Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1788
Title: การออกแบบแอนิเมชัน เพื่อส่งเสริมและสืบทอดประเพณีท้องถิ่น ตานก๋วยสลาก
Other Titles: Animation design for promoting and inheriting the local tradition of Taan Kuay Salak
Authors: พงศธร ศรีธรจนนท์
metadata.dc.contributor.advisor: พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา
Keywords: แอนิเมชั่น -- การผลิต;สื่อพื้นบ้าน -- ตานก๋วยสลาก -- วิจัย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบแอนิเมชันส่งเสริมและสืบทอดประเพณีท้องถิ่นตานก๋วยสลากของภาคเหนือ โดยคาดว่าสื่อประเภทแอนิเมชันจะเป็นแรงจูงใจทำให้บุคคลทั่วไปหันกลับมาส่งเสริมและสืบทอดประเพณีตานก๋วยสลากนี้ต่อไป ซึ่งงานแอนิเมชันนั้นมีองค์ประกอบของภาพและเสียงที่ตอบสนองความต้องการของจินตนาการที่เหนือความเป็นจริง แอนิเมชันสามารถทำให้เรารับรู้และเข้าใจเรื่องที่ต้องการจะสื่อได้โดยง่ายและรวดเร็ว และเป็นสื่อที่ใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวที่สร้างความน่าสนใจ จูงใจให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกคล้อยตามเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นการสร้างสรรค์สื่อภาพยนตร์แอนิเมชันเพื่อส่งเสริมและสืบทอดประเพณีท้องถิ่นตานก๋วยสลากจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ชมได้ โดยผลของการทดลองยังให้ความรู้ควบคู่ไปกับความบันเทิงของประเพณีดังกล่าว โดยเรื่องราวและตัวละครที่นำเสนอถึงขั้นตอนต่างๆของประเพณีตานก๋วยสลาก คาดว่าการออกแบบแอนิเมชันสามมิติเพื่อส่งเสริมและสืบทอดประเพณีท้องถิ่นตานก๋วยสลากเรื่องนี้จะทำให้ผู้คนในท้องถิ่นหันกลับมาใส่ใจช่วยส่งเสริมและสืบทอดประเพณีต่อไป
metadata.dc.description.other-abstract: This study aims for analysing how animation can help to support the Northen tradition of Tan Guay Salak.Supposing that the diffusion of animation would stimulate people’s interest in Tan Guay Salak and to maintain it. As the animation contains images and sounds responding to the imagination which would never exist in the real world, it facilitates the acceptance and comprehension of the material. It can be used as a media to introduce something, attracting and guiding the interest of the audience. Therefore making an animation film to support the continuing of the local tradition, such as Tan Guay Salak could change the audience’s mind and behaviour. The result of this research is that besides the entertainment, people obtain knowledge of the Tan Guay Salak .Creating a story with characters introducing the different steps of Tan Guay Salak tradition. We believe that with the animation 3D to further Tan Guay Salak, people would change their mind and become interested in cultivating our traditions
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม. (คอมพิวเตอร์อาร์ต)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: คอมพิวเตอร์อาร์ต
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1788
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:DIA- ComArt-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PHONGSATHORN SRITRANOND.pdf7.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.