Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1502
Title: การออกแบบมิวสิกวิดีโอรูปแบบแอนิเมชันด้วยหลักสัญศาสตร์เรื่องการยอมรับตนเอง
Other Titles: “Self-acceptance”; a semiotics approach to animated music video design
Authors: อมลณัฐ โสภณ
metadata.dc.contributor.advisor: พิศประไพ สาระศาลิน
Keywords: แอนิเมชั่น -- การผลิต;มิวสิกวิดีโอ -- การออกแบบ -- วิจัย;สัญศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: โดยธรรมชาติมนุษย์ต้องการการยอมรับจากสังคมที่ตนเองอยู่ จึงมีความพยายามสร้างตัวตนตามค่านิยมทางสังคม แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะทำตามสิ่งที่ผู้อื่นคาดหวังทั้งหมด หากบุคคลยอมรับไม่ได้เมื่อตนจริง (Real Self) ในปัจจุบันไม่ตรงกับตนในอุดมคติ (Ideal-Self) ที่สร้างไว้ ก็จะเกิดปัญหาความเครียดสะสม แม้ปัญหานี้จะเกิดขึ้นได้กับทุกคนแต่มักถูกมองข้ามเนื่องจากยังไม่ใช่โรค งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อผลิตสื่อที่ช่วยสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการยอมรับในตนเอง โดยเลือกใช้หลักสัญศาสตร์มาช่วยในการสื่อสารเรื่องที่เป็นนามธรรมผ่านสื่อมิวสิกวิดีโอเพลง Stand Out Fit In วง ONE OK ROCK ในรูปแบบแอนิเมชัน เพื่อให้เป็นสื่อบันเทิงเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งผู้รับชมในกลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 12-40 ปี จำนวน 45 คน มีความพึงพอใจในคุณภาพของมิวสิกวิดีโอ เกินกว่าร้อยละ 60 สามารถเข้าใจสารที่สื่อผ่านการใช้สัญญะได้ และสามารถตระหนักได้ถึงความสำคัญของการยอมรับในตนเอง จึงคาดหวังว่าสื่อ มิวสิกวิดีโอนี้จะเหมาะแก่การนำไปเผยแพร่ในวงกว้างจากความพยายามในการลดข้อจำกัดด้านภาษา และประสบการณ์จำเพาะที่ต้องใช้เพื่อการตีความด้วยการใช้สัญญะที่ออกแบบขึ้นเอง และสามารถเปลี่ยนเป็นแอนิเมชันที่มีบทพูดตรงไปตรงมา หากต้องการให้เด็กซึ่งพัฒนาการคิด เชิงนามธรรมน้อยกว่าเข้าใจง่ายขึ้น
metadata.dc.description.other-abstract: Human beings, by nature, seek acceptance from their society. As a result, there is a push to create the ideal-self in accordance with social values, despite the fact that meeting everyone's expectations is impossible. Unless a person is able to accept his current real self, which is incongruent with his ideal-self, stress will build up. Although anyone can be affected by this issue, it is frequently overlooked because it is not yet a disease. The main objective of this qualitative research is to create media that help raise awareness of the significance of self acceptance by applying semiotic principles to communicate an abstract theme through the animated music video of ONE OK ROCK's Stand Out Fit In, making it an easy-to-access entertainment medium. A sample of 45 audiences aged 12 to 40 were satisfied with the quality of the music video, and more than 60% understood the message conveyed through the use of signs and could grasp the significance of self-acceptance after watching the music video. We anticipate that due to efforts to minimize the specific experience necessary for interpretation and language barriers through the use of customized signs, this media will be suitable for broad dissemination. It can also be turned into an animated film with direct dialogue to make it easier for kids with limited abstract thinking skills to understand.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม. (คอมพิวเตอร์อาร์ต)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: คอมพิวเตอร์อาร์ต
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1502
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:DIA- ComArt-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
AMONNUT SOPON.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.