Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2587
Title: การวิพากษ์แนวคิดวามเป็นธรรมในกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการชราภาพ : กรณีศึกษา บำนาญชราภาพในกองทุนประกันสังคมและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
Other Titles: The critical of the concept of justice in the law on oldage welfare a case study: old age pensions in the social security fund and the government pension fund
Authors: มงคล เทียนประเทืองชัย
Keywords: กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ;ข้าราชการ -- บำเหน็จบำนาญ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ;บำเหน็จบำนาญ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย;ประกันสังคม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
Issue Date: 2565
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเรื่อง การวิพากษ์แนวคิดวามเป็นธรรมในกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการชราภาพ : กรณีศึกษา บำนาญชราภาพในกองทุนประกันสังคมและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฉบับนี้มี วัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อค้นหาแนวคิดและพัฒนาการในบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับกองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ และกฎหมายที่เกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ ของกองทุน ประกันสังคม 2. เพื่อทำการวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ บำเหน็จบำนาญชราภาพของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และบทบัญญัติของกฎหมายที่ เกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ ของกองทุนประกันสังคม 3. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้หน่วยงานของรัฐได้ใช้ในการปรับปรุงแก้ไขหรือสร้างกฎหมายให้ มีการจัดสวัสดิการบำเหน็จบำนาญชราภาพ ในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกฎหมาย เกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ ในกองทุนประกันสังคม ให้เกิดความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น โดยวิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เชิงพรรณนาหรือเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยมีขอบเขตอยู่ที่การวิเคราะห์บทบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่และจำนวนเงิน บำนาญชราภาพ ในพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 (รวมถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ต่างๆ ด้วย) พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 (รวมถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ต่างๆ ด้วย) และพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 (รวมถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติมต่างๆ ด้วย) จากการศึกษาพบว่า 1. แนวคิดและพัฒนาการของแนวคิดที่แฝงอยู่เบื้องหลังบทบัญญัติทั้งหลายของ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ พ.ศ.2539 และพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 (รวมถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ทั้งหมดของทั้งสามฉบับนี้ด้วย) นั้น มีความแตกต่างกันทั้งด้านสิทธิ หน้าที่ และจำนวนเงินบำนาญ ชราภาพ กล่าวคือ ตามมาตรา 6 ถึงมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 รวมไปถึงมาตรา 5 มาตรา 42 มาตรา 43 และมาตรา 45 ถึงมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 แม้ต่อมาจะมีมาตรา 39 ประกอบด้วยมาตรา 6 มาตรา 35 และมาตรา 36 กำหนดให้ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับบำนาญชราภาพ ต้องมีหน้าที่ส่งเงินสะสมเข้า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย ก็เป็นเพียงการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนที่เป็นการออมทรัพย์ หรือเพื่อรับประโยชน์อื่นเพิ่มเติมจากกองทุนเท่านั้น จึงจัดเป็นแนวคิดแบบสิทธินำหน้าที่หรือสิทธิ คู่กับหน้าที่ที่เป็นอิทธิพลบ้างส่วนของแนวคิดแบบระบบอุปถัมภ์ (ที่อคติแทรกได้ง่าย) และแนวคิด แบบจารีตประเพณีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (บ้างส่วนคล้ายแนวคิดแบบ Legal Historicism) ที่สอดคล้องกับแนวคิดความเป็นธรรมยุคแรกหรือยุคโบราณที่เน้นคุณสมมติในตัว บุคคลแต่ละคน ที่เน้นต้องมีความชอบจากหน้าที่การงาน สำหรับสิทธิในบำนาญชราภาพ ในขณะที่ มาตรา 42 มาตรา 46 และมาตรา 54 (6) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 (รวมถึง บทบัญญัติในฉบับแก้ไขต่างๆ ด้วย) กลับไปผูกโยงสิทธิให้เป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ ตามมาตรา 77 และมาตรา 77 ทวิ วรรคแรก คือถ้าทำหน้าที่ครบเงื่อนไขตามมาตรา 76 ถึงจะมีสิทธิได้รับบำนาญ ชราภาพ เพราะกองทุนประกันสังคมนั้นรายได้หลักมาจากผู้ประกันตน (ทั้งมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40) จึงจัดเป็นแนวคิดแบบหน้าที่นำสิทธิ หรือสิทธิผูกโยงจากหน้าที่ เป็นอิทธิพล บางส่วนของแนวคิดในระบบคุณธรรม ที่เน้นหลักการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขอย่างเท่าเทียมกัน (บางส่วนคล้ายแนวคิดแบบ Legal Naturalism, Legal Positivism และ Legal Realism) ที่สอดคล้อง กับแนวคิดความเป็นธรรมเชิงระบบในยุคสมัยใหม่ (ขึ้นอยู่ที่แต่ละประเทศจะเลือกระบบใด คือ เสรี นิยมประชาธิปไตย สังคมนิยม หรือระบบผสม เป็นต้น ที่ทำให้ความเป็นธรรมแตกต่างกันไป) ใน ภาพรวมเป็นแนวคิดแบบให้พึ่งพาตนเองได้ตามความสามารถ โดยแนวคิดสิทธิและหน้าที่ที่ต่างกันนี้ ประกอบเข้ากับเกณฑ์คำนวณในมาตรา 31 มาตรา 32 และมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2494 (รวมฉบับแก้ไขต่างๆ ด้วย) และ ในมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชากร พ.ศ. 2539 (รวมฉบับแก้ไข ต่างๆ ด้วย) ที่เน้นหลักการเงินเดือนสุดท้ายเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ และหลักการคำนวณที่ใช้อัตรา เงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ หารด้วยห้าสิบ เป็นเกณฑ์นั้น แฝงไว้ด้วย แนวคิดแบบสัจธรรมแห่งชีวิต (แก่นหรือสาระที่แท้จริงแห่งชีวิต : เกิด แก่ เจ็บ ตาย) ที่จำเป็นต้องมี ปัจจัยสี่ที่เหมาะสม (ทั้งขณะส่งเงินสะสมและขณะจ่ายบำนาญชราภาพ) ในขณะที่ในมาตรา 77 (ประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ ของกองทุนประกันสังคม) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับต่างๆ ที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ อัตราการจ่ายประโยชน์ ทดแทนในกรณีชราภาพ ไม่ได้เน้นเกณฑ์เงินเดือนเดือนสุดท้าย และการใช้อัตราระยะเวลา และ เงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย (คือคิดจากฐานเงินเดือนที่ใช้คำนวณในการเก็บเงินสมทบเข้า กองทุน มิใช่เงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ผู้ประกันตนได้รับจริงๆ จากนายจ้าง) ส่วนในมาตรา 39 วรรค สอง ที่แก้ไขโดยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 ก็เป็นการเน้น จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนต้องส่งเข้ากองทุนตามมาตรา 46 วรรคสอง ที่ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาวะ ทางเศรษฐกิจในขณะนั้นๆ (ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับการจ่ายบำนาญชราภาพที่เหมาะสมต่อสภาวะ ทางเศรษฐกิจ) เมื่อพิจารณาต่อไปถึงพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 และ พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 โดยตลอดแล้วก็ยังไม่พบ หลักการที่เน้นการ จ่ายบำนาญชราภาพนั้นต้องเหมาะสมแต่สภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนั้นๆ หรือต้องเหมาะสมต่อค่า ครองชีพในแต่ละยุคสมัย 2. สภาพปัญหาของบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการบำเหน็จบำนาญ ชราภาพของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับประโยชน์ ทดแทนกรณีชราภาพของกองทุนประกันสังคมที่มาเป็นอยู่อย่างในปัจจุบันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก แนวคิด ทฤษฎีจากอดีต (ตามที่กล่าวไว้ในวัตถุประสงค์ประการแรกข้างต้น) ยังแฝงไว้ด้วยแนวคิด ความไม่เป็นธรรม ทั้งด้านสิทธิ หน้าที่ และจำนวนเงินบำนาญชราภาพอยู่มาก เมื่อใช้เกณฑ์ตัดสิน ความเป็นธรรมของสรรพสิ่งแบบเท่าเทียมกันหรือเสมอภาคกัน หรือแม้จะใช้เกณฑ์ตัดสินแบบ ความแตกต่างอย่างเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ด้านความสามารถ ด้านความจำเป็น ด้านสิทธิหน้าที่ และด้านความต้องการหรือความปรารถนา เป็นต้น ยังมองไม่ลึกซึ้งถึง “แก่น” หรือ “สาระ” ที่ แท้จริงแห่งชีวิต (ในกรณีนี้ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่เป็นกฎสากล มนุษย์ทุกคนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน ต้องการปัจจัยสี่เหมือนกัน) การมองตื้นๆ เพียงแค่ความจริงที่ประเภทอาชีพ หรือแค่ความสามารถ ของงบประมาณแล้วใช้แนวคิด ทฤษฎีในการบัญญัติกฎหมายด้านนี้ ส่วนใหญ่จึงยังพบว่า การ แสวงหาเหตุผลเพื่อมาอธิบายให้ยอมรับร่วมกันต่อความเป็นธรรมได้ยาก 3. (วัตถุประสงค์ประการสุดท้ายหรือแนวทางแก้ไข) ถ้าจะให้เกิดความเป็นธรรมมาก ยิ่งขึ้น ผู้วิจัยเห็นควรคำนึงถึงแนวคิดเรื่องความเป็นธรรมเชิงระบบให้มากขึ้น เช่น แนวคิดความ ยุติธรรมทางสังคมของจอห์น รอลส์ (ที่อาจถือว่าเกิดมาเพื่อแก้ไขความเป็นธรรมในระบบ Liberalism และ Socialism ได้ดีในระดับหนึ่งในขณะนี้) หลักการข้อ 1 ต้องเท่าเทียมกันหรือเสมอ ภาคกันในสิทธิเสรีภาพพื้นฐานอย่างกว้างมากที่สุดเท่าที่จะมีได้ (สิทธิในชีวิต เช่น ในการสืบเนื่อง แห่งชีวิต จึงน่าจะเป็นสิทธิพื้นฐานอย่างกว้างดังกรณีนี้) และหลักการข้อ 2 