Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1746
Title: การวิเคราะห์ภาวะผู้นำในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย : กรณีศึกษากาีรบริหารงานสาธารณสุขในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
Other Titles: Analysis of leadership in Thai local government : The study of public health service in sub district administrative organizations
Authors: คมกริช ฤทธิ์บุรี
metadata.dc.contributor.advisor: ปฐม มณีโรจน์, นพปฎล สุนทรนนท์
Keywords: ภาวะผู้นำ -- วิจัย;องค์การบริหารส่วนตำบล -- วิจัย;องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น -- ผู้นำ -- วิจัย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัย การวิเคราะห์ภาวะผู้นำในองค์การปกครองท้องถิ่นไทย การศึกษาการบริหารงาน สาธารณสุขในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา จากการสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตการณ์แบบไม่มี ส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ภาวะผู้นำ และเสนอรูปแบบสภาพการณ์ภาวะผู้นำใน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย เฉพาะการบริหารงานสาธารณสุขในเขตองค์การบริหารส่วน ตำบล โดยเลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจง เป็นหน่วยวิเคราะห์ในการศึกษา ได้แก่ อบต.ลำพญากลาง จังหวัดสระบุรี, อบต.ปากน้ำปราณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, อบต.โพนทอง จังหวัดชัยภูมิ โดย ศึกษาการบริหารงานสาธารณสุข และคุณลักษณะภาวะผู้นำขององค์การบริหารส่วนตำบล ผลการศึกษา พบว่า สภาพการณ์ภาวะผู้นำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารงาน สาธารณสุข มีส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมและกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล เป็น องค์ประกอบสำคัญ ซึ่งผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล สามารถบริหารงานด้านสาธารณสุขให้บรรลุ วัตถุประสงค์โดยใช้การบริหาร การจัดองค์การ มีโครงสร้างและการจัดอัตรากำลัง การวางแผนงาน การอำนวยการ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล และการกำหนดนโยบาย พบว่ารูปแบบ สภาพการณ์ ภาวะผู้นำที่สอดคล้องกับบริบทขององค์การบริหารส่วนตำบลในกรณีศึกษานี้ มีองค์ประกอบคุณลักษณะภาวะผู้นำในการบริหารงานสาธารณสุข ด้านแรงจูงใจ ทักษะทางปัญญา ทักษะด้านมโนทัศน์ แบบแผนที่ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม การมีส่วน ร่วมช่วยเหลือสนับสนุนและการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง รูปแบบสภาพการณ์ภาวะผู้นำที่เสนอ คือ สภาพการณ์ภาวะผู้นำที่มีอุดมการณ์ ได้แก่ (1) การ เห็นคุณค่าในตนเองของผู้นำ (2) ความเชื่อมั่นในตัวของผู้ตาม (3) การยอมรับการบริหารงาน สาธารณสุขในองค์การ และ (4) การเปิดโอกาสการบริหารงานสาธารณสุขในองค์การแบบมีส่วน ร่วม ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ โดยสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน การจัดระบบ สนับสนุนการบริหารงานสาธารณสุขของผู้นำองค์การที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มีการกำหนดนโยบายและทิศทางการบริหารงานสาธารณสุขอย่างเป็น รูปธรรม ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรสร้างรูปแบบ การสร้างจิตสำนึกในการเสียสละ เพื่อประโยชน์ประชาชน การสร้างวิสัยทัศน์องค์การ การสร้างต้นแบบผู้นำการบริหารงาน สาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาความรู้ ความสามารถ และการพัฒนาแนวคิดริเริ่ม สร้างสรรค์นวัตกรรมบริหารงานสาธารณสุขชุมชน ซึ่งองค์การและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานสาธารณสุขในองค์การปกครองส่วน ท้อง ถิ่น สามารถนำรูปแบบสภาพการณ์ภาวะผู้นำนี้ ไปสู่การสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะ ผู้นำ ที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการบริหารงานสาธารณสุขในองค์การบริหาร ส่วนตำบล ให้ประชาชนมีความพึงพอใจและได้รับการบริการด้านสาธารณสุขที่ดี
metadata.dc.description.other-abstract: This dissertation is a qualitative research using content and descriptive analysis by unit of analysis and key informant’s in-depth interviews and focus group discussion. This study uses documentary analysis and non-participatory observation. This study is case study approach by selected 3 sub district administrative organizations. They are (1) Lamprayaklang sub district administrative organization in Saraburi province (2) Paknampran sub district administrative organization in Prajuabkherekhan province, and (3) Phonthong sub district administrative organization in Chaiyaphum province. The objectives are (1) to study the current state of leadership in Thai local government, and (2) to generate appropriate leadership models in Thai local government, especially public health service in sub district administrative organizations. In order to study leadership traits and public health administration of the sub district administrative organizations. The results showed that current state of leadership of sub district administrative organizations include health and the environment department and District Health Insurance Fund which is key elements of this state. The leader of sub district administrative organizations can administrate the successful public health affairs by organizing organization’s structure and manpower, planning, directing and making policy of District Health Insurance Fund. The study results in 7 major findings of the component of the public health leadership’s characters, which is 1) motivation factors 2) intellectual skill 3) conceptual skill 4) tradition and culture 5) leader-follower relationship 6) supporting and participating system and 7) transformative leaders. Thus the appropriate state of leadership models is the ideal leadership state. As (1) selfvalue perception (2) follower’s trust (3) acceptance of public health administration and (4) participation of public health administration. Academic recommendation is the participation of all segments and supporting system of leader’s public health administration. Policy recommendation is the clearly policy making of public health administration. Research recommendation should be generate model of the building of integrity, vision, role model of leader of public health service for develop the knowledge, ability, creative idea and innovative of public health administration.
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1746
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:PAI-PA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KHOMKRIT RITBURI.pdf6.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.