Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1531
Title: ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการสั่งอาหารซ้ำบนแอปพลิเคชัน ไลน์แมนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: Causal factors influencing of repurchase intention ordering service on line man application of consumers in Bangkok and its vicinity
Authors: พัชรนันท์ คงกุทอง
metadata.dc.contributor.advisor: สุมามาลย์ ปานคำ
Keywords: ภาพลักษณ์ตราสินค้า;คุณภาพการบริการ;โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่;ความภักดีต่อชื่อตราผลิตภัณฑ์
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความ สัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจใช้บริการสั่งอาหารซ้ำบนแอปพลิเคชันไลน์แมนของผู้บริโภคใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้ บริการสั่งอาหารซ้ำบนแอปพลิเคชันไลน์แมนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่เคยใช้บริการสั่งอาหาร บนแอปพลิเคชันไลน์แมนอย่างน้อย 2 ครั้ง และพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 260 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพการให้บริการ 2) ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า 3) ด้านการสื่อสารแบบบอกปากต่อปาก และ 4) ด้านการตัดสินใจใช้บริการซ้ำ และโมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยมีค่าสถิติไค-สแควร์ (χ2) เท่ากับ 202.44, ค่า CMIN/df เท่ากับ 1.40, ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 145, ค่า GFI เท่ากับ 0.93, ค่า AGFI เท่ากับ 0.90, ค่า CFI เท่ากับ 0.97, ค่า SRMR เท่ากับ 0.05, ค่า RMSEA เท่ากับ 0.04, ค่า RMR 0.07 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ เท่ากับ 0.85 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจใช้บริการสั่งอาหารซ้ำบนแอปพลิเคชันไลน์แมน ได้ร้อยละ 85 พบว่า ด้านการสื่อสารแบบบอกปากต่อปาก มีอิทธิพลทางตรงมากที่สุดต่อความตั้งใจใช้บริการสั่งอาหารซ้ำ
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this research were to develop and verify the consistency of a causal relationship model of repurchase intention ordering service on lineman application of consumers in Bangkok and Its Vicinity and to study the causal factors influencing repurchase intention ordering service on lineman application of consumers in Bangkok and Its Vicinity. The research instrument was the online questionnaire. The sample was selected from 260 people who have used the service to order food on lineman at least 2 times and lived in Bangkok and Its Vicinity. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, and structural equation modeling. The results of the research were the development of the causal relationship model consisting of 4 components as follows: 1) service quality 2) brand image 3) word of mouth and 4) repurchase intention and the developed model has consisted with the empirical data to a great extent. The statistic showed the Chi-square statistics goodness of fit test (χ2) = 202.44, degrees of freedom (df) = 145, CMIN/df = 1.40, GFI = 0.93, AGFI = 0.90, CFI = 0.97, SRMR = 0.05, RMSEA = 0.04, RMR = 0.07 and the final is the predictive coefficient of 0.85. Therefore, the variables in the model can explain the variance of repurchase intention ordering service on lineman applications by 85 percent. The causal factors showed that word of mouth the most direct effect influence on repurchase intention ordering service on lineman applications in Bangkok and Its Vicinity
Description: วิทยานิพนธ์ (สท.ม. (เทคโนโลยีสื่อสังคม)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564
metadata.dc.description.degree-name: สารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: เทคโนโลยีสื่อสังคม
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1531
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:ICT-SMT-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PATCHARANAN KONGKUTHONG.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.