Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1575
Title: | นวัตกรรมสังคมเพื่อการดูแลบุคคลออทิสติกในประเทศไทย |
Other Titles: | Social innovation of autism support in Thailand |
Authors: | เพ็ญทิพา แจ่มจันทร์เกษม |
metadata.dc.contributor.advisor: | ฉัตรวรัญช์ องคสิงห |
Keywords: | นวัตกรรมสังคม;ออทิสติก -- การดูแล;ออทิสติก -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการ และองค์ประกอบการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมเพื่อการดูแลบุคคลออทิสติกในประเทศไทย โดยศึกษาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสนับสนุนการพัฒนาทักษะอาชีพของบุคคลออทิสติกแบบองค์รวม ดุษฎีนิพนธ์เสนอแนวคิดและการวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ปัจจุบันของบุคคลออทิสติกในระเทศไทยผ่านเรื่องเล่าจากชีวิตจริงของบุคคลออทิสติกที่มีความหลากหลายในแง่มุมการใช้ชีวิต ความท้าทายที่ต้องเผชิญในชีวิตประจาวัน พื้นฐานครอบครัว บริบทสังคมในขณะนั้น ผ่านกระบวนการสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ซึ่งจากการศึกษาบริบทองค์ความรู้ออทิสติก รวมถึงสถานการณ์และเส้นทางชีวิตบุคคลออทิสติก พบว่า สังคมไทยยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องที่มีต่อบุคคลออทิสติก ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนนี้ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องถึงปัญหาในด้านต่างๆ จากจุดเริ่มต้นที่ครอบครัว การขาดความเข้าใจหรือไม่ยอมรับส่งผลให้บุคคลออทิสติกเข้าสู่ระบบคัดกรองล่าช้า บุคคลออทิสติกไม่ได้ลงทะเบียนเพื่อรับการสนับสนุนจากรัฐตามสิทธิ์คนพิการและต่อเนื่องถึงระดับสังคม การถูกกีดกันทางการศึกษารวมถึงด้านการประกอบอาชีพผลักให้บุคคคลออทิสติกเป็นกลุ่มคนชายขอบ ขาดโอกาสในการใช้ชีวิตอย่างเท่าเทียมตามศักยภาพร่วมกับผู้อื่นในสังคม นวัตกรรมสังคมเพื่อการดูแลบุคคลออทิสติกในประเทศไทยจึงถือกาเนิดขึ้นจากผู้ประสพปัญหา คือ บุคคลออทิสติกและครอบครัวโดยมีมูลนิธิออทิสติกไทยและองค์กรภาคีพันธมิตรเป็นกาลังขับเคลื่อนหลักในการสร้างนวัตกรรมระบบดูแลบุคคลออทิสติกอย่างยั่งยืน งานวิจัยนี้เปิดกว้างสาหรับบุคคลทั่วไปเพื่อทาความเข้าใจกับบริบทพื้นฐานและความเป็นจริงของบุคคลออทิสติกในสังคมไทย เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนร่วมกันขบคิด หาหนทางพัฒนาที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในแง่ความตระหนักรู้ที่ถูกต้อง พัฒนาระบบดูแลบุคคลออทิสติกแบบองค์รวม รวมถึงการส่งเสริมโอกาสทางอาชีพซึ่งยังมีจากัดสาหรับบุคคลออทิสติก และเพื่อพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมและแนวทางการดูแลบุคคลออทิสติกในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องต่อไป |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objective of the study on social innovation of autism support system in Thailand was to study the process and the construction of social innovation for autistic people in Thailand. This will concentrate holistically on the support system, improving quality of life and career development. This research will demonstrate the facts and the challenges of living of autistic people in Thailand based on true stories from various family backgrounds, environments, and societies. The misleading comprehension of Thai people towards autistic people leads to a lot of problems, and Thai society also acts dispassionately to deprive them from the community. According to the study of the cognitive context of autism together with situations and life paths of autistic people, the results showed that the understanding from family is a key foundation of autism’s success story. Lack of understanding does not only lead to a delay in a proper autism investigation but also prevent autistic people from official register in the disability system which will then block them to receive proper supports from the government. This also obstructs them in terms of both educational and career opportunities. In Thailand, social innovation of autism support system has been initially created by Thai autistic communities which have been developed into Parents Association and Autistic Thai Foundation further. Autistic Thai Foundation plays an important role leading innovations in this area with partnership organizations. This study on social innovation for autism in terms of the support system, relevant areas and career challenges in Thailand allows the public to have better understanding in the current situation of Thai autistic people in order to raise an autism awareness, create a sustainable life path, improve career development plans and other long-term benefits for those people who are also a part of mankind further |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1575 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PENTIPA JAEMJANKSEM.pdf | 3.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.