Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2442
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย ความไม่เสมอภาคของสตรี สะท้อนผ่านภาพลักษณ์ของนางในวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ ด้วยศิลปะสื่อผสมและวัสดุดินเยื่อกระดาษ
Other Titles: Reflection of women inequality through characters of rattankosin litery works' herooines using mix media and paper clay
Authors: โลจนา มะโนทัย
Keywords: จิตรกรรมสื่อผสม;ศิลปกรรมสื่อผสม -- ไทย;ตัวละครและลักษณะนิสัยในวรรณคดี
Issue Date: 2558
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเรื่อง ‚ความไม่เสมอภาคของสตรี สะท้อนผ่านภาพลักษณ์จากนางในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ด้วยศิลปะสื่อผสม และวัสดุดินเยื่อกระดาษเป็นงานวิจัยสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะสื่อผสมในรูปแบบงานประติมากรรมลอยตัวขนาดเล็ก ร่วมกับวิธีการทางจิตรกรรมด้วยการใช้สีสื่อแสดงอารมณ์ของงาน มีการใช้วัสดุทางธรรมชาติ เช่น หนามจากต้นโป๊ยเซียน และวัสดุสาเร็จรูป เช่น สร้อยทองเทียมมาเป็นส่วนประกอบเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของผลงาน โดยสื่อเรื่องราวที่สะท้อนถึงความไม่เสมอภาคในสถานภาพ และปัญหาสิทธิสตรีในบริบทสังคมแบบชายเป็นใหญ่โดยมีกระบวนการสร้างสรรค์ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารวิชาการบทความ และบทวิเคราะห์จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของตัวละครเอกฝ่ายหญิงจากวรรณคดีไทย 3 เรื่องได้แก่ มัทนาจากมัทนะพาธา มโนราห์จากสุธนคำฉันท์ และกากีจากกากีคำกลอน นำประเด็นหลักเรื่องปัญหาความไม่เท่าเทียมมาสร้างสรรค์ขึ้นเป็นแบบร่างที่พัฒนาจนได้แบบร่างที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งนำไปสู่กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานที่มีการพัฒนา ปรับเปลี่ยน ทดลอง และแก้ไขเพื่อให้ได้ผลงานที่สามารถสื่อถึงเรื่องราวตรงตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยสร้างสรรค์พบว่า การนำวัสดุดินเยื่อกระดาษ และสื่อผสมมาสร้างเป็นผลงานโดยใช้รูปทรงของสตรีเป็นตัวแทนสื่อแสดงอารมณ์ของงานด้วยอากัปกริยาท่าทางที่ต่างกันนั้นสามารถสื่อถึงเนื้อหา เรื่องราว และอารมณ์ความรู้สึกนัยยะเบื้องลึก ที่ต้องการแสดงออกได้ตรงตามวัตถุประสงค์โดยผลงาน ‚มัทนา‛มีรูปแบบของสตรีที่กำลังกลายสภาพจากความเป็นมนุษย์ไปสู่การเป็นกุหลาบตลอดกาลด้วยน้ำมือของบุรุษผู้ไม่สมหวังในรัก แต่ทว่ามีอำนาจเหนือกว่าสามารถสะท้อนให้เห็นถึงหญิงงามที่ตกอยู่ในสภาวะของปัญหาการละเมิดสิทธิ ลิดรอนเสรีภาพ ถูกบังคับด้วยเงื่อนไขเชิงอำนาจรวมทั้งตกเป็นเหยื่อความรุนแรงอันเป็นผลจากการอยู่ภายใต้สังคมที่มีการปกครองแบบชายเป็นใหญ่ ผลงาน ‚มโนราห์‛ จากตอนมโนราห์บูชายัญ สะท้อนให้เห็นถึงการที่สตรีตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในเกมการเมืองของบุรุษ และผลงาน ‚กากี‛ มีรูปแบบของสตรีร่างเปลือยเปล่าถูกโซ่ตรวนพันธนาการรัดร่างสะท้อนให้เห็นถึงการตกเป็นเหยื่อการประณามจากสังคม และวัฒนธรรมที่กำหนดขึ้นจากสังคมที่บุรุษมีอำนาจ ซึ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกันทางเพศ และยังสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติการกดขี่ทางเพศที่สังคมมีต่อสตรี เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยดินเยื่อกระดาษซึ่งเป็นวัสดุหลัก พบว่าดินเยื่อกระดาษเป็นวัสดุสำเร็จรูปที่สามารถขึ้นรูปงานปั้นได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องผ่านกรรมวิธีการทำพิมพ์ การหล่อ หรือการเผา ง่ายต่อการเปลี่ยนแปลง ต่อเติม หรือแก้ไขผลงาน สามารถสร้าง และเก็บรายละเอียดที่มีความอ่อนช้อยได้ดี อีกทั้งยังสามารถระบายสี หรือนำวัสดุอื่น ๆ มาประกอบเพื่อเพิ่มอารมณ์ความรู้สึก และเรื่องราวให้กับผลงานได้อย่างลงตัวสวยงาม มีสุนทรีย์ทางศิลปะ
metadata.dc.description.other-abstract: The creative research ‚Reflection of Women Inequality through Characters of Rattanakosin Literary Works’ heroines using Mix Media and Paper Clay” The research objective is to create small round relief sculptures using mixed media : paper pulp clay and decoration materials such as flower thorns from Crown of Thorns and the imitation golden ornamental chain together with coloring to convey the emotional and telling the main content of the inequality of women right ‘s issue in which the contextual of men power dominant. The creative methodology is collecting and analyzed data from academic textbooks, related researches, and the articles issue of Thai women character from Ratthanakosin literatures : Mathana from Mathanapatha, Manora from Suthon Khumchan(Prosody-a verse from consisting of rhymes and a definite metrical scheme) and Khaki from khaki rhyme . In order to convey the concept or main content of the inequality of women status problem. The process has created and do many drafts and sketch designs, developed the sketches to the most appropriate draft, then forming, trial and development the female configuration with the materials and mixed media to make the art work completed that suit to the research objective. The research result found that paper pulp clay the main material and mixed media can form female gesture that the movement of part of the body to express an idea, emotional and meaning. ‚Mathana‛ she is in the theme of a woman who is turning from a human into a rose forever at the hands of men in unrequited love and his predominance. This reflected the beauty who is in a state of the violations, freedom forced by condition of power, she is as a victims of violence because of the predominance of men in the society. ‚Manorah‛ from Manorah sacrifice reflecting the fact that women who is violence victim under the political game of men and ‚Khaki‛ is in the theme of naked woman imprison with chains fasten tightly reflect the victims condemned by society, social and culture rule by men who authority and dominance the society. These are reflect gender inequality and reflect social attitude toward women’s sexual oppression. Techniques for creating work with clay and paper pulp clay which is the main material can be shape round relief sculptures easily and quickly, can keep many fine and delicate details without molding, casting, kindling process, moreover can be color painting on the surface and decorate with decoration materials that make its look beautiful and gorgeous aesthetically sculpture and convey the main content effectively.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2442
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Art-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
LOJANA MANODHAYA.pdf4.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.