Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2475
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การประเมินผลการใช้เรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอโนโมซีเมนต์ต้นแบบ RU-HBM1ทางคลินิก
Other Titles: Clinical evaluation of a novel resin modified glass ionomer cement prototype : RU-HBM1
Authors: ละอองทอง วัชราภัย
รัชชา รักศักดิ์มนุษย์
วิรชา วชิรมน
พสุชา ธันยกิจไพศาล
Keywords: ทันตกรรม -- คลินิก;เรซินทางทันตกรรม;ทันตวัสดุ
Issue Date: 2562
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง วัสดุรองพื้นต้นแบบ อาร์ยู-เอชบีเอ็มวัน ซึ่งเป็นเรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ ที่วิจัยและพัฒนาโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยสมุนไพร ชีววัสดุและวัสดุเพื่อการรักษาทางทันต-กรรม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เปรียบเทียบกับวิเทอร์บอนด์ซึ่งเป็นวัสดุนำเข้า โดยศึกษาในอาสาสมัครจำนวน 20 คน ที่มีฟันผุคลาสวัน หรือ คลาสทู ที่ลึกมากกว่า 1.5 มม. ภายหลังกาจัดรอยผุภายใต้แผ่นยางกันน้ำลาย รองพื้นเนื้อฟันด้านที่ประชิดเนื้อเยื่อในด้วยวัสดุดังกล่าวข้างต้นแบบสุ่ม โดยศึกษากับอาสาสมัคร 10 คน / วัสดุทดสอบ และบูรณะฟันด้านบนด้วย เรซินคอมโพสิต สอบถามอาการของอาสาสมัครทางโทรศัพท์ภายหลังการรักษา 1 วัน และ 7 วัน พร้อมทั้งนัดกลับมาติดตามผลของการรักษาภายหลัง 3 เดือน และ 6 เดือน ตามลำดับ โดยซักถามอาการเจ็บปวด เคาะ คลา และถ่ายภาพรังสีรอบปลายรากเปรียบเทียบกับอาการ และภาพรังสีก่อนการรักษา ผลของการศึกษาพบว่าวัสดุรองพื้นต้นแบบ ให้ผลของการรักษาทั้งอาการที่แสดง และภาพรังสีของอาสาสมัครทุกช่วงเวลาของการติดตามผลไม่แตกต่างจากวิเทอร์บอนด์ (P > 0.06) จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าวัสดุรองพื้นต้นแบบ อาร์ยู-เอชบีเอ็มวัน สามารถนำมาใช้ทางคลินิกให้ผลของการรักษาไม่แตกต่างจากวัสดุรองพื้นที่นำเข้าจากต่างประเทศ
metadata.dc.description.other-abstract: The aim was to evaluate a novel resin modified glass ionomer cement prototype ; RU-HBMI produced by Research Unit Herbal Medicine Biomaterial and Material for Dental Treatment compared with commercial resin modified glass ionomer cement ; Vitrebond. This study was conducted in 20 volunteers' decay teeth with the caries depth more than 1.5 mm in Class I or Class II cavity. After caries removal under rubber dam control, liner was randomly placed on pulpal wall of the cavity 10 volunteer / test liner. Then the cavity was filled with resin composite. The patient was called after 1 and 7 d asking about the symptom after treatment. The recall visits were performed after 3 and 6 mo, respectively. The patients were asked about the symptom after treatment. The clinical examination both percussion and palpation and also radiograph were conducted in comparing with the pre-treatment records. The results revealed the teelh filled with the Prototype liner, RU-HBM1, and Vitrebond had no any symptom and clinical sign of percussion and palpation. Moreover the radiographs of both pre-treatment and posttreatment of every tooth were not different (P >0.05) In conclusion, the Protolype liner RU-HBM1 can be clinically used and the outcome of treatment is not different from the commercial one.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2475
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Den-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
LA-ONGTHONG VAJRABHAYA (1).pdf471.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.