Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1938
Title: | เปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์ที่มีผลลัพธ์ทางคลินิกดีและไม่ดี |
Other Titles: | Comparison of health promoting behaviors of persons with Aids regarding positive and negative health outcomes |
Authors: | ภาวินี ช่วยบุญ |
metadata.dc.contributor.advisor: | นิภา กิมสูงเนิน, อำภาพร นามวงศ์พรหม |
Keywords: | ผู้ป่วยเอดส์;ผู้ป่วยเอดส์ -- คุณภาพชีวิต -- วิจัย |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ Descriptive Comparative Study เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์และเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพกลุ่มที่มีผลลัพธ์ทางคลินิกดี และกลุ่มที่มีผลลัพธ์ทางคลินิกไม่ดี โดยใช้แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของ Pender (2011) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ป่วยเอดส์ที่รับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 104 ราย เป็นกลุ่มที่มีผลลัพธ์ทางคลินิกดี จำนวน 66 ราย กลุ่มที่มีผลลัพธ์ทางคลินิกไม่ดี จำนวน 38 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์และการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยสถิติ Mann – Whitney U test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีผลลัพธ์ทางคลินิกดี มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง และกลุ่มตัวอย่างที่มีผลลัพธ์ทางคลินิกไม่ดี มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับไม่ดี เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพระหว่างกลุ่มพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000) |
metadata.dc.description.other-abstract: | This descriptive study aimed to investigate health promoting behaviors and compare health promoting behaviors between the positive and negative health outcomes groups. Pender’s health promoting model was used as a conceptual framework. The purposive sampling of 104 patients at OPD of the private Hospital, 66 and 38 patients with positive and negative health outcomes was recruited from this study. Data were collected by using Personal Information sheet, Health Promoting Behaviors Questionnaire and interview guide. Descriptive statistics and Mann-Whitney U test were used to analyzed data. The findings showed that health promoting behaviors scores of the positive health outcomes group were at a moderate level while those of the negative health outcomes group were at a low level. When comparing the health promoting behaviors scores between the 2 groups, it was statically significant difference (p=.000) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557 |
metadata.dc.description.degree-name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1938 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nur-Adult-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PAWINEE CHUAYBOON.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.