Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1432
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย ความยาวลูกตา กับความสัมพันธ์ กับเพศ อายุ และสายตาผิดปกติ ในผู้ป่วยคลินิกตา มหาวิทยาลัยรังสิต
Other Titles: Ocular axial length as a function of age, gender, and its association with refractive error in patients in Rangsit University eye clinic
Authors: อุปการ ปัญญา, เมธี จรัสอรุณฉาย
วัฒนีย์ เย็นจิตร
Keywords: สายตาผิดปกติ -- การรักษา;สายตาผิดปกติ -- การวินิจฉัย;ตา -- กายวิภาคศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: รายงานวิจัยเรื่องความยาวของลูกตากับความสัมพันธ์กับเพศ อายุ และสายตาผิดปกติในผู้ป่วยคลินิกตา มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นการวิจัยศึกษาแบบพรรณนาภาคตัดขวางย้อนหลัง มุ่งศึกษาให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างความยาวลูกตากับสายตาผิดปกติ รวมถึงเพศและอายุ โดยใช้การศึกษาค้นคว้าย้อนหลังจากประวัติผู้ป่วยตั้งแต่ปี พ.ศ.2558-2562 วิธีการศึกษาโดยเก็บรวมรวมข้อมูลจากประวัติผู้ป่วยคลินิกตา มหาวิทยาลัยรังสิต อายุ 40-80 ปี ระหว่างปี 2558-2562 โดยผู้ป่วยจะได้รับการวัดความยาวของลูกตา (Axial length) ด้วยเครื่อง A scan และ IOL Master หาค่าเฉลี่ยและ 95% confidence intervals รวมถึงใช้สถิติ Linear regression และ unpaired t test เพื่อหาความสัมพันธ์ของความยาวลูกตากับเพศ อายุ ตาขวา ตาซ้าย และความผิดปกติของสายตา ซึ่งวัดโดย auto kerato-refractometer (KR- 800) และ manifest refraction ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยจำนวน 2, 894 คน อายุ 40-80 ปี (เฉลี่ย 60.19±10.634 ) ได้รับการวัดความยาวของลูกตา 592 คน มีค่าความยาวลูกตาเฉลี่ย 24.13 ±0.42 มิลลิเมตร (95% CI:23.71-24.55) เมื่อใช้สถิติ Unpaired t test พบว่าความยาวของลูกตาไม่มีความสัมพันธ์กับเพศ (p=0.2246) อายุ (p=0.7710) และตาทั้งสองข้างไม่มีความแตกต่างของความยาวลูกตา (p = 0.6390) แต่ความยาวลูกตามีความสัมพันธ์กับสายตาผิดปกติในตาขวา (p=0.0399) และในตาซ้าย (p=0.0367) ความยาวของลูกตามีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับ spherical equivalent คือเมื่อ Spherical equivalent มากหรือมีค่าเป็นบวก (สายตายาว) จะมีความยาวของลูกตาสั้น เมื่อ Spherical equivalent น้อยหรือมีค่าเป็นลบ (สายตาสั้น) จะมีความยาวของลูกตามาก และเป็นความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง (Pearson correlation R= - 0.664) สรุปจากการศึกษาแบบตัดขวาง เรื่องความยาวของลูกตา พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับเพศ อายุ และตาสองข้างมีความยาวไม่แตกต่างกัน แต่พบความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับสายตาผิดปกติ คือสายตาสั้นจะมีความยาวลูกตามากกว่าสายตายาวซึ่งมีความยาวลูกตาสั้นกว่าและเป็นความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง
metadata.dc.description.other-abstract: The purpose of this study is to determine the distribution of ocular biometric components as axial length, their relationship with personal characteristics, age, sex, eye side, and refractive error. By cross-sectional retrospective study used clinic-based data from Eye clinic of RSU Healthcare from 2015 to 2019 Among 40- to 80-year, subjects were selected using ocular biometrics as axial length measurement by A scan and IOL Master. Data were summarized as mean and 95% confidence intervals. Linear regression and unpaired t test were used to investigate the relationships between the study variables. Data from 2,894 patients, 40-80 years old were analyzed. (Mean age were 60.19±10.634 years) Mean axial length was 24.13 ±0.42 (95% confidence interval: 23.71-24.55) millimetres. According to unpaired t test, axial length was not related with sex (p=0.2246), age (p=0.7710) and eye side (p = 0.6390). After adjusting for personal characteristic, refractive error as spherical equivalent had an inversely relationship with axial length, as more or positive spherical equivalent (hyperopia) had shorter axial length and less or negative spherical equivalent (myopia) had longer axial length. Linear regression analysis showed axial length had the strong negative association with spherical equivalent (Pearson correlation R=- 0.664). In conclusion, this cross-sectional study of ocular biometric components, axial length was strong determinant for spherical equivalent and refractive error
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1432
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Opt-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Upakarn Panyamee.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.