Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1034
Title: การผลิตซ้ำงาน วรรณกรรมไทย เพื่อการโฆษณาในสื่อวีดิทัศน์ออนไลน์
Other Titles: Reproduction of Thai literature for advertisement in online videos
Authors: สหพัฒน์ สถาปนิกานนท์
metadata.dc.contributor.advisor: กฤษณ์ ทองเลิศ
Keywords: สื่อออนไลน์;การโฆษณาทางอินเตอร์เน็ต;วรรณกรรมไทย -- วิจัย
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงการประกอบสร้างความหมายผ่านการผลิตซ้างาน“วรรณกรรมไทย”เพื่อการโฆษณาในสื่อวีดิทัศน์ออนไลน์ และแก่นจินตนาการของผู้รับสารที่เกิดจากการผลิตซ้ำงาน“วรรณกรรมไทย” โดยใช้แนวคิดเรื่องการผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดทางวัฒนธรรม แนวคิดการสร้างสัมพันธบท แนวคิดเกี่ยวกับงานวรรณกรรมไทย แนวคิดการศึกษาเชิงสัญญาณศาสตร์ แนวคิดความหมายในระดับจินตนาการ และแนวคิดแก่นจินตนาการ เป็นแนวทางในการ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลประเภทโฆษณาออนไลน์จำนวน 9 ชิ้น ร่วมกับการสนทนาแบบกลุ่มนักศึกษาจำนวน 3 กลุ่ม โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มละ 6 คน รวมทั้งสิ้น 18 คน ผลการวิจัยพบว่า การผลิตซ้ำผ่านกระบวนการสร้างสัมพันธบท ประกอบด้วย (1)การคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์แบบดั้งเดิม ได้แก่ เอกลักษณ์ด้านเครื่องแต่งกาย การจัดแต่งองค์ประกอบ และรูปร่างหน้าตาของผู้แสดง (2)การขยายความวรรณกรรมเดิม ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบฉาก และสถานที่ ถ่ายทำ (3)การตัดทอนวรรณกรรมเดิม ได้แก่ ฉาก และตัวละครหลัก (4)การดัดแปลงวรรณกรรมเดิม ได้แก่ บทบาทของตัวละคร ในส่วนของแก่นจินตนาการผลการวิเคราะห์พบว่า สามารถจำแนกได้ 4 ประเภทได้แก่ (1)แก่นจินตนาการเกี่ยวกับการสร้างสัมพันธบท (2)แก่นจินตนาการเกี่ยวกับภาพลักษณ์สินค้า (3)แก่นจินตนาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกของผู้แสดงกับสินค้า และ (4)แก่นจินตนาการที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ส่วนบุคคล
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this research are to understand the reproduction of Thai literature for online video advertisements and their target audiences’ fantasy themes expressed by the reproduction of Thai literature. The study was guided by several theories and concepts; the reproduction for cultural transmission, intertextuality, Thai literature, semiology, the third meaning, and the fantasy theme method. Nine online advertisements were textually analyzed and applied the focus-group interviews with 18 university students divided into 3 groups of 6 students. The research findings are as follows. The meanings of the intertextual reproduction are constructed by four means; (1) keeping the original texts in terms of costumes, setting, and casting, (2) the extension of props and locations, (3) the reduction of protagonist and scenes, (4) the modification of characters. For the analysis and categorization of interview data, there are four kinds of fantasy themes; (1) the construction of intertextuality, (2) product images, (3) the relation of the personality and products, and (4) the personal experience associations.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560
metadata.dc.description.degree-name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิเทศศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1034
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CA-CA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SAHAPHAT SATAPANIGANONE.pdf12.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.