Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2052
Title: การใช้ดุลพินิจในคดีอาญาตามหลักการว่าด้วยคดีไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ : ข้อวิเคราะห์ทางกฎหมายในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบ
Other Titles: Prosecutorial discretion in criminal cases on the ground of the non-public interests principle: legal analysis on the basis of comparative law approach
Authors: ปวีณา เอี่ยมศิริกุลมิต
metadata.dc.contributor.advisor: วิชา มหาคุณ
ธานี วรภัทร์
Keywords: พนักงานอัยการ -- การใช้ดุลพินิจ;กฎหมายเปรียบเทียบ;คดีอาญา -- ชะลอการฟ้อง;กระบวนการยุติธรรม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ดุลพินิจไม่ฟ้องคดีอาญาตามหลักการว่าด้วยคดีไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ในประเด็นที่เกี่ยวกับนิยามและลักษณะของคดีที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน ขั้นตอนและกระบวนการ ตลอดจนการตรวจสอบดุลพินิจของอัยการ โดยวิเคราะห์ในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบแนวทางของอัยการต่างประเทศและพนักงานอัยการไทย ทั้งนี้ ผู้เขียนเน้นศึกษาเฉพาะกรณีคดีไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ มิได้ศึกษาก้าวล่วงในส่วนที่เกี่ยวกับคดีที่จะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติหรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ ผู้เขียนพบว่ากฎหมายไทยไม่ได้บัญญัติให้พนักงานอัยการต้องพิจารณาเกี่ยวกับประโยชน์ของสาธารณชนก่อนการฟ้องคดีอาญา การสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนเป็นเสมือนข้อยกเว้นต่างหากจากการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาทั่วไป ทั้งให้อำนาจอัยการสูงสุดผู้เดียวในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนโดยไม่สามารถมอบหมายได้ จึงทำให้คดีมีขั้นตอนที่ล่าช้า อีกทั้งการไม่มีคู่มือการใช้ดุลพินิจหรือแนวทางการพิจารณาที่ชัดเจน ทำให้พนักงานอัยการเลือกที่จะไม่พิจารณาประโยชน์ของสาธารณชนก่อนการฟ้องคดีอาญา ผู้เขียนเห็นว่าสมควรมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้พนักงานอัยการต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะก่อนฟ้องคดีเช่นเดียวกับอัยการต่างประเทศและให้อัยการสูงสุดมีอำนาจมอบหมายการสั่งไม่ฟ้องรวมทั้งตรวจสอบดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนของพนักงานอัยการที่ได้รับมอบหมายได้ ตลอดจนให้มีคู่มือหรือคำแนะนาให้พนักงานอัยการมีแนวทางที่ชัดเจน สามารถใช้ดุลพินิจได้อย่างอิสระ มีมาตรฐานเป็นอย่างเดียวกันและถูกต้องตามกฎหมาย
metadata.dc.description.other-abstract: This research aimed to explore prosecutors’ discretion in criminal cases that do not provide public interest in terms of definitions and characteristics of criminal cases that do not provide public interest, prosecution procedures, and the judicial review of prosecutors’ discretion. A comparative study between international and Thai prosecutors’ discretion in criminal cases that do not provide public interest was carried out. The study excluded criminal cases affecting the national security or the benefit of Thailand. The result revealed that Thai law did not require prosecutors to consider public interest before prosecution. Prosecutors’ discretion not to prosecute criminal cases that do not provide public interest was an exception. In these cases, attorneys general were solely authorized to decide to or not to exercise prosecutorial discretion. Moreover, this duty could not be assigned to others resulting in a delay in the prosecution procedure. It was also found that, without a prosecution manual and guidelines, prosecutors tended to overlook public benefit when deciding whether to prosecute a criminal case. The research recommended the amendment or related law in order to promote Thai prosecutors’ awareness of public interest before processing prosecution and authorize attorneys general to assign their power to prosecutors and review the discretion made by assigned prosecutors. Finally, prosecutors should be provided with a manual for prosecuting a criminal case independently according to legal standards
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (น.ด. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565
metadata.dc.description.degree-name: นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิติศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2052
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Law-Law-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PAWEENA IAMSIRIKULAMITH.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.