Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1971
Title: | วิธีการเล่าเรื่องและการสื่อสารด้วยภาษาภาพยนตร์ในโฆษณาไทยผ่านสื่อออนไลน์ปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2562 |
Other Titles: | Narration techniques and communication through film language in online Thai commercials launched from 2017 to 2019 |
Authors: | กมลรัตน์ วงษ์รักษา |
metadata.dc.contributor.advisor: | กฤษดา เกิดดี |
Keywords: | โฆษณาออนไลน์;โฆษณา -- ภาพยนตร์โฆษณา -- วิจัย;ภาพยนตร์โฆษณา |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาให้เข้าใจ ถึงวัตถุประสงค์ ทางการสื่อสาร และวิธีการเล่าเรื่องและการสื่อสารด้วยภาษาภาพยนตร์ในโฆษณาไทยผ่านสื่อ ออนไลน์ ในปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2562 โดยมีแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1) แนวคิดนวัตกรรมการโฆษณาออนไลน์ 2) แนวคิดภาษาภาพยนตร์ 3) แนวคิดการเล่าเรื่อง (Narrative) และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยทำการศึกษาจากภาพยนตร์โฆษณาไทยผ่านสื่อออนไลน์ในปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2562 จำนวน 50 เรื่อง โดยแต่ละเรื่องมีระยะเวลาไม่เกิน 30นาที และไม่ต่ำกว่า 2 นาที ขึ้นไป โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีที่กล่าวไปข้างต้นในการวิเคราะห์ข้อมูลและแบ่งหมวดหมู่ ผลการวิจัย พบว่า ภาพยนตร์โฆษณาไทยผ่านสื่อออนไลน์ 1 เรื่องนั้นสามารถมีวัตถุประสงค์ทางการสื่อสารได้มากกว่า 1 หัวข้อ โดยผู้วิจัยขอเรียกว่า วัตถุประสงค์หลัก และวัตถุประสงค์รอง ในขณะที่วิธีการเล่าเรื่องส่วนมากนั้น ทั้งแก่นเรื่อง มุมมองการเล่าเรื่อง ฉาก และตัวละคร มักจะสร้างเรื่องราวที่จริงใจและทำให้คนดูสามารถมีประสบการณ์ร่วมได้ เป็นเรื่องราวที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวัน หรือเป็นตัวละครที่ สร้างขึ้นมาให้เหมือนกับนิสัยของมนุษย์จริงๆ ทั้งด้านดีและด้านร้าย ไม่ใช่ตัวละครในอุดมคติจนเกินไป เพื่อแสดงถึงความจริงใจของแบรนด์ผ่านเรื่องเล่า และผ่านภาษาภาพยนตร์ หรือ เทคนิคทางการสื่อสารของมุมกล้อง ขนาดภาพ และองค์ประกอบสี เพื่อประกอบสร้างเรื่องราวที่ทำให้เข้าถึงคนดู ผ่านอารมณ์ของหนัง |
metadata.dc.description.other-abstract: | This qualitative research aimed to investigate objectives of film language communication and narrative techniques used in online Thai commercials launched from 2017 to 2019. The research employed related theories including 1) online commercial innovation, 2) film language, and 3) narrative techniques, and other related studies as the research framework. The samples were fifty online Thai commercials, each of which lasted 30 minutes – 2 minutes. The result revealed that each of the commercials had more than one communication objective named as primary objective and secondary objective. In terms of narrative techniques, it was found that the narrative perspectives (narrative voices/ points of view), scenes, and characters could provide viewers with immersive experience. Most stories were what really happened in daily life. Most characters were aimed to be realistic, having both good and bad character traits, to present the sincerity of the brand of which the products were advertised through narration and film language with the contribution of camera angles, picture sizes, and colors. Those elements could make the commercials interesting and provide insight into characters’ thoughts and emotions. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 |
metadata.dc.description.degree-name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1971 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CA-CA-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KAMONRAT VONGRAKSA.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.