพรียงทรายสายพันธุ์ P. aibuhitensis เมื่อตรวจสอบตาแหน่งที่มีการสร้างและสะสมของโปรตีนตัวรับเอสโตรเจนโดยวิธี Indirect Immunohistochemistry พบผลบวกจากปฏิกิริยาอิมมูโนฮีสโตเคมีของแอนติบอดีจำเพาะต่อตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดเบต้ากับกลุ่มเซลล์ที่อยู่บริเวณโคนรยางค์ของแต่ละปล้อง (Parapodia) ทั้งสองข้างของพ่อแม่พันธุ์เพรียงทรายทั้งเพศผู้และเพศเมียและยังพบผลบวกที่ชั้นเปลือกนอกของไข่ จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ตรวจพบในพ่อแม่พันธุ์เกี่ยวข้องกับ การเจริญพันธุ์ในเพรียงทรายโดยทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์และกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ทั้งนี้ตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจใช้เป็น Biomarker สาหรับตรวจสอบความสมบูรณ์ด้านการเจริญพันธุ์ของเพรียงทราย อย่างไรก็ตามควรทำการศึกษาลาดับเบสทั้งหมดของยีนรวมถึงการแสดงออกของยีนตัวรับชนิดนี้เพิ่มเติม |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objective of this research is to study the estrogen receptor (ER) gene fragment in marine sandworm, Perinereis nuntia, broodstocks. The presumption of this study is that the reproductive sandworm may generate and use estrogen to control inter-cellular group for reproductive functions as was reported in Korean lugworm, P. aibuhitensis and other vertebrate species. Actions of estrogen at its target cells are commonly known since it binds with the ER. Six brooders of sandworm at 5-6 months of age and 5 pre-reproductive animals at 2-3 months old were examined. Histological study was used for identifying the reproductive stage of sandworms. Genomic DNAs were also extracted and tested for the estrogen receptor gene by using PCR and DNA sequencing analyses. Histological study revealed that the coelomic cavity of brooders was fulfilled with a numerous of ova or sperms. Result from PCR amplification of estrogen receptor gene fragment in all six sandworm broodstocks exhibited PCR product at molecular weight of 200 bp. However, the retrieved PCR fragment was not identity with ER sequence of P. aibuhitensis. For ER protein synthesis and deposition, indirect immunohistochemistry was determined and revealed positive immunoreactions specific for ER-beta with clusters of cells closed to the stump of parapodia of the brooders. An intense immunoreaction also deposited at the cytoplasm of the ovum. The results from this study indicate that ER found in sandworm broodstocks was likely related to the process of reproductive cell generation and the completion of reproductive system. The expressed ER could be used as biomarker to verify the completion of reproductive growth in P. nuntia. Moreover, the research should be continuously studied for more information on a complete sequence of ER gene, as well as time-course of ER expression by this mentioned gene in sandworms. |
Description: | Thesis (M.Sc. (Biomedical Sciences)) – Rangsit University, 2017 |
metadata.dc.description.degree-name: | Master of Science |
metadata.dc.description.degree-level: | Master's Degree |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | Biomedical Sciences |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/950 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sc-BS-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chotip Phooim.pdf | 3.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.