Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1399
Title: | การพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต |
Other Titles: | Ethical behaviors development among nursing students at School of Nursing, Rangsit University |
Authors: | นภัสกรณ์ วิทูรเมธา, วารินทร์ บินโฮเซ็น วิลาวรรณ เทียนทอง |
Keywords: | จริยธรรม -- นักศึกษาพยาบาล;นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์;จริยธรรม -- พฤติกรรม |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยนำเข้าด้าน โครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ของการพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลยั รังสิต และเปรียบเทียบพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลยัรังสิต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลบัณฑิต ชั้นปี ที่ 1- 4 จำนวน 245 คน ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 1 ปี การศึกษา 2563 และอาจารย์พยาบาล 10 คน ที่ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลด้านโครงสร้าง และกระบวนการ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษา และคำ ถามเชิงโครงสร้างในการสนทนากลุ่ม ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญและหาความเชื่อมั่นแบบสอบถามพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษา ด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงบรรยาย สถิติเชิงอ้างอิง Kruskal – Wallis H test และสถิติ Mann Whitney U test และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย ด้านหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์ของมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560 ด้านอาจารย ์ ส่วนใหญ่เป็นวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง เป็นผู้ที่มีความพร้อมทั้งด้านคุณวุฒิและวัยวุฒิที่เป็นตัว แบบทางจริยธรรมให้แก่นักศึกษาได้ และอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าเป็นไปตามเกณ์ของสภาพยาบาล และด้านนักศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 20.75 ปี มีมารดา เป็นบุคคลที่ยึดถือเป็นแบบอย่างด้านคุณธรรม จริยธรรม มากที่สุด เหตุผลที่เข้าเรียนพยาบาล ส่วนใหญ่เป็นความต้องการของนักศึกษา 2. ด้านกระบวนการ คณะพยาบาลศาสตร์มีกลไกในการพัฒนาจริยธรรมนักศึกษาทั้งในหลักสูตร และ กิจกรรมเสริมหลักสูตร ใช้กลวิธีการสอนหลากหลายในการพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษา เช่น การปฐมนิเทศ การมอบหมายงาน กรณีศึกษา การสะท้อนกลับ การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล และการเยี่ยมตรวจทางจริยธรรม เป็นต้น ส่วนการประเมินพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษามีทั้งผ่าน หรือไม่ผ่าน และให้เป็นคะแนน และกลไกการพัฒนานักศึกษาในกิจกรรมเสริมหลักสูตร ในรูปคณะกรรมการพัฒนานักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา และระบบพี่ดูแลน้อง และจัดกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมเป็นขั้นบันไดตามช้ั้น ตลอดหลักสูตร 3. ด้านผลลัพธ์ 3.1 คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมจริยธรรมโดยรวมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 มีค่าอยู่ระหว่าง 3.02 - 5.59 คะแนน(X̅ = 4.77 SD= .775) เป็นระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์ขั้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นที่ 5 ยึดหลักทำตามสัญญาสังคมทำเพื่อส่วนรวม 3.2 คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมจริยธรรมรายด้านที่มีคะแนนสูงที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์ขั้นที่ 6 ของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ยึดหลักทำตามอุดมคติสากล เป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการทางจริยธรรม ได้แก่ 1) ด้านเคารพสิทธิ คุณค่า ความแตกต่าง และศักดิ๋ศรีความเป็นมนุษย ์ (X̅ = 5.59 ) และ 2) ด้านเคารพในสิทธิผลงานทางวิชาการและลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้อื่น (X̅ = 5.40) รองลงมาเป็นพฤติกรรมจริยธรรมรายด้านซึ่งอยู่ในระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์ ขั้น 5 การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ยึดหลักทำตามสัญญาสังคมทำเพื่อส่วนรวม ได้แก่ 1) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต (X̅ = 4.93) 2) ด้านทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพการพยาบาล (X̅ = 4.91) 3) ด้านตระหนักในคุณค่าวิชาชีพและสิทธิของพยาบาล (X̅ = 4.83) 4) ด้านความรับผิดชอบ (X̅ = 4.80) และ5) ด้านระเบียบวินัย (X̅ = 4.70) แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า พฤติกรรมจริยธรรมรายด้านอยู่ในระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์ ขั้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นที่ 3 ยึดหลักทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ คือ ด้านจิตสาธารณะ คำนึงถึงส่วนรวมและสังคม (X̅ = 3.02) 3.3 คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมจริยธรรมโดยรวมเปรียบเทียบระหว่างนักศึกษา 4 ชั้นปี พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาชั้นปี ที่ 4 สูงที่สุด รองลงมาเป็นชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และ ชั้นปีที่ 3 ตามลำดับ (X̅ = 4.80; 4.78; 4.77; 4.74ตามลำดับ ) และทุกชั้นปีมีระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์ขั้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้น ที่ 5 ยึดตามหลักการทำตามคำมั่นสัญญา แต่ทดสอบความแตกต่าง พบว่า ไม่แตกต่างกัน (p = .947) 3.4 เปรียบเทียบพฤติกรรมจริยธรรมรายด้านระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 พบว่า 1) ด้านระเบียบวินัย 2) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 3) ด้านจิตสาธารณะ คำนึงถึงส่วนรวมและสังคม 4) ด้านเคารพสิทธิ คุณค่า ความแตกต่าง และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 5) ด้านตระหนักในคุณค่าวิชาชีพและสิทธิของพยาบาล และ 6) ด้านเคารพในสิทธิผลงานทางวิชาการและลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้อื่น ไม่แตกต่างกัน (p = .801, p = .377, p = .783, p = .556, p = .378, p = .161,ตามลำดับ ) แต่พบว่า ด้านความรับผิดชอบ และด้านทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพการพยาบาล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .011, p = .021 ตามลำดับ) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย เชิงโครงสร้างควรทบทวนการจัดแผนการศึกษา และการมอบหมายงาน เพื่อให้นักศึกษามีเวลาได้ทำกิจกรรมจิตสาธารณะ เชิงกระบวนการ ควรพัฒนาระบบการบันทึกพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษา