Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1953
Title: มาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองบุคคลวิกลจริต : ศึกษากรณี พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง
Other Titles: Legal measures for protecting of unsound mind person: a case study on non-prosecution
Authors: คล้ายตะวัน เจริญรักษา
metadata.dc.contributor.advisor: ศิรภา จำปาทอง, กุมพล พลวัน
Keywords: มาตรการทางกฎหมาย;วิกลจริต -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจในประมวลกฎหมายอาญาซึ่งประมวลกฎหมายอาญาได้มีบทบัญญัติในการควบคุมบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตไว้ในสถานพยาบาล อันเป็นมาตรการทางกฎหมายสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตที่ศาลได้พิพากษาว่ากระทำความผิดแล้วรวมทั้งได้ศึกษาพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดมาตรการทางกฎหมายสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตที่ยังไม่ได้กระความผิดและที่ศาลได้พิพากษาว่ากระทำความผิดแล้ว เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาเนื่องจากผู้ต้องหามีอาการทางจิตทำให้ในขณะกระทำความผิดไม่รู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องและต้องปล่อยตัวผู้กระทำความผิดที่มีความผิดปกติทางจิตไปก็อาจจะไปก่อเหตุร้ายขึ้นได้อีก จึงควรนำมาตรการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับให้เป็นประโยชน์เพื่อป้องกันการกระทำความผิดซํ้า แต่เมื่อพิจารณาอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่มีความผิดปกติทางจิต ก็ไม่อาจนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับได้ ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาเพื่อให้พนักงานอัยการสามารถยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ควบคุมบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตไว้ในสถานพยาบาลได้ เพื่อเป็นการคุ้มครองและป้องกันไม่ให้บุคคลดังกล่าวไปก่อเหตุร้ายขึ้นได้อีก รวมทั้งได้เสนอแนะให้นำพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มาปรับใช้ในกรณีดังกล่าวด้วย
metadata.dc.description.other-abstract: This thesis is aimed at studying legal measures to be applied against person with mental disorder provided in the Criminal Code which has the provisions requiring that person with mental disorder be detained in the medical facilities. This is a legal measure to be applied against the person with mental disorder convicted by the court. This study also covers Mental Health Act B.E. 2551 (2008) which legal measures for persons with mental disorders not committed any offence and those convicted by the court. Although such legal measures against person with mental disorder have been provided, application of measures for law, that is, when the public prosecutor has reached the final decision not to institute the charge against the accused based on the group that such the accused has been suffered from mental disorder resulted in committing the offence without awareness or in controllable manner. After public prosecutor has decided to not cause violence again. It is therefore suggested to apply measures for safety provided by the Criminal Code to this case in order to prevent recurrence of offence.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิติศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1953
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Law-Law-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KLAYTAWAN JAROENLAAKSA.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.