Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2358
Title: | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมของสารสกัดเปลือกมังคุด MGS-1 มีฤทธิ์ป้องกันรังสียูวีและมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส |
Other Titles: | Development of Garcinia mangostana Linn. peel extract (MGS-1) cream with ultraviolet radiation protection and anti-tyrosinase activities |
Authors: | ประสาน ตั้งยืนยงวัฒนา |
Keywords: | มังคุด -- เปลือก -- เภสัชฤทธิวิทยา -- วิจัย;การพัฒนาผลิตภัณฑ์;เปลือกมังคุด -- เภสัชฤทธิวิทยา;เอนไซม์ไทโรซิเนส -- วิจัย |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้ทําการแยกสารสกัดจากเปลือกมังคุด (MGS-1) โดยเก็บมังคุดจาก 9 แหล่ง ในภาค ตะวันออก และภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี 3 แหล่ง ระยอง 2 แหล่ง ประจวบคีรีขันธ์ 2 แหล่ง พังงา และนครศรีธรรมราช จังหวัดละ 1 แหล่ง นําผงเปลือกมังคุดแห้งจากแต่ละแหล่งมาหมักด้วยเอทานอล 95% เป็นเวลา 7 วัน กรองสารสกัดที่ได้ และระเหยตัวทําละลายออกด้วยเครื่อง Rotary evaporator ชั่ง น้ําหนักสารสกัดหยาบที่ได้ และทําการวิเคราะห์หาปริมาณสารแอลฟาแมงโกสติน (a-mangostin) ใน สารสกัดจากแต่ละแหล่งด้วยเทคนิค HPLC นําสารสกัดเปลือกมังคุดมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโร ซิเนส และนําสารสกัด MGS-1 มาเตรียมเป็นครีม (O/W) แล้วทดสอบคุณสมบัติการป้องกันรังสียูวี โดย วัดค่า SPF ด้วยเครื่อง Optometric SPF-290AS ผลการวิจัยพบว่ามังคุดจากจังหวัดจันทบุรีทั้ง 3 แหล่ง มีปริมาณสารแอลฟาแมงโกสตินสูงที่สุด โดยมีปริมาณร้อยละ 10.24 + 0.06 ถึง 11.70 + 0.01 โดยน้ําหนัก (%w/w) ของสารสกัด จากการแยกสาร สกัด (จันทบุรี) จํานวน 600 มิลลิกรัมด้วยคอลัมน์โครมาโตรกราฟี ได้สารสกัด MGS-1 จํานวน 86.30 มิลลิกรัม คิดเป็นร้อยละ 14.38 นําสารสกัดมาวิเคราะห์ปริมาณแอลฟาแมงโกสตินด้วยเทคนิค HPLC พบสารแอลฟาแมงโกสติน 65.80 + 1.80 มิลลิกรัม (76.24 + 2.08%) เมื่อนําสารสกัดเปลือกมังคุดมา ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งที่ระดับ ICs เท่ากับ 102.67 ไมโครกรัม/ มิลลิลิตร ส่วนสารที่แยกได้จากคอลัมน์โครมาโตรกราฟี (Top spots) มีฤทธิ์ยับยั้งที่ระดับ ICs) มากกว่า 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ส่วนของ Mid spots ซึ่งมีสารแอลฟาแมงโกสตินอยู่ มีฤทธิ์ยับยั้งที่ระดับ IC50 เท่ากับ 18.48 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานกรดโคจิก (Kojic acid) ที่มีฤทธิ์ ยับยั้งที่ระดับ IC,, เท่ากับ 38.46 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร เมื่อนําสารสกัด MGS-1 มาเตรียมเป็นครีม (O/W) แล้วทดสอบคุณสมบัติการป้องกันรังสียูวี โดยวัดค่า SPF ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 1, 2, 4, 6, 9 (w/w) ด้วยเครื่อง Optometric SPF-290AS (Optometric Coporation, USA) พร้อมด้วย WinSPF software พบว่า ค่า SPF มีค่าเท่ากับ 0.71 ± 0.01, 3.01 + 0.22, 4.68 + 0.27, 10.36 ± 1.07 และ 9.24 ± 0.97 ตามลําดับ โดย มีค่า UVA/UVB อยู่ในช่วง 0.226 ± 0.01ถึง moderate จะพบว่าครีมสารสกัด MGS-1 สามารถป้องกันรังสียูวีบี (UVB) ได้ดีที่ระดับความเข้มข้น ร้อยละ 6 ในขณะที่ความสามารถในการป้องกันรังสียูวีเอ (UVA) ยังอยู่ในระดับปานกลาง และมีค่าต่ําถ้า ความเข้มข้นต่ํา จึงเห็นว่าสารสกัด MGS-1 มีคุณสมบัติที่ดีที่จะนําไปทําเป็นผลิตภัณฑ์ทําให้ ให้ผิวขาว สามารถป้องกันรังสียูวี หรือใช้ในเครื่องสําอางทั่วไป ทําให้ยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์และมีต้นทุน ของสารตั้งต้นที่ต่ำ |
