Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/980
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตพงษ์ สอนสุภาพ-
dc.contributor.authorปิยวรรณ ตวงศิริชัยกุล-
dc.date.accessioned2022-04-07T07:47:47Z-
dc.date.available2022-04-07T07:47:47Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/980-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาบรรษัทภิบาลของธุรกิจคอนโดมิเนียมในประเทศไทย และเพื่อศึกษารูปแบบความยั่งยืนของบรรษัทภิบาลสำหรับธุรกิจคอนโดมิเนียมในประเทศไทย ผู้วิจัยใช้แนวการวิเคราะห์ทางสังคมเศรษฐกิจ (Social Economy Approach) ประกอบด้วย แนวคิดธรรมาภิบาล บรรษัทภิบาล และการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมและแนวคิดเกี่ยวกับการบริโภคอย่างยั่งยืน การศึกษาวิจัยนี้ใช้เทคนิควิธีเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-Depth Interview) หรือการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งมีโครงสร้าง (Unstructured or Semi Structure Interviews) มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะได้ข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา และรายละเอียดของเนื้อหาสาระเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์และรายงานผลการสัมภาษณ์ ลักษณะคำถามจะแยกเป็นคำถามหลัก (Main Questions) ตามด้วยคำถามประกอบการซักไซ้ติดตามประเด็น (Probing) หรือคำถามติดตาม (Follow Up) เพื่อให้ผู้ตอบให้ข้อมูลรายละเอียดมากที่สุดในประเด็นที่ศึกษา โดยมีกลุ่มเป้าหมาย (Key Informant) ที่เกี่ยวข้อง 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จำนวน 3 บริษัท กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้บริโภคหรือผู้ซื้อหรือผู้ที่พักอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมนั้นจำนวน 20 ราย กลุ่มที่ 3 เจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 8 ราย ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาบรรษัทภิบาลของธุรกิจคอนโดมิเนียมในประเทศไทยของแต่ละบริษัทนั้น มีปัญหาด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ไม่เอื้ออำนวย หรืออาจเป็นเพราะการบริหารอย่างไม่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาซํ้าเดิมที่มีรูปแบบใกล้เคียงกันในหลายบริษัท แม้จะมีการร่วมกันคิดวิเคราะห์ออกมาเพื่อเป็นแนวทางในการใช้งาน ผู้วิจัยไม่พบว่านโยบายทั้งหมดนั้นประสบความสำเร็จอย่างจริงจัง 2. ประเทศไทยมีการพัฒนาหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ธุรกิจคอนโดมิเนียมมีความเจริญก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด แต่อย่างไรนั้นก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรจะเป็น เพราะข้อค้นพบนั้นแสดงให้เห็นว่าหลังจากที่บริษัทได้ส่งมอบคอนโดมิเนียมแล้วนโยบายการดูแลต่างๆ ไม่เหมือนดั่งที่ได้ทำการตลาดไว้ในช่วงแรกเปิดโครงการ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาภายหลังen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectธรรมาภิบาลภาคธุรกิจen_US
dc.subjectบรรษัทภิบาลen_US
dc.subjectคอนโดมิเนียมen_US
dc.subjectอาคารชุด -- การวางแผนธุรกิจ -- วิจัยen_US
dc.titleบรรษัทภิบาลธุรกิจอาคารชุดในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeCorporate governance and condominium in Thailanden_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstractThis research was qualitative research. It had the objective to study the problem condition of corporate governance of condominium business in Thailand and to study the sustainability format of corporate governance for condominium business in Thailand. The researchers used Social Economy Approach including the concept of good governance, corporate governance and sustainable development and the concept of social responsibility and the concept on sustainable consumption. This research used the technique of qualitative method which was in-depth interview or unstructured or semi-structure interviews with the objective to acquire useful information deeply on the study matter and the details of the content in order to be used in the analysis and report of interview result. The question will be main questions following by probing questions or follow-up questions so that respondents would provide information with the most details in the studied point. There will be key informant in 3 groups including group 1 the group of condominium business operator in Bangkok that registered in the stock market for 3 companies and group 2 the group of consumers or buyers or people living in that condominium for 20 people and group 3 state officials in related agencies for 8 people. From the research it was found that 1. The problem condition of corporate governance of condominium business in Thailand of each company has a problem on administration and various environmental factors were not ready or improper administration which were the same problems that were the same in many companies. Even there is analysis to be a guideline in using, researchers did not find that all the policies to be successful 2. Thailand had many forms of developments so that condominium business would grow exponentially. However, it was not as successful as it should be because the finding showed that after the company delivered the condominium, various policies were not as they promoted when they started the project so there were many problems afterwards.en_US
dc.description.degree-nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
dc.contributor.degree-disciplineผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมืองen_US
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyawan Tuangsirichaikul.pdf6.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.