Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2507
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย ผลของสารสกัดตำรับตรีผลาต่อการยับยั้งเอนไซม์ แพนครีเอติกคอเลสเตอรอล เอสเทอเรส
Other Titles: The effect of Triphala extract on the inhibition of pancreatic cholesterol esterase
Authors: ปฐมาภรณ์ ปฐมภาค
Keywords: เอนไซม์ -- การสังเคราะห์;ตรีผลา (ยาสมุนไพร) -- เภสัชฤทธิวิทยา;สารสกัดจากพืช -- การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ -- วิจัย
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นสาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดหัวใจ เอนไซม์แพนครี เอติกคอเลสเตอรอล เอสเทอเรส มีหน้าที่สําคัญในกระบวนการดูดซึมคอเลสเตอรอล โดยการปลดปล่อย คอเลสเตอรอลอิสระจากคอเลสเตอริลเอสเทอร์ ก่อนที่จะถูกขนส่งไปยังเซลล์ในร่างกาย การยับยั้ง เอนไซม์แพนครีเอติกคอเลสเตอรอล เอสเทอเรส จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ตรีผลาเป็นสูตรตํารับสมุนไพรของไทยตั้งแต่สมัยโบราณที่ถูกใช้ในการรักษาโรคอย่าง แพร่หลาย ตํารับตรีผลาประกอบไปด้วยผลของพืชสมุนไพร 3 ชนิด คือ สมอพิเภก สมอไทย และ มะขามป้อม มีการรายงานว่าตํารับตรีผลามีฤทธิ์ทางชีวภาพหลากหลาย เช่น ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ด้าน เบาหวาน และฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในเลือดเป็นต้น วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้คือการทดสอบผล ของสารสกัดชั้นน้ําของตํารับตรีผลา และตรีผลาสูตรดัดแปลงอีก 4 สูตร และอัตราส่วนของพืช สมุนไพร ในสูตรตํารับต่อการยับยั้งเอนไซม์แพนครีเอติกคอเลสเตอรอล เอสเทอเรส ปริมาณฟีนอลิ กรวม ปริมาณกรดแกลลิก และปริมาณแทนนิน ในการทดลองครั้งนี้แต่ละสูตรตํารับจะถูกสกัดสูตรละ 2 ซ้ํา คือ การสกัดครั้งที่ 1 และการสกัดครั้งที่ 2 ผลการทดลองพบว่าตรีผลาสูตรดัดแปลง 2 ซึ่งประกอบ ไปด้วยอัตราส่วนโดยน้ําหนักของสมอพิเภกมากที่สุด มีปริมาณฟีนอลิกรวมสูงที่สุดที่ 514.4 ± 5.1 ไมโครกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อมิลลิกรัมสารสกัด สําหรับการสกัดครั้งที่ 1และ 516.3 ± 22.9 ไมโครกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อมิลลิกรัมสารสกัด สําหรับการสกัดครั้งที่ 2 โดยมีสมอพิเภกเป็น สมุนไพรเดี่ยวที่มีปริมาณฟีนอลิกรวมมากที่สุด วิเคราะห์ปริมาณกรดแกลลิกโดยใช้เทคนิคเดนซิโทเมท ริกโครมาโทกราฟีผิวบาง ด้วยวัฏภาคเคลื่อนที่ที่ประกอบไปด้วย โทลูอีน เอทิลอะซีเตต เมทานอล กรด ฟอร์มิก ในอัตราส่วน 5:31.5:0.5 โดยปริมาตร และตรวจสอบที่ความยาวคลื่น 295 นาโนเมตร พบว่าสารสกัดชั้นน้ําของตรีผลาสูตรดัดแปลงดัดแปลง 5 ซึ่งมีอัตราส่วนของมะขามป้อมมากที่สุด มีปริมาณ เปอร์เซ็นต์กรดแกลลิกมากที่สุดที่ 2.42 ± 0.09 % สําหรับการสกัดครั้งที่ 1 และ 2.45 ± 0.09 % สําหรับ การสกัดครั้งที่ 2 โดยมีสมุนไพรเดี่ยวมะข้ามป้อมมีปริมาณแกลลิกสูงที่สุด ทดสอบปริมาณแทนนินโดย การตกตะกอนด้วยอัลบูมินและใช้เครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ในการตรวจสอบ พบว่าสารสกัดชั้นน้ํา ของตรีผลาสูตรดัดแปลงดัดแปลง 4 มีปริมาณแทนนินสูงที่สุดโดยมีค่าเท่ากับ 83.5 ± 6.9 เปอร์เซ็นต์ สมมูลกรดแทนนิก สําหรับการสกัดครั้งที่ 1 และเท่ากับ 85.3 ± 3.4 เปอร์เซ็นต์สมมูลกรดแทนนิก สําหรับการสกัดครั้งที่ 2 ในขณะที่สารสกัดชั้นน้ําของตรีผลาสูตรดัดแปลง 3 ซึ่งมีอัตราส่วนของสมอ ไทยและมะขามป้อมสูงที่สุด กลับมีปริมาณแทนนินที่ต่ํากว่าสารสกัดชั้นน้ําของตรีผลาสูตรดัดแปลง 4 เอนไซม์แพนครีเอติกคอเลสเตอรอล เอสเทอเรสถูกยับยั้งน้อยกว่า 30 % ด้วยสารสกัดชั้นน้ําของตรีผลา และตรีผลาสูตรดัดแปลงที่ความเข้มข้น 1.0 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร โดยตรีผลาสูตรดัดแปลง 2 มีฤทธิ์ ยับยั้งเอนไซม์ได้สูงที่สุดที่ 21.9 ± 0.5 % สําหรับการสกัดครั้งที่ 1 และตรีผลาสูตร 1 มีฤทธิ์ยับยั้ง เอนไซม์ได้สูงที่สุดที่ 20.7 ± 0.2 % สําหรับการสกัดครั้งที่ 2 กล่าวโดยสรุปสารสกัดชั้นน้ําของตํารับตรี ผลาและตรีผลาสูตรดัดแปลง จัดเป็นตัวยับยั้งเอนไซม์แพนครีเอติกคอเลสเตอรอล เอสเทอเรสที่ไม่ดี มาก ปริมาณแทนนินและการยับยั้งเอนไซม์แพนครีเอติกคอเลสเตอรอล เอสเทอเรสของสูตรตํารับ มีแนวโน้มที่ไม่แน่นอนและไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนของสมุนไพรแต่ละชนิดในสูตรตํารับ ในขณะที่ปริมาณฟีนอลิกรวมและปริมาณกรดแกลลิกมีผลต่ออัตราส่วนของพืชสมุนไพรในสูตรตํารับ อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการเข้าใจถึงกลไกของตรีผลาในการลดปริมาณคอเลสเตอรอลใน เลือด จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต
