Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2422
Title: รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทน ทุนมนุษย์กับการศึกษา : กรณีศึกษาประเทศไทย
Other Titles: The Study of relationship between return on human capital and education: Thailand case study
Authors: เทอดศักดิ์ ชมโต๊ะสุวรรณ
Keywords: ทุนมนุษย์;การศึกษา -- ไทย
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: รายงานวิจัยนี้มุ่งศึกษาให้ทราบมูลค่าทุนมนุษย์ อัตราผลตอบแทนทุนมนุษย์ และมูลค่าทุนมนุษย์แฝงของแรงงานไทยรายคุณวุฒิการศึกษาและสาขาอาชีพ โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากแบบสอบถามและข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนคุณค่าของมนุษย์หรือที่เรียกว่าทุนมนุษย์ประกอบด้วยทุนมนุษย์แฝงและ ทุนมนุษย์ชัดแจ้ง มนุษย์แต่ละคนมีทุนมนุษย์แฝงหรือพรสวรรค์ซึ่งติดตัวมาตั้งแต่เกิดแตกต่างกัน ในขณะที่ทุนมนุษย์ชัดแจ้งในมนุษย์แต่ละคนสามารถสะสมเพิ่มขึ้นได้โดยการลงทุนในทุนมนุษย์ด้านต่างๆ อาทิเช่น ด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ด้านการดูแลสุขภาพ ด้านการอุปโภคบริโภคขั้นพื้นฐาน ด้านการเสริมสร้างความรู้และทักษะโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษาเล่าเรียน จากการศึกษาวิจัยพบว่า โดยทั่วไปยิ่งแรงงานลงทุนในการศึกษาในระดับสูงขึ้นแรงงานจะยิ่งสะสมทุนมนุษย์ชัดแจ้งรวมสูงขึ้นและได้รับผลตอบแทนทุนมนุษย์ในอัตราที่สูงขึ้นด้วย นอกจากนี้การศึกษาวิจัยยังพบว่าการเลือกลงทุนในสาขาวิชาที่แตกต่างกันจะได้รับอัตราผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้การเลือกลงทุนในสาขาวิชาที่แตกต่างกันมาจากหลายปัจจัย อาทิเช่น ครอบครัว เงินทุน สภาพร่างกาย สติปัญญาความสามารถ ระยะห่างจากสถานศึกษา และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางการศึกษาและการทำงาน เป็นต้น อย่างไรก็ตามการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาของแรงงานแต่ละคนอาจไม่ได้ขึ้นกับผลตอบแทนในรูปตัวเงินเพียงอย่างเดียวแต่อาจขึ้นอยู่กับรสนิยมและความชอบส่วนบุคคลซึ่งจะได้รับผลตอบแทนในรูปความสุขจากการทำงานที่ตนรักนั่นเองผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้สามารถเป็นประโยชน์ในด้านข้อมูลให้แก่ผู้ปกครองและเยาวชนรุ่นใหม่เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์เกี่ยวกับการเลือกลงทุนในการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับเป้าหมายชีวิตของเยาวชนแต่ละคนอย่างแท้จริงมากขึ้น เป็นข้อมูลเชิงวิชาการให้แก่บุคคลในสายอาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารการศึกษาและผู้วางนโยบายรัฐได้นำไปประกอบการวิเคราะห์พัฒนาระบบการศึกษาของชาติในอนาคตให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน คุณภาพชีวิตของประชาชน และพัฒนาประเทศให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
metadata.dc.description.other-abstract: This research aims to investigate the value of human capital, the rate of return on human capital, and the value of implicit human capital of labor by educational attainment and by occupation in Thailand. This research utilizes the primary data from the questionnaire and the secondary data from government and private agencies. Human value or human capital consists of an implicit human capital and an explicit human capital. An implicit human capital or talent of each human, which is ingrained since they were born, is different. An explicit human capital of each human can be increased by investing in physical growth, health care, basic consumption, knowledge and skills enhancement especially education. The study found that, in general, the more labor invested in higher education the more labor accumulated their total explicit human capital and the more labor got a higher rate of return on their human capital. In addition, the study also found that investment in different fields of education will receive different rates of return. Causes of investment in different fields of education come from various factors such as family, finance, physical condition, intellectual ability, distance from the school, and access to information about education and work, etc. However, decision making about education field of each labor may not only be based on the return in term of money but also may depend on personal preference which return in the term of happiness on the work they love. The results of this study would be one of information for the new generation parent and young people to utilize and effectively analysis about their investment in education to achieve their life goals and it would be the useful academic results for other professions. It also provides the information to the education administrators and the state policy makers for analyzing and developing the more efficient and equitable national education system to increase labor productivity, living standard of people, and sustainable economic development.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2422
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:EC-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
THOEDSAK CHOMTOHSUWAN.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.