Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/978
Title: แนวทางการฝึกซ้อมบทเพลงร้องของท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์
Other Titles: Singing approach to the vocal compositions of Puangroi Abhaiwongsa
Authors: พัทธนันท์ อาจองค์
metadata.dc.contributor.advisor: วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น
Keywords: พวงร้อย (สนิทวงศ์) อภัยวงศ์, ท่านผู้หญิง, 2475-2543;การขับร้อง; เพลง -- วิจัย
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเรื่อง แนวทางการฝึกซ้อมบทเพลงร้องของท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ ซึ่งประกอบไปด้วย 5 บทเพลงได้แก่ เพลงบัวขาว เพลงดอกไม้ เพลงจันทร์เอ๋ย เพลงไม้งาม และเพลงเงาไม้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและตีความบทเพลงของท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์สาหรับการฝึกซ้อมและขับร้องด้วยวิธีการขับร้องในรูปแบบคลาสสิกตะวันตก เพื่อนาไปใช้ในการแสดงหรือเป็นแนวทางในการศึกษาบทเพลงสาหรับผู้ที่มีความสนใจที่จะฝึกขับร้องบทเพลงของท่านผู้หญิงจากการศึกษาพบว่าบทเพลงเหล่านี้สามารถใช้วิธีการขับร้องในรูปแบบของดนตรีตะวันตกได้ แต่ปัจจัยที่สาคัญคือการปรับการออกเสียงภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักการออกเสียงและสอดคล้องกับหลักการร้องแบบตะวันตก รวมไปถึงการปรับเพิ่มโน้ต และปรับเปลี่ยนระดับเสียงโน้ตบางตัว เพื่อให้สอดคล้องกับการออกเสียงวรรณยุกต์ไทย ซึ่งบทเพลงเหล่านี้มีวิธีการประพันธ์ที่ได้รับอิทธิพลจากบทเพลงตะวันตก ดังนั้นรูปแบบการร้องอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งที่พบในทุกบทเพลง นอกจากนี้การปรับเพิ่มลดความเข้มของเสียงและอารมณ์ความรู้สึกในการร้องให้สอดคล้องกับเนื้อหาของบทเพลงก็เป็นอีกปัจจัยสาคัญในการขับร้อง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้การขับร้องและตีความบทเพลงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สาหรับแนวทางการฝึกซ้อม ผู้วิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อเพลงให้อยู่ในลักษณะสัญลักษณ์สัทอักษรเพื่อให้ง่ายต่อการออกเสียง จากนั้นเลือกกุญแจเสียงที่เหมาะสมกับเสียงร้อง หากพบปัญหาในการขับร้องให้นาจุดที่มีปัญหาแยกออกมาฝึกซ้อม โดยค้นหาวิธีการที่เหมาะสม และซ้อมย้าจนเกิดความคุ้นชินก่อนที่จะร้องตั้งแต่ต้นจนจบ
metadata.dc.description.other-abstract: The research ‘Singing Approach to the Vocal Compositions of Puangroi Abhaiwongsa’, which focuses on 5 songs: ‘Bua Khao’, ‘Dok Mai’, ‘Chan Oei’, ‘Mai Ngam’, and ‘Ngao Mai’ , aims to study the compositions in order to efficiently apply Western classical singing technique to practice and performance. It also aims to be a guideline for singers who have interest in performing Abhaiwongsa’s compositions. It can be concluded from the study that the compositions can be sung with Western classical singing technique. The major concerns are to maintain the correct pronunciation of Thai lyric whilst singing in the Western style and to add or alter pitch material in order to achieve accurate linguistic intonations. It is evident that Western compositional technique has significant influence on the Abhaiwongsa’s songs. Hence, the requirement of legato singing technique can be found in all of the studied pieces. It is also apparent that understanding the change of dynamic and expression in accordance with the feeling of a song can remarkably enhance the interpretation of a piece and the quality of a performance. For practice, the researcher used phonetic alphabets on the lyrics to attain the most accurate and convenient pronunciation and chose appropriate scales that are suitable for the researcher’s vocal range. When encountered technical difficulties, the singer should focus only on the difficult passages, find appropriate solutions, and repeatedly practice the focused sections before a run-through.
Description: วิทยานิพนธ์ ( ดศ.ม. (ดนตรี)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560
metadata.dc.description.degree-name: ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ดนตรี
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/978
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Ms-Music-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattanan Art-Ong.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.