Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2420
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย ประเมินตัวแปรของลูกตาในคนสูบบุหรี่ |
Other Titles: | Evaluation of ocular parameters in smoking cigarettes |
Authors: | นิศา ปานอ่อน วัฒนีย์ เย็นจิตร ตฤณณวัฒน์ ทองชิต |
Keywords: | ตา, โรค;ตา -- การดูแลและสุขวิทยา;บุหรี่ -- ผลกระทบต่อสุขภาพ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | รายงานการวิจัยเรื่อง การประเมินตัวแปรของลูกตาในคนที่สูบบุหรี่ มุ่งศึกษาเปรียบเทียบตัวแปรของลูกตา ระหว่างอาสาสมัครกลุ่มที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ จำนวนกลุ่มละ 145 และ 147 คน ตามลำดับและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาของการสูบบุหรี่และตัวแปรของลูกตา โดยอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มต้องไม่มีประวัติการใช้คอนแทคเลนส์ การเป็นโรคทางกาย โรคทางตาหรือเปลือกตา ผ่าตัดทางตา และมีประวัติครอบครัวเป็นตาบอดสี อาสาสมัครทุกคนจะได้รับการตรวจความสามารถในการมองเห็นและตาบอดสีด้วย Snellen chart และแผ่นทดสอบ Pseudoisochromatic plates ตามลำดับ ค่าสายตาและความโค้งกระจกตาด้วยเครื่องวัดสายตาอัตโนมัติ ความดันตาด้วยเครื่องวัดความดันตาแบบอัตโนมัติแบบไม่สัมผัสคุณภาพน้าตาและปริมาณน้ำตาด้วยวิธีการ TBUT และ Schirmer test I ตามลำดับ ความหนาตรงกลางกระจกตา ความลึกและปริมาตรช่องหน้าม่านตา มุมช่องหน้าลูกตา ความหนาของชั้นคอรอยด์ จุดภาพชัด ชั้นเส้นใยประสาทตา อัตราส่วนของขั้วประสาทตา และความหนาของชั้นแกงเกลียนเซลล์ด้วยเครื่องถ่ายภาพตัดขวางจอประสาทตาผลการวิจัยพบว่า อาสาสมัครกลุ่มที่สูบบุหรี่จะมีค่าคุณภาพน้ำตาและปริมาณน้ำตาลดลงและมีค่าการมองเห็นระยะไกลและความหนาของชั้นคอรอยด์เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P value; < 0.001, 0.044, < 0.001 และ 0.023 ตามลำดับ) นอกจากนั้นพบว่า ระยะเวลาของการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าความสามารถในการมองเห็นระยะไกล (r =0.168, P value = 0.043) การมองเห็นระยะใกล้ (r = 0.691, P value < 0.001) ค่าสายตา (r = 0.414, P value < 0.001) และความสัมพันธ์เชิงลบกับคุณภาพน้าตา (r = - 0.174, P value = 0.036) ปริมาณน้ำตา(r = - 0.329, P value < 0.001) ความโค้งกระจกตา (r = - 0.186, P value = 0.025) ความลึกของช่องหน้าม่านตา (r = - 0.448, P value < 0.001) และปริมาตรช่องหน้าลูกตา (r = - 0.481, P value < 0.001) และความหนาของชั้นเส้นใยประสาทตา (r = - 0.281, P value = 0.008) สรุปผลการวิจัย การสูบบุหรี่ส่งผลต่อการลดลงของคุณภาพและปริมาณน้ำตา เป็นสาเหตุสำคัญที่ทาให้เกิดอาการภาวะตาแห้ง และความสัมพันธ์เชิงลบกับความโค้งกระจกตา ความลึกของช่องหน้าม่านตา ปริมาตรช่องหน้าม่านตา ความหนาของชั้นเส้นใยประสาท นอกจากนั้นพบว่า การสูบบุหรี่จะทาให้เกิดภาวะสายตายาวก่อนวัยอันควร และทาให้ความสามารถในการมองเห็นทั้งระยะไกลและใกล้ลดลง |
metadata.dc.description.other-abstract: | The research topic is evaluation of ocular parameters in smoking cigarettes. The study aims to investigate ocular parameters in smoking group in comparison to nonsmoking group and to find a correlation between duration of smoking with ocular parameters. Subjects were divided into two groups including the 145 smokers and 147 nonsmokers. The exclusion criteria included history of use contact lens, systemic disease, ocular and eyelid disease, ocular surgery and color blindness of family history. Visual acuity and color blind were tested by Snellen chart and Pseudoisochromatic plates. Refractive error and corneal curvature were analyzed by autorefrac-keratometor. Intraocular pressure were measured by non-contact tonometer, TBUT, Schirmer test I. Central corneal thickness, anterior chamber depth, anterior chamber volume, anterior chamber angle, the thickness of choroid, macular, retinal nerve fiber layer and cup dis ratio were examined by enhanced depth imaging enhanced depth imaging. It is found that the TBUT and Schirmer test I decreased but distal visual acuity and choroidal thickness increased in the smoking group (P value; < 0.001, 0.044, <0.001 and 0.023 respectively). It is showed that duration of smoking positively correlated with distal visual acuity (r = 0.168, P value = 0.043), nearly visual acuity (r = 0.691, P value <0.001), refractive error (r = 0.414, P value < 0.001). In contrast, duration of smoking showed a negative correlation with TBUT (r = - 0.174, P value = 0.036), Schirmer test I (r = - 0.329, P value < 0.001), corneal curvature (r = - 0.186, P value = 0.025), anterior chamber depth (r = -0.448, P value < 0.001), anterior chamber volume (r = - 0.481, P value < 0.001) and thicknessof retinal nerve fiber layer (r = - 0.281, P value = 0.008). In conclusion, smoking affected the quality and quantity of tears and induced dry eyes. Smoking duration negatively correlated with the corneal curvature, anterior chamber depth, and anterior chamber volume and retinal nerve fiber layer thickness. In addition, smoking also increased risk of hyperopia and decreased of distance and near of visual acuity |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2420 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Opt-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NISA PANON.pdf | 995.34 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.