Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1175
Title: ความฉลาดทางอารมณ์กับรูปแบบภาวะผู้นำและภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลในผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Other Titles: Emotional intelligence with leadership style and leadership effectiveness in local government
Authors: พีระประพล พลเยี่ยม
metadata.dc.contributor.advisor: สิตานนท์ เจษฎาพิพัฒน์, บังอร พลเดชา
Keywords: ภาวะผู้นำ;องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- วิจัย
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้จากการรับรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชา (2) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้จากการประเมินตนเองของผู้บริหารองค์กร (3) ศึกษาระดับความมีประสิทธิผลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้จากการรับรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชา (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์กับความมีประสิทธิผลของภาวะผู้นำ ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 79 คน ที่เป็นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นชายมากกว่าเป็นหญิง การศึกษาจบปริญญาตรีมากที่สุด รองลงมาคือระดับปริญญาโท มีอายุอยู่ในช่วง 50-59 ปี ส่วนใหญ่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 4 ปี มีการใช้ภาวะผู้นำ เป็นอาจิณอย่างเห็นได้ชัดในการทำงาน เมื่อพิจารณาเป็นรายรูปแบบ พบว่า ผู้นำส่วนใหญ่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่จะเป็นผู้นำแบบแลกเปลี่ยน ผู้นำที่สำรวจมีประสิทธิผลด้านการบริหารอยู่ในระดับสูงมาก การประเมินระดับความฉลาดทางอารมณ์ของ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพบว่า อยู่ในระดับสูง ครบองค์ประกอบย่อยทั้ง 6 ด้านของความฉลาดทางอารมณ์ การทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความฉลาดทางอารมณ์ ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ระดับ 0.01)ในส่วนของภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนนั้น พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ระดับ 0.01) เช่นกัน นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาประเมินให้ ค่าเฉลี่ยประสิทธิผลของภาวะผู้นำผู้บริหารสอดคล้องในทางบวกกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีความฉลาดทางอารมณ์ และมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ในระดับ 0.01 กับด้านเพิ่มการปฏิบัติงานมากขึ้น, ความมีประสิทธิผลขององค์กร, ความพึงพอใจ)
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this research are four-fold: (1) to study the behavior of local leaders, reflected by their subordinates; (2) to research on leaders’ EQ, using self-assessment tools; (3) to study the leadership effectiveness, as evaluated by their subordinates; and (4) to study the EQ and leadership effectiveness. The research, using a mixed method, finds that 79 local leaders surveyed, are mostly men. Most of them have a bachelor degree; a few have master degrees-with average experience of four years. Age range is 50-59. Most of them are reported to use their high-level of leadership skills in day-to-day administration. Most of these skills can be categorized as transformational leadership, more than the transactional leadership. The EQ assessment reveals high level of all the six aspects. Subsequent hypothesis testing indicates high level of positive relationship between EQ and transformational leadership (at alpha 0.01); whereas the positive relationship between EQ and transactional leadership is only moderate (at alpha 0.01). Most of the subordinates surveyed rate high positive correlation between effectiveness and transformational leadership; such leadership is also correlating with performance, organizational effectiveness and satisfaction
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1175
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PEERAPRAPON PONYIAM.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.