Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1259
Title: | ปัญหาการกำหนดเหตุวันเริ่มนับและวันสิ้นสุดระยะเวลาการฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองของไทย |
Other Titles: | Determination of causes of the start and end date of prescription in administrative contracts under Thai law |
Authors: | เทพสิทธิ์ รักไตรรงค์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | สมปอง สุจริตกุล, สุรพล ศรีวิทยา |
Keywords: | สัญญาทางปกครอง -- วิจัย;คดีปกครอง -- วิจัย |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | ตามมาตรา 51 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ได้กำหนดให้มี “เหตุแห่งการฟ้องคดี” เป็นเหตุกำหนดวันเริ่มนับอายุความฟ้องคดีเพียงเหตุเดียวใช้ กับทุกลักษณะของสิทธิเรียกร้องตามข้อพิพาทของสัญญา ซึ่งหลังจากศาลปกครองได้เปิดทำการ แล้ว ได้เกิดปัญหาการบังคับใช้ “เหตุแห่งการฟ้องคดี” ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวอย่าง มาก งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาถึงแนวคิดการกำหนดเหตุวันเริ่มนับและวันสิ้นสุดอายุความหรือ ระยะเวลาการฟ้องคดีและกำหนดวันเริ่มนับอายุความตามกฎหมายต่างประเทศ เพื่อค้นหา หลักเกณฑ์ทางกฎหมายของเหตุกำหนดวันเริ่มนับและวันสิ้นสุดของอายุความการฟ้องคดี ผลการวิจัยพบว่า “เหตุแห่งการฟ้องคดี” อันเป็นเหตุกำหนดวันเริ่มนับอายุความฟ้องคดี ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 เป็นเหตุกำหนดวันเริ่มนับ ที่ไม่มีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่ถูกต้อง เนื่องจากมิใช่เหตุแรกที่ทำให้เกิดข้ออ้างอันเป็นหลักแห่ง ข้อหาและหรือมิใช่เหตุแรกที่จะทำให้ผู้ฟ้องคดีฟ้องคดีได้ในบางลักษณะของสิทธิเรียกร้องรวมทั้ง เป็นเหตุที่เกิดขึ้นได้สุดแต่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิฟ้องคดี จะทำให้เกิดเหตุนั้น ส่วนเหตุกำหนดวันเริ่ม นับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นมีเฉพาะเหตุที่พ้นระยะเวลาอันหนึ่งนับแต่ วันทวงถาม ตามมาตรา 193/13 ตอนท้ายของกฎหมายดังกล่าวนั้น เป็นเหตุกำหนดวันเริ่มนับกำหนด อายุความที่ไม่มีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายของเหตุกำหนดวันเริ่มนับที่ถูกต้อง ซึ่งตามลักษณะของการ บังคับสิทธิเรียกร้องที่ต้องให้เจ้าหนี้ทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนและยังมีเวลาที่ให้ลูกหนี้ชำระหนี้อีก ระยะหนึ่งก่อนที่จะมีวันเริ่มนับอายุความนั้น หากให้เป็นกรณีอายุความเริ่มนับได้แต่เวลาแรกที่ให้ ทวงถามตามบทบัญญัติมาตรา 193/13 ตอนต้น และมีกรณีที่มีการทวงถามแล้วแต่ภายในระยะเวลา อันหนึ่งที่ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้นั้นจะครบกำหนดอายุความเสียก่อนโดยเจ้าหนี้ไม่อาจฟ้องคดีได้ จึง เป็นกรณีที่มีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายของเหตุกำหนดวันสิ้นสุดอายุความฟ้องคดีเกิดมีขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเหตุวันเริ่มนับและวัน สิ้นสุดอายุความฟ้องคดี ทั้งในมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ.2542และมาตรา 193/13 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้มีเหตุกำหนด วันเริ่มนับและวันสิ้นสุดของอายุความที่มีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่ถูกต้องและใช้ได้กับทุกลักษณะ ของการใช้สิทธิเรียกร้องตามข้อพิพาทของสัญญา |
metadata.dc.description.other-abstract: | Section 51 of the Administrative Court Establishment and the Administrative Cases Procedure Act has considered “causes of action” as only one of start date only for every claim. The problem emerges into the implementation of the “cause of action”. This thesis demonstrates the concepts of imposing the start and end dates of the prescription in order to find their legal principles. The result of this research found that the cause of action, that is a cause starting the prescription under the Act, is based on a wrong legal concept because the cause is neither the first cause resulting an assertion of a claim, a cause conferring the plaintiff a right of action in some natures of the claim’s exercise, and nor an occurred cause depending on the act of a creditor or exercisable person. Yet, the cause imposing the start date of the prescription under the Civil Code, that is only the one after the period under the last part of section 193/93 given by the payment notice, is wrong as well. With the nature of enforcing a claim, the creditor is required to give the payment notice before, and time for the debtor to repay the debt before the start of prescription the parties’ right of action in some natures of the claim’s exercise. In case that payment notice given but within time being that the creditor has right to repay the debt and the prescription would end in the consequence of the lawsuit bar, As a result, the legal concept of the cause imposing the end date is created. This thesis recommends changing the imposition of cause of the start and ending dates both in the Administrative Court Establishment and the Administrative Cases Procedure Act, Section 51 and the Civil Code Section 193/93 with right legal principles to be applied in every contractual claim. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557 |
metadata.dc.description.degree-name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1259 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law-Law-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thepsit Ruktrirong.pdf | 11.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.