ให้มีฐานข้อมูลการพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาเป็นรายบุคคล และควรวิจัยติดตามพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาในแต่ละชั้นปี เพื่อติดตามการคงอยู่และการพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objectives of this mixed method research were to study the structural input, process and output towards the ethical behaviors of nursing students and compare the ethical behaviors among the 1st to 4th year Nursing Students in School of Nursing, Rangsit university. The sample utilized simple random sampling technique composed of 245 Nursing Students from 1st to 4th year level and registered in the first semester of the academic year 2020. Ten (10) Nurse Instructors participated in focus group discussion to make use of qualitative research as well. The research instruments composed the record form of structural information and process that includes personal data and the ethical behaviors of Nursing Students together with the constructed questions for focus group. The reliability of the ethical behaviors questionnaire among students is 0.88 of Cronbach Alpha Co-efficiency. Descriptive statistics, inferential statistics which consisted of Kruskal – Wallis H test, Mann Whitney U test and content analysis were used to analyze the data. The research results were as follows: 1. Input factors comprised in the nursing curriculum is related to the criteria of Qualification Standards of Nursing at bachelor level in 2016. Majority of the Nurse Instructors were middle-aged and seasoned with knowledge and maturity that can be the moral role model for Nursing Students. The ratio of full-time Nurse Instructors per students (FTES) follows the criteria of the Thai Nursing Council. Female Nursing Students consists of the majority in the nursing students aspect with the average age of 20.75 years. The nursing students hold their mothers most to be the moral role model. The reason to study the nursing program is mostly from their need. 2. Process Aspect: School of Nursing has the mechanism to develop the ethical behaviors of nursing students both in nursing program and extra-curriculum activities. Orientation, assignment, case study, reflection, nursing conferences and ethics rounds were the variety of teaching methods used to develop the ethical behaviors of nursing students. The evaluation criteria used to assess ethical behaviors of nursing students included “satisfied” and “unsatisfied”. Extra-curriculum activities development included the committee of nursing students’ development, advisory system and caring system among seniors and juniors students. Student activities were set up like a ladder to develop the ethical behaviors of nursing students in every year for the whole program. 3. Output Aspect: 3.1. The average mean score of total ethical behaviors among nursing students were 3.02-5.59 ( X̅ = 4.77, SD= .775) which refers to the fifth post-conventional level that holds the principle of following the social contract and legal orientation. 3.2. The highest average mean score of ethical behaviors presented the highest points at the sixth level of ethical reasoning, the universal-ethical principle orientation are as follows: 1) The aspect of Respect rights, value, difference and human dignity (X̅ = 5.59, and 2) Respect on academic performance rights and intellectual copy rights aspect of others (X̅ =5.40). Ethical behaviors aspects showed at the fifth level of ethical reasoning that is following the social contract and legalistic orientation presented second mean score is as follows: 1) Being honest aspect (X̅ = 4.93), 2) Good nursing professional attitude aspect (X̅ = 4.91), 3) Awareness of professional value and nurses’ rights aspect (X̅ =4.83), 4) Responsibility aspect (X̅ =4.80) and, 5) Discipline aspect (X̅ =4.70). However, Public mind and social concern aspects represented at the third level of ethical reasoning. (X̅ =3.02) 3.3. Results on the average mean scores of total ethical behaviors compared among the nursing students demonstrated that the fourth year nursing students presented the highest score and the ranking was as follows: 1st, 2nd, and 3rd year Students (X̅ = 4.80; 4.78; 4.77; 4.74 respectively). All of the nursing students were at the fifth level of ethical reasoning which signifies that they are following the social contract and legalistic orientation. However, there were no difference in statistical test (p = .947) 3.4. The comparison results of ethical behaviors among the first to fourth year Nursing Students found that on the discipline, being honest, public mind and social concern, respect rights, value, different and human dignity aspects including awareness of professional value and Nurses’ rights aspect together with the respect towards academic performance rights and intellectual copy rights aspect were not different. (p = .801, p = .377, p = .783, p = .556, p = .378, p = .161, respectively). However, responsibility aspect and good nursing professional attitude were significantly different (p= .011, p = .021, respectively). Research recommendations: The structural aspects should be adjusted both in educational plan and assignment in order to enhance public mind activities. The process aspect should be adjusted on the record form of nursing students’ ethical behaviors. The data base of individual ethical behaviors development should be done. Future research project must monitor the ethical behaviors among nursing students in order to follow the persistence and development of the sustainable ethical behaviors. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1399 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Nur-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Naphasakon Vitoonmetha.pdf | 2.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.