Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/971
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | - |
dc.contributor.author | สุริยะใส กตะศิลา | - |
dc.date.accessioned | 2022-04-01T03:32:13Z | - |
dc.date.available | 2022-04-01T03:32:13Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/971 | - |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ประกอบด้วย; 1) เพื่อศึกษาสถานภาพขององค์ความรู้ในแนวคิดเรื่องสังคม “ธรรมาธิปไตย” ที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยรังสิต 2) เพื่อศึกษาการนำองค์ความรู้เรื่องสังคมธรรมาธิปไตยไปเผยแพร่ต่อสังคมสาธารณะ 3) เพื่อศึกษาบทบาทของมหาวิทยาลัยรังสิตต่อการขับเคลื่อนสังคมธรรมาธิปไตย 4) เพื่อการปรับปรุงการเรียนการสอนวิชา RSU 101 ธรรมาธิปไตยในมหาวิทยาลัยรังสิต ผลการศึกษาพบว่า จุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนสังคมธรรมาธิปไตยของมหาวิทยาลัยรังสิตนั้นเกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤติประชาธิปไตยและการเมืองที่ล้มเหลว การนำหลักธรรมาธิปไตยเข้าสู่ระบบการเมือง ระบอบประชาธิปไตยและการสร้างคนที่เข้าใจหลักการธรรมาธิปไตยจึงน่าจะเป็นคำตอบ/ทางรอดที่เป็นจริงของรูปแบบและเนื้อหาประชาธิปไตยที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทสังคมการเมืองไทย งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการผสมผสานระหว่างประสบการณ์ในภาคสนามและการเปรียบเทียบกับทฤษฎีรวมไปถึงความรู้จากผู้รู้ต่างๆ เพื่อพัฒนาขึ้นมาเป็นงานเขียนที่บอกรายละเอียดของเรื่องสังคมธรรมาธิปไตย ปัญหาและอุปสรรคหนึ่งที่ผ่านมาในการขับเคลื่อนสังคมธรรมาธิปไตย คือ การรับรู้และความเข้าใจของบุคลากรภายในของมหาวิทยาลัยมีคำอธิบายที่ไม่เป็นเอกภาพและแตกต่างกัน งานวิจัยขอเสนอให้มี “การนิยามความหมายที่ชัดเจน” หรือ “การให้ความหมายอย่างแคบ” ของคาว่าธรรมาธิปไตย และสังคมธรรมาธิปไตย เพื่อที่จะได้สร้างการรับรู้และความเข้าใจของบุคลากรภายในไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อนำไปสู่การสร้าง “ตัวชี้วัดที่ชัดเจน” โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. “ธรรมาธิปไตย” คือ “หลักเกณฑ์ในการตัดสินใจที่ดีของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่ยึดเอาความจริง ความถูกต้องและความดีเป็นใหญ่” 2. “สังคมธรรมาธิปไตย” คือ “สังคมประชาธิปไตยที่ประชาชนมีหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจที่ดีโดยยึดเอาความจริง ความถูกต้องชอบธรรมและความดีเป็นใหญ่” ส่วนในด้านการดำเนินงานมหาวิทยาลัยรังสิตนั้นได้ถูกออกแบบให้ทำหน้าที่ “มากกว่าการเป็นสถาบันการศึกษา” ทั่วไป กล่าวคือ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ได้วางวิสัยทัศน์และนโยบายไว้ชัดเจนว่ามหาวิทยาลัยรังสิตจะต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขไปพร้อมกับสังคมไทย บัณฑิตของมหาวิทยาลัยทุกระดับต้องรับผิดชอบต่อตัวเองและต่อสังคมไปพร้อมกันได้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในยามบ้านเมืองเข้าสู่สถานการณ์อับจน เราจะเห็นทั้งบทบาทของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ และบัณฑิตของมหาวิทยาลัยรังสิตมีส่วนต่อสังคมในทุกเหตุการณ์ มหาวิทยาลัยรังสิตได้แสดงบทบาททั้งชี้นำและเข้าร่วมหนุนเสริมเคียงข้างพลังภาคประชาสังคมในการเปลี่ยนผ่านบ้านเมืองแทบจะทุกยุคทุกสมัยข้อเสนอจากการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนสังคมธรรมาธิปไตยคือการกำหนด “หลักธรรมาธิปไตย” ไว้ในรัฐธรรมนูญ รัฐและสังคมทุกภาคส่วนต้องร่วมกันอย่างแข็งขันในการสร้างสังคมธรรมาธิปไตย ผู้นำธรรมาธิปไตย และธรรมราษฎร์ ด้วยการทั้งให้การศึกษาแบบเป็นทางการและพลเมืองศึกษา/การเรียนรู้นอกระบบ ในทุกภาคส่วนของสังคม | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยรังสิต -- การศึกษาและการสอน -- วิจัย | en_US |
dc.subject | สังคมศาสตร์กับศีลธรรมจรรยา | en_US |
dc.subject | ธรรมรัฐ | en_US |
dc.subject | จริยธรรมการเมือง | en_US |
dc.title | รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องบทบาทของมหาวิทยาลัยรังสิตกับการขับเคลื่อนสังคมธรรมาธิปไตย | en_US |
