Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1430
Title: รายงานผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลกับการใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัลของกิจการร้านอาหารและเครื่องดื่ม : กรณีศึกษากิจการเจ้าของคนเดียวในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
Other Titles: Digital marketing strategy and implementation of the tools of digital marketing in food and beverage services: case study of sole proprietorship in the Bangkok and Metropolitan region
Authors: ผการัตน์ จำปาน้อย, พงษ์ยุทธ กล้ายุทธ
Keywords: การตลาดดิจิทัล -- กุลยุทธ์;กลยุทธ์การตลาด -- กรณีศึกษา;ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
Issue Date: 2562
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: จากการสำรวจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2562 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าแนวโน้มของการใช้โทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตของครัวเรือนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มอายุนับตั้งแต่มีการสำรวจครั้งแรกตั้งแต่ปีพ.ศ.2544 เป็นต้นมา โดยในปีพ.ศ.2562 ในจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปมีการใช้อินเทอร์เน็ตร้อยละ 66.7 และครัวเรือนมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตร้อยละ 74.6 ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตประเทศไทยปี 2562 โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยนานขึ้นเป็น 10 ชั่วโมง 22 นาทีต่อวัน เป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านชีวิตไปสู่ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของการใช้จ่ายออนไลน์ของผู้บริโภค การเติบโตอย่างรวดเร็วของการใช้งานอินเทอร์เน็ตและแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภค จึงเป็นโอกาสของธุรกิจแทบทุกประเภทที่จะสร้างยอดขายด้วยการใช้กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล แต่การจะประสบความสำเร็จเจ้าของธุรกิจจะต้องมีการเรียนรู้และปรับตัว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ในกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลกับการใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัล ซึ่งเป็นการทำการตลาดรูปแบบหนึ่งโดยโปรโมทสินค้าหรือบริการผ่านทางสื่อดิจิทัลและสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคเพื่อเพิ่มยอดขายโดยใช้เครื่องมือต่างๆทางสื่อดิจิทัล ซึ่งกาลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน การวิจัยนี้ประชากรกลุ่มตัวอย่างคือเจ้าของกิจการร้านอาหารและเครื่องดื่มประเภทกิจการเจ้าของคนเดียวที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 310 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการสัมภาษณ์ในเชิงลึกเพิ่มเติมจำนวน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการประมวลทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ การแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test, One-Way ANOVA และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าเจ้าของกิจการร้านขายอาหารและร้านขายเครื่องดื่มประเภทกิจการเจ้าของคนเดียวมีความรู้ในกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลอยู่ในระดับสูงและปานกลาง ในขณะที่ระดับการใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัลอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง ความรู้ในกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและการใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัลมีความสัมพันธ์กันโดยสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง และเมื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของการใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัลพบว่า มากกว่าร้อยละห้าสิบของประชากรกลุ่มตัวอย่างมีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณและคิดว่าต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากสาหรับการใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัล มีความต้องการใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัลแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร ไม่มีเวลาที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัล ไม่มีผู้ให้คำแนะนาหรือให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ แต่ยังคงเห็นว่าการใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัลมีความจำเป็นสาหรับกิจการที่ทำอยู่ และจากการสัมภาษณ์ในเชิงลึกพบว่าการหักเปอร์เซ็นต์จากรายรับที่สูงมากของการใช้แอปพลิเคชั่นสั่งอาหารเดลิเวอรี่เป็นอุปสรรคของการประกอบกิจการมากเป็นลำดับแรก
metadata.dc.description.other-abstract: According to the survey on the use of ICT by the National Statistical Office in 2019, the survey results showed that households had continuously used mobile phones and the Internet in all age groups since 2001. 66.7 percent of the population aging six years old and above used the Internet, and 74.6% of total households used the Internet. The survey results of Thailand Internet User Behavior conducted by the Electronic Transactions Development Agency (ETDA), Ministry of Digital Economy and Society in 2019, found that the Thai people used the Internet, averaging 10 hours and 22 minutes per day, due to the change of their lifestyle towards the digitalization. Several studies also pointed out that there are opportunities to implement digital strategies for almost all businesses to gain revenues due to the high growth of buyers’ online shopping and Internet and mobile phone applications. Nevertheless, business owners must learn to adapt digitalization to achieve their business successfully. Therefore, this research aims to study the relationship between digital marketing strategy knowledge and the implementation of digital marketing tools. Digital marketing is known as one of the well-known marketing strategies, which can be used to increase a firm’s sales by promoting products and services via digital media and customers’ responsiveness. ง This research used a sample of 310 sole proprietors (aging 18 years and above) in the Food and Beverage Services, located in the Bangkok and Metropolitan Regions. Ten in-depth interviews were conducted in this study. Descriptive statistics, including frequency, percentage, means, and standard deviation, were employed for the analysis. The hypothesis test was conducted by using a T-test, one-way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient. The research found that the sole proprietor's digital marketing strategy knowledge is regarded as high to moderate level. In contrast, the implementation level of digital marketing tools is low to a moderate level. The knowledge of digital marketing strategy is found to be positively correlated with the implementation of digital marketing tools at the moderate level. This study found that more than 50 percent of the samples answered the following questions: i) having a budget constraint, ii) concerning large investments, and iii) desiring to use the digital tools but not knowing how to start them, iii) not having enough time to study digital marketing tools, and not receiving any help from anyone, and iv) still desiring of using digital marketing tools. In-depth interviews revealed that the most critical barrier to food delivery application platforms is a high commission fee charged by food delivery application providers, which enormously deducts from their food and beverage sales
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1430
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:EC-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pakarat Jumpanoi.pdf32.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.