Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1126
Title: การออกแบบภาพยนตร์การ์ตูนสตอปโมชันนิทานพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
Other Titles: Stop-Motion animated folktale film for encouraging ethical behavior
Authors: บันลือ กุณรักษ์
metadata.dc.contributor.advisor: พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา
Keywords: ภาพยนตร์ -- การผลิตและการกำกับรายการ -- วิจัย;แอนิเมชั่น -- การผลิต
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำภาพยนตร์การ์ตูนสตอปโมชันนิทานพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยทำการศึกษานิทานพื้นบ้านที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และนำมาปรับปรุงและดัดแปลงเนื้อเรื่องใหม่ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และเหมาะสมกับการออกแบบเป็นภาพยนตร์สตอปโมชัน โดยได้ตั้งชื่อนิทานใหม่ว่า “เณรเมี่ยง” จากนั้นทำการศึกษารูปแบบของภาพยนตร์สตอปโมชัน พบว่าภาพยนตร์สตอปโมชัน แบบโมเดลแอนิเมชันสามารถสร้างตัวละครได้สมจริงที่สุด จึงเหมาะสมที่จะใช้เป็นแนวทางในการออกแบบ หลังจากออกแบบและจัดทำภาพยนตร์การ์ตูนสตอปโมชันนิทานพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยได้นำไปทดสอบกับ นักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มโรงเรียนโดมประดิษฐ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 5 โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านแปดอุ้ม ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอนํ้ายืน จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 79 คน และใช้แบบสังเกตในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเมื่อทดสอบความแตกต่างด้วยการทดสอบแบบ paired t-test พบว่า ระดับคุณธรรมจริยธรรม หลังจากดูภาพยนตร์ สตอปโมชันนิทานพื้นบ้าน เรื่อง เณรเมี่ยง มากกว่า ระดับคุณธรรมจริยธรรม ก่อนดูภาพยนตร์สตอปโมชันนิทานพื้นบ้าน เรื่อง เณรเมี่ยง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ภาพยนตร์สตอปโมชันนิทานพื้นบ้าน เรื่อง เณรเมี่ยง สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในเด็กได้ และจากตัวละคร ฉาก และอื่นๆ ที่ได้รับการออกแบบไว้แล้วจึงสามารถจัดทำภาพยนตร์สตอปโมชันนิทานพื้นบ้านตอนอื่นๆ เพื่อส่งเสริมในเรื่องที่ต้องการได้ต่อไป
metadata.dc.description.other-abstract: The objective of this research was to create stop motion animated film to promote ethics. The researcher explored existing moral and ethical folklores and adapted them to create new story to meet the target group’s demand. The researcher made the production in form of stop motion animated film. This developed production was titled as “Nen Miang”. After studying the nature of stop motion animated film, the researcher found that model animation, a form of stop motion animation, can create the character in realistic manner. Thus, model animation was used as the reference to the design of this production. After completely designing and creating, this stop motion animated film was tested with primary educational students in Dome Pradit School, Ubonratchathani Primary Educational Service Area Office 5. The sample group was 79 Grade 2 students at Baan Pad Oum School, Dom Pradit Sub-district, Nam Yuen District, Ubonratchathani Province. Observation was used as the method of collecting data. Paired t-test was used to compare the means between sample groups. The results showed that after watching “Nen Miang” stop motion animated film, the sample had higher mean score on moral and ethics than before at statistical significance level of 0.05. Therefore, “Nen Miang” animated film could be used to promote moral and ethics among students. Besides, with complete design of characters, scenes, and other elements, other series of stop motion animated film could be created for other purposes.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศล.ม. (คอมพิวเตอร์อาร์ต)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: คอมพิวเตอร์อาร์ต
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1126
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:DIA- ComArt-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Banlue Kunnaruk.pdf12.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.