แต่ถ้าจำเป็นต้องไม่เท่า เทียมกัน ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ที่เสียเปรียบมากที่สุดในสังคม (ในยามชราทั้งผู้ประกันตน และข้าราชการต่างก็ต้องการปัจจันสี่เหมือนกัน) หรือตามแนวคิดความเป็นธรรมทางสังคมแบบ พุทธปรัชญาเถรวาท (ที่อาจจัดเป็นได้ทั้ง Liberalism และ Socialism ขึ้นอยู่กับทัศนะของแต่ละคน) ความถูกต้องชอบธรรมของสรรพสิ่ง หรือ “แก่น” หรือ “สาระ” สำคัญที่แท้จริงของสรรพสิ่งอาจ แตกต่างกันไปในแต่ละกรณี แต่สำหรับกรณีการจ่ายบำนาญชราภาพนี้ ประเภทอาชีพในอดีต หรือ เงินงบประมาณของแผ่นดิน เป็นสาระสำคัญเบื้องต้นเท่านั้น แต่ “แก่น” หรือ “สาระ” สำคัญที่ แท้จริงแห่งชีวิต คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่มีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน (ความเป็นธรรมตามธรรมชาติ) จึงควร ใช้แนวคิดแบบทางสายกลาง ปราศจากอคติ และหลักธรรมาธิปไตย เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าแนวคิดเหล่านี้ พอจะประยุกต์ใช้กับกฎหมายเกี่ยวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชาการ และกฎหมายกองทุน ประกันสังคม ในเรื่องบำนาญชราภาพให้มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น คือ ขั้นต่ำสุดทุกคนควรมีบำนาญ ชราภาพที่เหมาะสมต่อสภาวะทางเศรษฐกิจ ส่วนขั้นสูงก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและความสามารถ ของฝ่ายต่างๆ ในแต่ละสังคม
metadata.dc.description.other-abstract: This Research “The Critical of the Concept of Justice in the Law on Old-Age Welfare: A Case Study Old-Age Pensions in the Social Security Fund and The Government Pension Fund” has three objectives. The first one is to search for concepts and developments in the provisions of the law relating to the Government Pension Fund. And the law relating to Old-Age Compensation benefits of the Social Security Fund. The second one is to analyze and Critical the provisions of the law relating to the provision of Old-Age pension benefits in the Government Pension Fund and the provisions of the law relating to Old-Age Compensation benefits in the Social Security Fund. The third one is to be a source of information for government agencies to use in improving, amending or creating a law for the provision of Old-Age pension benefits in the Government Pension Fund and the law on Old-Age Compensation benefits in the social security fund to be Justices. By Documentary research method. From the study, it is found that: 1. The concept and development of the concept underlying the provisions of the Government Pension Act B.E. 2494, the Government Pension Fund Act, B.E. 2539 and the Social Security Act B.E. 2533 (including all amendments to These three issues as well) are different in terms of rights, duties and the amount of the old age pension. According to Section 6 to Section 18 of the Government Pension Act B.E. 2494, including Section 5, Section 42, Section 43 and Section 45 to Section 61 of the Government Pension Fund Act B.E. 2539. They must have a duty to send contributions to the Government Pension Fund as well, it is only to send contributions to savings funds or to receive other benefits from the fund only. Therefore, it is classified as a concept of prerogative rights or rights with duties. They are the influence some of the concepts of the patronage system (that the bias is easily inserted). That’s the emphasizes that there must be a preference from the job. For the right to old age pension. While, It’s the Section 42, Section 46 and Section 54 (6) of the Social Security Act B.E. 2533 (including provisions in various amendments) back to bind rights as part of duties under Section 77 and Section 77 bis. The first paragraph is that if the duty fulfills the conditions under section 76 to be entitled to receive the old age pension. Because the social security fund's main income comes from the insured (both section 33, section 39 and section 40). It is the classified as a concept that brings rights or rights linked from duties. It is a partial influence of the concept of the moral system. which emphasizes the principle of equal distribution of suffering in both socialism and democracy. It is a self-reliant concept based on your abilities. There are three different of concepts: The Concept of Rights, Duties and the