Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2501
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย ความผิดปรกติทางตาของเด็กที่มีปัญหาทางการได้ยินและสื่อความหมายในกรุงเทพฯ |
Other Titles: | Ocular disorders in Children with hearing impairments and speech disability in Bangkok |
Authors: | เมธี จรัสอรุณฉาย วัฒนีย์ เย็นจิตร |
Keywords: | สายตาผิดปกติในเด็ก;การได้ยินผิดปกติ;โรคตา -- ในวัยทารกและเด็ก;ความบกพร่องทางการได้ยินในเด็ก |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | บทนํา : จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าเด็กที่มีปัญหาทางการได้ยินและสื่อความหมาย (หู หนวกหูตึง) จะมีปัญหาทางตาร่วมด้วย ทําให้เด็กกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเด็กที่มีความพิการร่วมกันทั้งสอง ประเภท เด็กกลุ่มจึงนี้มีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่น้อยกว่า มีผลการเรียนต่ํากว่าเด็กปกติ การ ทํางานไม่ดี และส่งผลถึงคุณภาพชีวิตไม่ดีด้วย วัตถุประสงค์ : เพื่อทราบความชุก สาเหตุของความผิดปกติทางตาของเด็กโสตศึกษาใน กรุงเทพมหานครที่มีปัญหาทางการได้ยินและสื่อความหมายร่วมด้วย และ เปรียบเทียบความชุกและสาเหตุของความผิดปกติทางตาของเด็กโสตศึกษาในกรุงเทพมหานครที่มีปัญหาทางการได้ยินและสื่อความหมายร่วมด้วยกับรายงานที่ผ่านมาในภูมิภาค การดําเนินงาน : รวบรวมข้อมูลจากการออกตรวจเด็กนักเรียนในโรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ และโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์จํานวน 233 คน ผลการศึกษา : พบผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย 205 คน (87.98%) มีระดับการมองเห็นอยู่ในเกณฑ์ดีที่ระดับ 20/20 – 20/25 จํานวน 174 คน (74.70 %) พบ visual impairment 1.29% และตาบอด 0.86% พบสายตาสั้นมากที่สุดคือ 24.03% ตามด้วยสายตา เอียง 12.88% และสายตายาวพบน้อยที่สุด คือ 8.58 % พบตาเหล่ออกจํานวน 14 คน (6.01%) และตา เหล่เข้าจํานวน 5 คน (2.15%) โรคตาที่พบมากที่สุด ได้แก่ retinitis pigmentosa 8.58% และพบโรคที่ เกี่ยวข้องกับความบกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ mental retard 1.72% และ Waardenburg syndrome 0.43%, Down syndrome 0.86%, Leaning disability 0.43%, และ Autistic 2.15% สรุป : ในเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินส่วนใหญ่พบว่ามีอาการทางตาร่วมด้วยซึ่งทําให้มีพัฒนาการที่ลดลงเนื่องจากเมื่อเด็กเสียการได้ยินจึงจําเป็นต้องใช้ประสาทสัมผัสทางตา เพื่อช่วยในการเรียนรู้ หากมีความบกพร่องทั้งสองชนิดจะทําให้เด็กมีมีความสามารถลดลง ผลการเรียนลดลง |
metadata.dc.description.other-abstract: | Introduction: The previous study found that children with hearing impairments (deaf, hard of hearing) also had eye problems. This makes this group of children with both disabilities. This group of children is therefore less likely to receive an education. There are lower school-record than normal children, poor functioning, and poor quality of life. Objective: To know the prevalence of eye disorders of children hearing impairments and speech disability in Bangkok, and to compare the prevalence and causes of eye disorders of children hearing impairments and speech disability in Bangkok together with past reports. Results: 205 people with hearing or descriptive impairment (87.98%) had good vision levels of 20/20 -20/25, 174 people (74.70%), 1.29% visual impairment and 0.86% blindness, 14 of whom were found with myopia, 24.03%, followed by 12.88% of astigmatism and 14 short-sightedness, 14 people (6.01%), and 5 people (2.15%). The most common eye diseases included 8.58% retinitis pigmentosa and hearing impairment-related diseases included mental- retard 1.72% and Waardenburg syndrome 0.43%, Down syndrome 0.86%, leaning disability 0.43%, and Autistic 2.15%. Conclusion: In children with hearing impairments, the majority of children with hearing impairments are found to have eye symptoms. This causes a decrease in development, since when a child loses hearing, it is necessary to use the visual senses to aid in learning. If there are both types of disabilities, the child will have a decrease in ability. grad point average is decreasing. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2501 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Opt-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
MATEE JARADAROONCHAY.pdf | 3.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.