Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2588
Title: | รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องความเป็นไปได้และแนวทางการป้องกันอาชญากรรมโดยการใช้เทคโนโลยี : ศึกษากรณีการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทย |
Authors: | กฤษฎา แสงเจริญทรัพย์ |
Keywords: | การป้องกันอาชญากรรม -- ไทย;การทุจริตและประพฤติมิชอบ -- การป้องกัน;การทุจริตและประพฤติมิชอบ -- การป้องกันและควบคุม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงความเป็นไปได้รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย ตลอดจนการเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยในกรณีที่จะมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ปัญหาการทุจริต โดยในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาเลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัยในเชิงคุณภาพโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร และการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีแนวโน้มสูงในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้นโดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในระดับประชาชนทั่วไป และในระดับประเทศ นอกจากนี้ยังพบปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ 1) ความไม่ทันสมัยของกฎหมายโดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี 2) การทำงานที่ยังไม่บูรณาการกันในระหว่างหน่วยงานด้านการป้องกันหรือปราบปรามการทุจริต และ 3) การขาดความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงทัศนคติในด้านลบของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สำหรับแนวทางที่เหมาะสมกับประเทศไทยในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ปัญหาการทุจริต ได้แก่ 1) การสร้างการมีส่วนร่วมให้แก่ภาคประชาชนในการตรวจสอบการทุจริต 2) การให้ความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีแก่เจ้าหน้าที่ตลอดจนประชาชนให้มีความเหมาะสม 3) การออกแบบระบบเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการตรวจสอบการทุจริตเพื่อให้ยากต่อการถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือจากการถูกเจาะระบบ และ 4) การมีแนวทางที่เหมาะสมรวมถึงมีความโปร่งใสในการกำกับดูแลรวมถึงบำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการป้องกันการทุจริตต่อไป |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objective of this study is to study the possibilities, problems, and obstacles of using technology to prevent corruption in Thailand. As well as suggesting guidelines appropriate to the Thai context in cases where technology will be used to solve corruption problems. In this study, the researcher chose to use qualitative research methods by collecting document data and using in-depth interviews as an important tool for data collection. The results of the study found that Thailand has a high tendency to use technology to prevent and solve corruption problems that occur, which can be divided into two levels: using technology at the general public level and at the national level. In addition, important problems and obstacles were found, including: 1) the lack of up-to-date laws, especially changes in technology; 2) work that is not yet integrated among agencies in the area of preventing or suppressing corruption; and 3) the lack of knowledge, understanding, and negative attitude of the officials involved. As for the guidelines that are appropriate for Thailand in using technology to solve corruption problems, they include: 1) creating participation for the public sector in investigating corruption. 2) Providing knowledge about technology to officials as well as the public as appropriate. 3) Design the technology system that will be used to detect corruption so that it is difficult to alter or be hacked; and 4) have appropriate guidelines and transparency in supervising and maintaining the technology system that will be used to prevent corruption in the future |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2588 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Law-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KRITSADA SAENGCHAROENSAP.pdf | 788.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.