dc.title.alternative | Role of Rangsit University in driving the society of dhamma democracy / moral democracy | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.other-abstract | The objectives of this study are; 1. To study the state of knowledge of the society of Dhamma Democracy/moral democracy for using in the instruction of Rangsit University. 2. To study a leading of the society of Dhamma Democracy/moral democracy for distributing to society. 3. To study role of Rangsit university in driving the society of Dhamma Democracy/moral democracy. 4. To improve the instruction of the subject called “RSU 101 Dhamma Democracy/moral democracy” in Rangsit university. Results of the study revealed that the beginning of Rangsit university in driving the society of Dhamma Democracy/moral democracy has happened among crisis of the failed representative democracy and politics. A leading of the concept of Dhamma Democracy/moral democracy to the democratic system and creating people that understand Dhamma Democracy/moral democracy would be the practical solution of forms and contents of democracy according with social and political contexts of Thailand. This study has used the combination of field experiences and theoretical comparatives, including knowledge from many experts in order to develop this study described any details of the society of Dhamma Democracy/moral democracy. One of previous problems and obstacles in driving the society of Dhamma Democracy/moral democracy has had perception and understanding of many internal staffs in Rangsit university inharmoniously and differently. This study has proposed a definition of “the exact meaning” or “narrow meaning” of “Dhamma Democracy/moral democracy” and “the society of Dhamma Democracy/moral democracy” in order to make perception and understanding of all internal staffs in the same direction, and set up “the exact key performance indicators”, as the following; 1. “Dhamma Democracy/Moral Democracy is “Rules of good decision making of the people in democratic system by holding truth, justice and virtues as the main priority.” 2. “The Society of Dhamma Democracy/Moral Democracy” is “The democratic society that the people have rules of good decision making by holding truth, justice and virtues as the main priority.” In the operations of Rangsit university it was designed to be function of “The More Educational Institution/University’, in other words Dr. Arthit Ourairat, the president of Rangsit University has set up proposed vision and policy that Rangsit university will have to share good times and bad times together with the society. All of undergraduate and graduate students have to take individual and social responsibility at the same time. It's not uncommon when the society fall between crisis or deadlock we’ve found that Dr. Arthit Ourairat and many of ex-students of Rangsit university participating and collaborating in many important social issues. Rangsit university has had a leading role with both guiding and supporting many groups of civil society in order to join many of important transitional changes of the society at almost all ages. A recommendation for driving the society of Dhamma Democracy/moral democracy is the determination of the concept or the principle of “Dhamma Democracy/moral democracy” in the constitution. Government organizations and all parts of the society (private sector, non-governmental organizations and civil society organizations) have to actively cooperate/collaborate for constructing the society of Dhamma Democracy/moral democracy and social leaders and citizens with Dhamma Democracy/moral democracy characteristics by using both formal education and civic education/informal education in every sectors of the society | en_US |
Appears in Collections: | CSI-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suriyasai Katasila.pdf | 2.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.