Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2578
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การช่วงชิงอำนาจระหว่างจีนและญี่ปุ่นในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง : ผลกระทบต่อการรวมกลุ่มในอนุภูมิภาค
Other Titles: Rivalry of China-Japan in the Mekong Subregion: impact on Subregional Integration
Authors: ณัฏฐ์ธีรตา วิทิตวิญญูชน
Keywords: ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ -- อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง;การลงทุนของจีน -- อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง;จีน -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ -- ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
Issue Date: 2565
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: รายงานการวิจัย เรื่อง การช่วงชิงอำนาจระหว่างจีนและญี่ปุ่นในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง – ผลกระทบต่อการรวมกลุ่มในอนุภูมิภาค เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ มุ่งศึกษาให้ทราบ สาเหตุการช่วงชิงอำนาจระหว่างจีนและญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำโขง พัฒนาการการช่วงชิงอำนาจดังกล่าว และผลกระทบอันอาจจะมีต่อการรวมกลุ่มในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยใช้ สารสนเทศปฐมภูมิ ได้แก่ รายงานข่าว เอกสารราชการ เอกสารจากองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นรูปแบบตีพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ และสารสนเทศทุติยภูมิ ได้แก่ หนังสือ ตำรา วารสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบตีพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ และเสริมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์ได้ทำการสัมภาษณ์ผ่านระบบวีดีโอคอล และอีเมล โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และนักวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาและความร่วมมือในลุ่มแม่น้ำโขง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงกับจีนและญี่ปุ่น รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีนและญี่ปุ่น ทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างชาติในองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute, MI) จำนวน 1 ราย สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจ-องค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (IDE-JETRO) 2 ราย องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations International Development Organization, UNIDO) 1 ราย นักวิจัยอิสระ 1 ราย และอาจารย์/นักวิชาการ 1 ราย ผลจากการวิจัยพบว่า การช่วงชิงอำนาจเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและญี่ปุ่น เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอำนาจในภูมิภาคเอเชีย อันเริ่มจากการที่จีนผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจรวมถึงทางการทหารในเวลาต่อมา ในขณะที่ญี่ปุ่นประสบปัญหาถดถอยทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 อนุภูมิภาคแม่น้ำโขงนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทั้งจีนและญี่ปุ่นในด้านเศรษฐกิจ ข และภูมิรัฐศาสตร์ ดังนั้น อนุภูมิภาคจึงประสบกับการช่วงชิงอำนาจที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้นระหว่างจีนและญี่ปุ่น สำหรับประเทศจีนแล้วการกระชับความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจกับประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของภูมิภาคทางฝั่งตะวันตกของจีนซึ่งค่อนข้างล้าหลังเท่านั้น แต่ยังเป็นบันไดสำคัญให้จีนในการดำเนินโครงการเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 ของจีน ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการที่จีนจะสร้างระเบียบภูมิภาคใหม่ขึ้นในเอเชียหรือแม้แต่นอกเอเชีย ในระยะไม่นานมานี้ พบว่าความสนใจของญี่ปุ่นในอนุภูมิภาคแม่โขงเปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้น อันเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก งานวิจัยชิ้นนี้ได้ศึกษาผลกระทบจากการช่วงชิงอำนาจระหว่างจีนและญี่ปุ่นต่อการรวมตัวในภูมิภาคแม่โขงด้วย และพบว่าแม้การช่วงชิงอำนาจจะก่อให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น แต่ทว่าหากมองไปที่การหลอมรวมนโยบาย การช่วงชิงอำนาจทำให้การรวมตัวในลุ่มแม่น้ำโขงผลักดันโดยผลประโยชน์ทางการเมืองของจีนหรือญี่ปุ่นมากขึ้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการรวมตัวในภูมิภาค
metadata.dc.description.other-abstract: This research report is titled Rivalry of China-Japan in the Mekong Subregion: Impact on Subregional Integration. This is qualitative research aimed at studying the cause of the power struggle between China and Japan which occurred in the Mekong River Basin, development of such strategic competition and potential impacts on integration in the Mekong region. The research uses primary information such as news reports, official documents, documents from relevant organizations in both printed and electronic formats as well as secondary information, such as books, textbooks, journals, and related research in both printed and electronic formats. In-depth interviews will be used as a supplement. The interview was carried out through video calls and e-mail responding. The targeted groups are Thai and foreign experts, academics, and researchers who are specialized in Mekong subregional development and cooperation or in China-Japan relations or Mekong regional affairs. The interview was semi-structured with open questions. The interviewees who agreed to join the interview include those who are affiliated with Mekong Institute (MI), Institute of Developing Economies-Japan External Trade Organization (IDE-JETRO), and United Nations International Development Organization (UNIDO), and a foreign academic and an independent researcher. The research has revealed that strategic rivalry between great powers such as China and Japan started after a change in power structure in Asia, which began with China's rise as an economic and consequently military superpower while Japan has experienced an economic ง recession since the early 1990s. The Mekong Subregion is of great economic and geopolitical importance to both China and Japan, and therefore the subregion has recently experienced an intensifying power struggle between China and Japan. For China, strengthening economic cooperation with the Mekong countries will not only boost the economy of China's comparatively backward west coast region but will also serve as an important step for China to implement China's 21st century Silk Road project, the key to China's creation of a new regional order in Asia and even beyond. Recently, it became overt that Japan's interest in the Mekong Subregion focused more on geopolitical orientation, as part of its Free and Open Indo-Pacific strategy. This research also examines the impact of the Sino-Japanese rivalry on the Mekong integration. It discovered that even though the strategic competition will lead to more investment in infrastructure, it does not lead to policy convergence. Instead, the rivalry resulted in Mekong integration being increasingly driven by China’s or Japan’s political interests, which does not bode well for subregional integration
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2578
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:IDIS-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NUTTHATHIRATAA WITHITWINYUCHON.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.