metadata.dc.description.other-abstract: Hypercholesterolemia is a main cause of coronary artery disease. Cholesterol esterase (CEase) plays an important role in cholesterol absorption by liberating free cholesterol from cholesteryl ester, before transported into enterocytes. Inhibition of CEase is a good alternative mechanism for controlling plasma cholesterol level. Triphala is an ancient Thai medicinal formula that widely used for treatments of illness. It composes of fruits of three medicinal plants including Terminalia bellirica, Terminalia chebula and Phyllanthus emblica. Triphala has been reported many biological activities such as anticancer, antidiabetic properties and blood cholesterol reducing property. The objective of this study is to investigate the effect of aqueous extract of Triphala (T.F.1) and four modified Triphala formulas (MT.F.2 MT.F.5) and herbal plant ratio in formulas on cholesterol esterase inhibition, total phenolic, gallic acid and tannins contents. Each formula is extracted in duplicate called extraction 1 and extraction 2. The results demonstrate that modified Triphala formula 2 (MT.F.2), which contains the highest T. bellirica weight ratio, expresses the highest total phenolic content at 514.4 ± 5.1 and 516.3 ± 22.9 μg GAE/mg plant extract for extraction 1 and extraction 2, respectively, while the T. bellirica gives the highest total phenolic content. Gallic acid is quantified by TLC-densitometry method using toluene-ethyl acetate-methanol-formic acid (5 :3:1.5:0.5 v/v/v/v) as a mobile phase system and detected at 295 nm. MT.F.5 that consist of the highest P. emblica ratio exhibits the maximal gallic acid content at 2.42 ± 0.09 and 2.45 ± 0.09 % for extraction 1 and extraction 2, respectively. For herbal plant, P. emblica expresses the highest gallic acid content. Tannins content is determined by albumin precipitation and used spectrophotometer for detection. The MT.F.4 exhibits the maximal tannins content at 83.5+ 6.9 % tannic acid equivalent for extraction 1 and 85.33.4 % tannic acid equivalent for extraction 2, respectively. Whereas the MT.F.3 that presents the highest T. chebula and P. emblica content shows lower tannins content than MT.F.4. The CEase is inhibited less than 30% by aqueous extract of Triphala and modified Triphala formulas at concentration of 1.0 mg/ml. The MT.F.2 manifested the highest percent inhibitory values of 21.9 ± 0.5 for extraction 1, whereas the T.F.1 indicates highest value at 20.7 ± 0.2 % for extraction 2, respectively. In conclusion, the aqueous extract of Triphala and modified Triphala formulas is considered as less potent inhibitors for inhibition of CEase. Tannin content and CEase inhibition in formulas has unpredicted and is not related to the ratio of each herbal plant. Meanwhile total phenolic content and gallic acid content are markedly affected the herbal plant weight ratio in formulas. However, to understand the mechanism of triphala on blood cholesterol reduction, the future study is further investigated
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2507
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Pha-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PATHAMAPORN PATHOMPAK.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.