Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1220
Title: ต้นทุนและประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนานักกีฬาเชียร์ลีดดิ้งของมหาวิทยาลัยรังสิต
Other Titles: Costs and benefits of cheerleading players development of Rangsit University
Authors: วัฒนา ศรีถาวร
metadata.dc.contributor.advisor: นิ่มนวล วิเศษสรรพ
Keywords: นักกีฬา -- เชียร์ลีดดิ้ง;มหาวิทยาลัยรังสิต -- นักกีฬา
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนากีฬา เชียร์ลีดดิ้ง ของมหาวิทยาลัยรังสิต โดยใช้แบบสอบถามเป้นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก นักกีฬาเชียร์ลีดดิ้ง มหาวิทยาลัยรังสิต 26 คน นักศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิต 394 คน และผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักกีฬาเชียร์ลีดดิ้ง 4 คน นํามาวิเคราะห์ประโยชน์ที่ได้รับ ใช้ข้อมูล งบประมาณประจําปืมหาวิทยาลัยรังสิต ในการวิเคราะห์ต้นทุน วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนและ ประโยชน์ที่ได้รับประยุกต์จากเทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงานคะแนนดุลยภาพ (Balanced Scorecard) ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนการพัฒนานักกีฬาเชียร์ลีดดิ้งเฉลี่ยตลอดระยะ 5 ปีที่ศึกษา (ปี 2553-2557) ประกอบด้วย ต้นทุนคงที่ในส่วนของการพัฒนานักกีฬาเชียร์ลิดดิ้ง ปีละ 2,812,500.00 บาท ต้นทุนผันแปรในส่วนของการส่งเสริมนักกีฬาเข้าแข่งขัน ปีละ 1,981,180.00 บาท และต้นทุนการเรียนรู้และการเติบโตขององค์กร ปีละ 1,059,822.67 บาท ประโยชน์ทาง เศรษฐกิจท่ีได้รับ ในมุมมองทางด้านการเงินเฉลี่ยตลอดระยะเวลาปีที่ศึกษา (ปี 2553-2557) ประกอบด้วย เงินรางวัลจากการแข่งขัน ปีละ 35,200.00 บาท ค่าตอบแทนจากการแสดงโชว์ ปีละ 270,250.00 บาท และมูลค่าการประชาสัมพันธ์ (Public Relations Value) 13,858,901.25 บาท โดยรวมแล้วการพัฒนานักกีฬาเชียร์ลีดดิ้งของมหาวิทยาลัยทําให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อมหาวิทยาลัย และนักกีฬามากกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น
metadata.dc.description.other-abstract: The results reveal that the average development costs of cheerleading sport from 5 academic years (2010-2014) consisted of 2,812,500.00 baht of fixed development cost, 1,981,180.00 baht of variable cost that associated with joining the cheerleading competition, and 1,059,822.67 as a cost of learning and development. However, the economic benefits gained from cheerleading sport development consisted of 35,200.00 baht annually received from joining a cheerleading competition, 270,250.00 baht annually from public performing, and 13,858,901.25 baht from public relation values. From these information, the result from this research is the cheerleading sport development created the benefits for Rangsit University over the cost of development.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.) - - มหาวิทยาลัยรังสิต, 2558
metadata.dc.description.degree-name: บัญชีมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: บัญชี
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1220
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:ACC-Acc-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wattana Srithaworn.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.