metadata.dc.description.other-abstract: | This research prepared mangosteen rind extract (MGS-1) and analyzed alpha-mangosteen content in the extract. Mangosteen fruits were collected from 9 locations (1s) in the eastern and southern parts of Thailand which were Chanthaburi (3 Is), Rayong (2 Is), Prachuap Khiri Khan (2 ls), Phangnga (1 Is) and Nakhon Si Thammarat (1 ls). Eech rind sample was dried, powdered and macerated with 95% ethanol for 7 days. The extract was then filtered, and the solvent was removed by a rotary evaporator. The crude extract yields were calculated, and the amount of a-mangostin of each extract was analyzed by HPLC technique. The mangosteen rind extract was subjected to the anti-tyrosinase activity test. In addition, the MSG-1 extract was prepared as oil in water cream and subjected to SPF evaluation using Optometric SPF-290AS. The analysis results found that mangosteen rind extract from Chanthaburi province (3 1s) contained the highest amounts of a-mangostin which were 10.24 ± 0.06 to 11.70±0.01 (%w/w). Next, the crude extract (Chanthaburi) 600 mg. was subjected into silica gel column chromatography and eluted with hexane: ethyl acetate (6 : 4) to give MSG-1 in the amount of 86.30 mg (14.38%w/w). The amount of alpha-mangostin 65.80 ± 1.80 mg (76.24 ± 2.08%w/w) was found in MSG-1 extract analyzing by HPLC method. For the anti-tyrosinase activity of the mangosteen rind extract, the crude ethanol extract showed inhibition concentration (ICs) equal to 102.67 μg/mL. In addition, the top spots demonstrated the same level of inhibition concentration (IC50 100 μg/mL) while the mid spots showed IC50 at 18.48 μg/mL which was better than a control compound, kojic acid (38.46 μg/mL). The MSG- 1 extract was prepared as 0, 2, 4, 6, 9 (%w/w) oil in water cream and subjected to SPF evaluation using Optometric SPF-290AS (Optometric coporation, USA) with WinSPF software. The SPF analysis results were 0.71 ± 0.01, 3.01 ± 0.22, 4.68 0.27, 10.36 ± 1.07 and 9.24 ± 0.97, respectively. The UVA/UVB ratios were in the range of 0.226 ± 0.011 to 0.489 0.007, and the Boot Star Rating values were demonstrated in minimum to moderate level. From the results, the 6 %w/w of MGS-1 cream performed the best SPF for UVB protection while all samples had low to medium UVA protection. In conclusion, MGS-1 extract has good properties that can be used as active ingredient in whitening product, sunscreen in commercial cosmetics with the high quality and low cost of starting material. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2358 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Ort-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PRASAN TANGYUENYONGWATANA.pdf | 2.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.