Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1928
Title: การเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศส กรณีศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: French education change a case study of Suratthani Province
Authors: วราพจน์ ดุริยานนท์
metadata.dc.contributor.advisor: มานวิภา อินทรทัต
Keywords: ภาษาฝรั่งเศส -- การศึกษาและการสอน -- สุราษฎร์ธานี -- วิจัย
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้การเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสลดจำนวนลงในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเพื่อนำเสนอแนวทาง การแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมแก่ผู้นำระดับศูนย์เครือข่ายพัฒนาภาษาฝรั่งเศส ภาคใต้ตอนบน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยวิธีการเชิงสถิติ และรายงานผลในรูปแบบข้อมูลตาราง ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำข้อมูลมาอภิปรายผลในรูปแบบของการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนภาษาฝรั่งเศส ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาฝรั่งเศสโดยรวมว่าเหมาะสมในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านเหมาะสมในระดับมาก โดยนักเรียนทั้งสองระดับชั้นมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาฝรั่งเศสโดยรวมและในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน ซึ่งเมื่อพิจารณาในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียน การสอนรายวิชาภาษาฝรั่งเศสโดยรวมและในแต่ละด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและ ในส่วนของการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกคนรับรู้ถึงปัญหาและแสดงความคิดเห็น ในประเด็นต่างๆออกมาเป็นแนวทางเดียวกัน โดยระบุว่าปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับการจัดการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสนั้น เกิดขึ้นจากสามประการคือ คุณภาพนักเรียน คุณภาพผู้สอนและคุณภาพผู้นำ ซึ่งสำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น จำเป็นต้องแก้ไขให้ตรงจุดและควรได้รับ ความร่วมมือจากผู้นำหรือผู้มีอำนาจในส่วนต่างๆประกอบกัน
metadata.dc.description.other-abstract: The purposes of this research are to study the factors of which cause the reducing of teaching and learning the French language in Suratthani high schools and to propose appropriate means to solve the problem to head of the Southern French Regional Development Center by using the mixed methodology of research. The quantitative research gathered information from questionnaires, analyzing information with statical methods and reporting results in diagrams. The Qualitative research part gathered information from in-depth interviews and is discussed in the form of descriptive analysis. This research has found that Students of Mattayomsuksa 5 and 6 of the French program in Suratthani province agree that the overall teaching and learning of the French language is in a very appropriate level. When analyzed by each factor, each factor is at the very appropriate level. Both levels of students share the same perspective towards the overall and individual factors of teaching and learning of the French language. When examining the academic results of students, the research shows statistical significance in the students differing academically and having different opinions in the overall and individual factors of teaching and learning the French language. The in-depth interviews has found that all subject groups acknowledge the problems and have similar opinions towards pointing out the source of teaching and learning the French language to be 1. the quality of students 2. the quality of teachers 3. the quality of the leader. Th
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง (ระบบการศึกษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1928
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CSI-LSBP-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WARAPOTT DURIYANON.pdf4.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.