Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2067
Title: | เศรษฐกิจภาคประชาชนของพลเมืองดิจิทัล |
Other Titles: | Civil economy of digital citizens |
Authors: | ฐิติมนต์ วิทูภาสกาญจน์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | ธันย์พัทธ์ ใคร้วานิช |
Keywords: | สื่อสังคมออนไลน์;พลเมืองไทย;เศรษฐกิจสร้างสรรค์;นโยบายเศรษฐกิจ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาเศรษฐกิจภาคประชาชนของพลเมืองดิจิทัล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดิจิทัล ที่มีผลต่อเศรษฐกิจภาคประชาชน การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก ด้วยช่องทางแบบสอบถามออนไลน์ ผ่าน Google Form จำนวน 616 ราย และถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติแบบ (Multivariate Analysis of Covariance: MANCOVA) เนื่องจากเป็นการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวแปรอิสระ 1 ตัวหรือมากกว่า และกลุ่มตัวแปรตามหลายตัว ผลการวิจัยพบว่า อาชีพ และอายุมีผลต่อเศรษฐกิจภาคประชาชน และเครื่องมือสื่อสารออนไลน์ ทวิตเตอร์ (Twitter) และยูทูป (Youtube) มีผลต่อเศรษฐกิจภาคประชาชน โดยปัจจัยด้านอายุ และอาชีพ ส่งผลต่อรายได้ที่มากขึ้นตามช่วงอายุ และตามประเภทของกลุ่มอาชีพ ทำให้รายได้มีความมั่นคงที่จะสามารถจัดสรรทั้งทางด้านเวลา รวมถึงรายได้ เพื่อมีดำเนินกิจกรรมที่เป็นส่วนร่วมกับภาคประชาสังคมได้มากยิ่งขึ้น ด้านปัจจัยจากเครื่องมือสื่อสารออนไลน์ที่ทำให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนได้ในวงกว้าง และรวดเร็ว รวมถึงการเกิดการจูงใจผ่านสื่อทำให้ประชาชนที่มีการใช้งานเครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ที่กล่าวมาข้างต้นได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการมีส่วนร่วมภาคประชาสังคมและตัดสินใจเข้าร่วมได้ จากผลการทดลองที่ได้ทำให้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรส่งเสริมอาชีพเพื่อชุมชนโดยอาจรวมกลุ่มประชาชนตามความสนใจให้สามารถจัดตั้งธุรกิจเพื่อสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนและสังคม รวมถึงควรส่งเสริม สนับสนุน สร้างความรู้ความเข้าใจโดยผ่านเครื่องมือสื่อสารออนไลน์ที่ประชาชนมีความชำนาญและเข้าถึงอยู่แล้วให้สามารถหลอมรวมและส่งเสริมกิจกรรมชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ จากการศึกษาครั้งนี้ไม่ได้มุ่งเน้นถึงวิสาหกิจชุมชนที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจภาคประชาชน ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไป การศึกษาผลกระทบของวิสาหกิจชุมชนที่มีต่อเศรษฐกิจภาคประชาชนยังจะทาให้เกิดความรู้ความเข้าใจได้ลุ่มลึกมากขึ้น และการให้คำนิยามของคำว่า “เศรษฐกิจภาคประชาชน” ในการศึกษาครั้งต่อไปอาจเพิ่มเติมข้อมูลเชิงคุณภาพด้านการบริโภคของภาคเอกชนและประชาชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ |
metadata.dc.description.other-abstract: | This study aimed to investigate the demographic characteristics and knowledge concerning digital citizens affecting the economy of the people’s sector. A convenience sampling method was employed to collect the data from 616 participants who were Thai employees via online questionnaires. The data were analysed using statistical analysis and variable correlation. The findings revealed that occupation and age had an impact on the economy of the people’s sector. Twitter and YouTube, two online communication tools, had an impact on the economy of the people’s sector. Age and occupation had an impact on income, which increased with age and by professional group. This ensures income stability, which can be allocated in terms of both time and money in order to carry out more activities that benefit civil society. People who use the aforementioned social media tools were informed of the news on civil society participation and the decision to participate, which are factors of online communication tools that allow information dissemination to the public in a wide and fast manner, including the emergence of incentives through the media |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐกิจดิจิทัล)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 |
metadata.dc.description.degree-name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | เศรษฐกิจดิจิทัล |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2067 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EC-DE-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
THITIMON WITHUPASSAKAN.pdf | 878.2 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.