Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1186
Title: พฤติกรรมการสื่อสารของคนไทยที่ไม่เหมาะสมในสังคมออนไลน์ (กรณีศึกษา YOUTUBE.COM) : กราฟิกเคลื่อนไหวที่ใช้ในการสื่อสารเชิงสัญวิทยา
Other Titles: Improper communication behavior of Thai people in online societies (YOUTUBE.COM) : Motion graphics for communication of semiology
Authors: ธัญญกนก สุจริตรัฐ
metadata.dc.contributor.advisor: วลัยภรณ์ นาคพันธุ์
Keywords: การสื่อสาร -- วิจัย -- ไทย;กราฟฟิก -- วิจัย
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการถ่ายทอดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในสังคมออนไลน์(YouTube)ของคนไทยโดยสรุปออกมาเป็นภาพรวม ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า สื่อ YouTube แม้จะเป็นสื่อที่กาลังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ แต่ก็สามารถเป็นสื่อกลางที่จะถ่ายทอดและเผยแพร่ผลงาน สามารถเข้าถึงกลุ่มคนในสังคมออนไลน์ได้มากที่สุด โดยใช้สื่อโมชั่นกราฟิกเชิงสัญวิทยา เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดในการรับชมสื่อมากจนเกินไป และทำให้ผู้ชมได้รับความเพลิดเพลิน ไม่เน้นหลักวิชาการมากนัก โดยมีการสอดแทรกสัญลักษณ์เข้าไปในการออกแบบเพื่อให้เข้าใจความหมายและชัดเจนมากขึ้น และมีการสอดแทรกข้อคิด เมื่อได้นำสื่อไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายและใช้แบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 40 คน ซึ่งเป็นเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 15 - 30 ปี จำนวน 22 คน และจำนวน 18 คน ตามลำดับ ซึ่งในกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาอยู่กับ YouTube และคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่ให้ความสนใจและเข้ารับชมคลิปวีดีโอใน YouTube ประเภทคลิปวีดีโอที่ไม่เหมาะสม เช่น คลิปวีดีโอสื่ออนาจาร และความรุนแรง ร้อยละ 47.5 คลิปวิดีโอทั่วไปเช่น คลิปวีดีโอเพลง มิวสิควีดีโอ ร้อยละ 37.5 และคลิปวีดีโอ ความรู้ ร้อยละ 15 และหลังจากที่ผู้วิจัยให้กลุ่มเป้าหมายรับชมคลิปวีดีโอสื่อโมชั่นกราฟิกที่ใช้ในการสื่อสารเชิงสัญวิทยาที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย คิดว่าคลิปวีดีโอดังกล่าวต้องการสื่อถึงพฤติกรรมด้านลบ เช่นการทำสิ่งไม่ดี ร้อยละ 82.5 คน เมื่อถามถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการดูคลิปวีดีโอ กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 60 บอกว่าไม่ได้ประโยชน์ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สื่อกราฟิกเคลื่อนไหวที่ใช้ในการสื่อสารเชิงสัญวิทยานั้นสามารถทำให้ผู้ชมเข้าใจในสิ่งที่ต้องการจะถ่ายทอดในส่วนของเนื้อเรื่อง พฤติกรรมของตัวละครแต่ในทางสัญญะที่ต้องการสื่อสารนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายรับชมแล้วไม่เข้าใจถึงสัญญะที่ผู้วิจัยต้องการสื่อสารและถ่ายทอดให้ผู้ชมได้รับรู้ การแฝงความหมายในเชิงสัญญะมีความซับซ้อนมากจนเกินไป จึงส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายไม่ได้สนใจในการคิดหาความหมายของสัญญะต่างๆและไม่ได้รับข้อคิดที่สอดแทรกในการดำเนินเรื่อง
metadata.dc.description.other-abstract: The objective of this paper is to make communicate of improper behaviour in online social media of Thai people ,In conclusion came out is overall. YouTube is a troublesome mode of communication, but it is also widely used among social media users. Therefore, we choose to advertise our campaign on YouTube By inserting symbols into the design in order. in a form of motion graphics, which is pleasant and enjoyable to watch, in which morality can be inserted. We use the Communication of Semiology in our motion graphics pass inserting symbols into the design in order to understand the meaning and clear. The Research found by targeted audience and the questionnaire , 40 of which are male and female, aged between 15-30 years, the number 22 and number 18 , respectively, in the audience , most of the time with YouTube and thought the most attention and watch video clips on YouTube type video is inappropriate , such as video clips , pornography . Violence and 47.5 percent clip , for example . Music video clip of 37.5 percent , 15 percent and Video Clips knowledge after researching the target audience viewing video media, Motion Graphics for Communication of Semiology in relation to the behavior of the target group. Think that media like video clips such negative behavior . For example, 82.5 percent of people do bad things , when asked about the benefits of watching video clips. Suggested that the target of 60 percent. Therefore, it is concluded that Media Motion Graphics for Communication of Semiology can make the audience understand what you want to convey the story. Behavior of the characters , but in the mediatic communication needs unfulfilled . Because the target audience does not understand the signifiers that investigators want to communicate and broadcast to get to know . The latent meaning of the signifiers are complex too. Therefore, the target audience is not interested in the meaning of signifiers and arguments are not inserted in the story
Description: วิทยานิพนธ์ (ศล.ม. (คอมพิวเตอร์อาร์ต)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: คอมพิวเตอร์อาร์ต
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1186
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:DIA- ComArt-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
THUNYAKANOK SUJARITRAT.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.