Calculation criteria in Section 31, Section 32 and Section 33 of the Pension Act B.E. 2494 (including any amendments) and in Section 63 of the Government Pension Fund Act B.E. 2539 various). Emphasizing the final salary principle as the calculation basis. And the calculation principle used the average salary rate for the last sixty months multiplied by the working time. Divided by fifty is that criterion hidden by the Concept of Truth of life (The Truth or Essence of Life: Birth, Old-Age, Sickness and Death) that requires the four factors to be appropriate. (Both while sending contributions and while paying Old-Age pension). While they are in Section 77 (Old-Age Compensation benefits of the Social Security Fund) of the Social Security Act B.E. 2533, together with various ministerial regulations Regarding the rules, methods, rates of compensation benefits in old age did not focus on the last month's salary criteria and the use of period rates and average salary for the last sixty months (It is calculated from the salary base used to calculate the contribution to the fund. Not the last month's salary that the insured actually receives from the employer). As for the second paragraph of Section 39, amended by Section 12 of the Social Security Act (No. 2), B.E. 2537 Calculate the contributions that the insurer must remit to the fund under Section 46, paragraph two, which shall be in accordance with the rates prescribed in the Ministerial Regulations, taking into account the appropriateness of the economic situation at that time (Which is a different issue with paying old age pension that is suitable for economic conditions). When we are considering the Social Security Act (No. 3) B.E. 2542 and the Social Security Act (No. 4) B.E. 2558 by all the time still not found Principles that emphasize the payment of Old-Age pension must be appropriate to the economic situation at that time. or must be suitable for the cost of living in each era. 2. The Provisions of the law relating to the provision of Old-Age pension benefits of the Government Pension Fund and the provisions of the law relating to Old-Age benefits of the Social Security Fund (As mentioned in the first objective above) are also concealed by the Concept of unfairness. Both in terms of rights, duties and the amount of the old age pension are very high. When we are using the criteria to judge the Justice of things as equal or equal or even using different judging criteria appropriately in various areas, such as: ability Necessity rights and duties and needs or desires, etc. Most of them still find that It's difficult to find a reason to explain the mutual acceptance of justice. 3. (Last objective or Solutions) If we want to be more fairness. We should to the concept of systemic justice is important, such as the Concept of Social Justice by John Rawls (First: each person is to have an equal right to the most extensive scheme of equal basic liberties compatible with a similar scheme of liberties for others. Second: social and economic inequalities are to be arranged so that they are both (a) reasonably expected to be to everyone’s advantage, and (b) attached to positions and offices open to all). Or according to the concept of social justice in Theravada Buddhist philosophy, they are the overview emphasizes the righteousness of things (The Truth or Essence of Life: Birth, Old-Age, Sickness and Death), including the middle way without prejudice and the principles of Dharma, etc., Which we are believe that these concepts Enough to apply to the law on the government pension fund and the Social Security Fund Act In regards to the Old-Age pension to be more fair. At the very least everyone should have an Old-Age pension suitable for economic conditions. As for the advanced level, it depends on the needs and abilities of different parties in each society
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2587
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Law-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
MONGKOL THIANPRATHUANGCHA.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.