Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/976
Title: การตีความและฝึกซ้อมในบทเพลงเปียโนโซนาตาหมายเลข 23 ลำดับที่ 57 ของเบโทเฟน
Other Titles: Beethoven’s Piano Sonata No.23, Op.57: interpretation and practice strategies
Authors: ธีรพล หลิว
metadata.dc.contributor.advisor: วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น
Keywords: เบโทเฟ่น, ลุดวิก ฟาน, 1770-1827;เปียโน -- เพลงและดนตรี;เพลงคลาสสิก
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเรื่อง “การตีความและฝึกซ้อมในบทเพลง โซนาตาหมายเลข 23 ลาดับที่ 57 ของ เบโทเฟน” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตีความเทคนิคการบรรเลง หาแนวทางการฝึกซ้อม อีกทั้งเพื่อนาเสนอความไพเราะและงดงามผ่านการแสดงคอนเสิร์ตโดยมีขอบเขตการศึกษาคือ เป็นการศึกษาวิเคราะห์บทเพลงในเชิงทฤษฏีดนตรีแบบแผน สังคีตลักษณ์ของบทเพลง รวมถึงการวิเคราะห์ตีความเทคนิควิธีการบรรเลงและแนวการฝึกซ้อมเปียโนเท่านั้น จากผลการศึกษาบทเพลงทั้ง 3 ท่อนของ โซนาตาหมายเลข 23 ลาดับที่ 57 พบว่าบทเพลงมีอารมณ์และสีสันที่หลากหลาย อีกทั้งการบรรเลงช่วงตอนต่าง ๆ นั้นจะมีเทคนิคการบรรเลงที่ผู้วิจัยใช้ในการบรรเลงแทรกอยู่ในบทเพลงทั้งหมด 11 เทคนิค คือ การเล่นอาร์เปโจพร้อมกันทั้งสองมือ การเล่นคอร์ดแตกในจังหวะ 3 พยางค์ การสลับนิ้วเล่นโน้ตรัว 3 พยางค์ การถ่ายน้าหนักเพื่อเล่นคอร์ด การเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กันระหว่างมือทั้งสองข้าง การเล่นข้ามมือ การใช้ข้อมือเล่นแนวเบสแบบอัลแบร์ตี การไล่บันไดเสียงให้พร้อมกันทั้งสองมือ การเล่นโน้ตสั้น การเล่นโน้ตคู่ 8 สลับกับโน้ตขั้นคู่ และการกระดกข้อมือเล่นโน้ตขั้นคู่ที่สลับกัน 2 คู่ อย่างไรก็ตามนอกจากเทคนิคแล้ว ยังต้องอาศัยแนวทางการฝึกซ้อมบทเพลงที่ดีร่วมด้วย เพื่อทาให้บทเพลงมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น ได้แก่ วิเคราะห์ภาพรวมของบทเพลง ตีความเทคนิคที่ใช้ในการบรรเลงในแต่ละช่วง ฝึกซ้อมทีละมือและจาเสียงของแต่ละมือให้ได้ ฝึกซ้อมบทเพลงตามช่วงตอนที่ได้วิเคราะห์ไว้ เก็บรายละเอียดในการบรรเลงทั้งหมด ใช้เครื่องกากับจังหวะร่วมด้วยเสมอ และใช้การฝึกซ้อมด้วยความคิดและความจาโดยไม่ใช้เปียโน
metadata.dc.description.other-abstract: The study of “Beethoven’s piano sonata no.23 op.57: interpretation and practice strategies”, aims to analyze musical performance techniques, look for practice strategies, and present the aesthetics of music through the recital. The scope covers the analysis of the composition as traditional music, musical form, musical performance techniques, and practice strategies. After studying the three movements of piano sonata no.23 op.57, it shows that the composition contains a variety of emotional expressions and tone color. In addition, the researcher also suggests 11 performance techniques as follows: 1) two-handed arpeggios, 2) triplet broken chords, 3) tremolo techniques, 4) hand weight shifting while playing chord, 5) two-handed movement control, 6) hand crossing, 7) Alberti bass, 8) scales on both hands, 9) staccato, 10) back-and-forth switching between an octave and an interval, and 11) wrist raising while playing two intervals back and forth. However, apart from these, practice strategies also play an essential role in enhancing the tune. These includes exploring the overview of the composition, interpreting the techniques in each part, practicing one hand at a time and memorizing the sounds of each hand, practicing according to the analysis, remembering every detail, practicing with a metronome, and imaginary practicing without the instrument.
Description: วิทยานิพนธ์ (ดศ.ม. (ดนตรี)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560
metadata.dc.description.degree-name: ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ดนตรี
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/976
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Ms-Music-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teerapol Liu.pdf6.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.