Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1817
Title: | การประเมินหลักสูตรอิสลามศึกษา โรงเรียนทินกรพิทยานุสรณ์ |
Other Titles: | The Evaluation of Islamic studies curriculum of Thinnakorn Phittayanusorn School |
Authors: | อารีย์ อาดำ |
metadata.dc.contributor.advisor: | มานิต บุญประเสริฐ |
Keywords: | โรงเรียนทินกรพิทยานุสรณ์ -- การประมวลผลข้อมูล -- วิจัย;หลักสูตรอิสลามศึกษา -- การศึษาและการสอน |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรอิสลามศึกษา โรงเรียนในกรพิทยานุสรณ์ ตามแนวคิดในการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) โดยใช้รูปแบบการประเมิน แบบซิปป์ (CIPP Evaluation Model) ในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้าน ผลผลิต ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ จํานวน 99 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจํานวน 2 คน ครูผู้สอนจํานวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จํานวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 1.818 การวิเคราะห์ข้อมูล คํานวนหาความถี่ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย เฉลี่ย (Mean : x̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation S.D.) ผลการวิจัยพบว่า ด้านบริบท ได้แก่ จุดมุ่งหมายของหลักสูตรอิสลามศึกษา ผู้บริหารทั้งหมดและครูผู้สอน ร้อยละ 85.71 มีความเห็นว่ามีความชัดเจน วิสัย น์มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และ จุดมุ่งหมายของหลักสูตรอิสลามศึกษา เป้าหมายมีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร อิสลามศึกษา ความครอบคลุมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน พันธกิจ ผู้บริหารและ ครูผู้สอนทั้งหมดมีความเห็นว่า มีการแสดงถึงภาระงานที่โรงเรียนต้องปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ อย่างชัดเจน สามารถนําไปวางแผนปฏิบัติต่อไปได้ โครงสร้างของหลักสูตรอิสลามศึกษาและ รายวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักสูตรอิสลามศึกษา ผู้บริหารและครูผู้สอนเห็นด้วยระดับมาก ด้านปัจจัยเบื้องต้น ได้แก่ คุณลักษณะของครูผู้สอน คุณลักษณะของผู้เรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน และ นักเรียนมีความเห็นด้วยระดับมาก สําหรับอุปกรณ์การเรียนการสอน แบบเรียน สถานที่เรียนและ งบประมาณ มีความเห็นด้วยระดับปานกลาง ด้านกระบวนการ ได้แก่ กระบวนการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ การวัดผลประเมินผลและการบริหารหลักสูตร ผู้บริหาร ครูผู้สอนและนักเรียนมีความเห็น ด้วยว่าปฏิบัติระดับมาก ด้านผลผลิต คุณลักษณะและสมรรถนะตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียนมีความเห็นด้วยระดับมาก |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purpose of this study was to evaluate the curriculum of Islamic studies of Thinnakom Phittayanusorn School by using Stufflebeam CIPP model focusing on aspects of context, input, process and product. The samples were 99 consisted of 2 asministrators, 7 teachers, 90 elementary pupils. The research instrument was questionnaire with value of reliability 0.818. The collected data were analyzed by Percentage, Mean ( x̅) and Stand. The findings were as follows: Deviation (S.D). The result of contex evaluation regarding Islamic studies curriculum objectives. visions, goal, missions, urriculum structure, and subjects were considered appropriate at a high level. The result of input evaluation regarding teachers quality, student quality, teaching ere considered appropriate at a high level. The result of process, evaluation and assessment, and curriculum ropriate at a high level. And the result of product evaluation regarding quality and capacity following the goal of curriculum were considered appropriate at a high level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1817 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-CI-M-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ARI ADAM.pdf | 6.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.