Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1086
Title: | การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการเป็นฐาน |
Other Titles: | The development of Mathayomsuksa 5th students's integrated scientific process skills using Laboratory-Based |
Authors: | ปองดี ไชยจันดา |
metadata.dc.contributor.advisor: | บุณยรัศมิ์ สุขเขียว |
Keywords: | วิทยาศาสตร์ -- การทดลอง;เครื่องมือ -- การทดสอบ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการเป็นฐานที่พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาเคมี เรื่อง กรด-เบส และศึกษาพัฒนาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานของนักเรียนในแต่ละด้าน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานก่อนเรียนและหลังเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสาน อนุทินสะท้อนความคิดของนักเรียน และบันทึกหลังการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบ 2 กลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานของนักเรียนได้รับการพัฒนาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยทักษะการกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการของตัวแปรมีพัฒนาการมากที่สุดในกลุ่ม |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purpose of this research were to develop integrated scientific process skills of mathayomsuksa 5th students in chemistry on acid-base by laboratory-based learning and study in progression of student’s integrated scientific process skills during the implementation. The research was designed as the action research. The instruments of the research were integrated scientific process skills test using as pre-test and post-test, teaching plans, laboratory reports evaluation form student’s diary and teacher’s note. All collected data were analyzed by statistical method including mean and standard deviation. The difference between pre-test and post-test were test by t-test dependent samples. The result showed that after laboratory-based learning was applied, the students were able to do post-test better than pre-test on integrated science process skills with significant difference at .01 Student’s integrated scientific process skills was developed as the aims of this research. The developing of defining operation skill were found at good level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2558 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การสอนวิทยาศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1086 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-TS-M-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pongdee Chaijunda.pdf | 9.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.