Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2676
Title: | การออกแบบแอนิเมชัน 3 มิติด้วยหลักสัญศาสตร์ เพื่อถ่ายทอดระยะก้าวผ่านความสูญเสีย |
Other Titles: | The 3D animated design based on semiotic to transmit the stages of grief |
Authors: | ชลารัตน์ บัวจินดาชัย |
metadata.dc.contributor.advisor: | วรรณพร ชูจิตารมย์ |
Keywords: | ภาพยนตร์สามมิติ -- การออกแบบ -- วิจัย;สัญศาสตร์;ความสูญเสีย (จิตวิทยา);การสร้างภาพเคลื่อนไหวในคอมพิวเตอร์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาออกแบบสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ และนําหลักสัญศาสตร์ มาช่วยในการสร้างเรื่องราว และความหมายแฝง โดยไม่มีบทพูด เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย และ ลดข้อจํากัดด้านภาษา มานําเสนอเรื่องราวระยะก้าวผ่านความสูญเสีย อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ สภาวะอารมณ์ที่สับสนและเปลี่ยนแปลงในผู้ที่สูญเสียหรือผู้ที่เผชิญกับความผิดหวัง ซึ่งการเผชิญ กับความสูญเสียและความผิดหวังนั้นเป็นจุดร่วมที่มนุษย์ทุกคนต้องประสบ โดยเนื้อเรื่องของ แอนิเมชันเล่าถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่พยายามทําให้ต้นไม้ต้นหนึ่งที่เปลี่ยนสีเป็นสีขาว กลับมามีสีสัน สดใสดังเดิม โดยใช้เทคนิคเคลย์เชดเดอร์ (พื้นผิวเลียนแบบดินนํ้ามัน) มาช่วยในการเพิ่มความ น่าสนใจให้แก่แอนิเมชัน จากผลการสอบถามความคิดเห็นต่อแอนิเมชัน 3 มิติเรื่อง Coloring โดยบุคคลทั่วไปที่สนใจ งานแอนิเมชันจํานวน 50 คน พบว่า ผู้ชมเข้าใจเนื้อเรื่องโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี สามารถเข้าใจสิ่ง ที่ต้องการสื่อสารผ่านการใช้สัญญะได้ ความเห็นต่อการออกแบบ ตัวละคร ฉากและอุปกรณ์ ประกอบฉาก รวมทั้งการใช้เทคนิคเคลย์เชดเดอร์มีความสวยงาม เหมาะสมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก สามารถนําไปพัฒนาบทและดําเนินเนื้อเรื่องให้ผู้ชมเข้าใจและมีอารมณ์ร่วมกับตัวละครหลักมากขึ้น เพื่อให้กําลังใจผู้ที่กําลังอยู่ในระยะก้าวผ่านความสูญเสียได้ |
metadata.dc.description.other-abstract: | This research aimed to design a 3D animation entitled, “Coloring”, using semiotics in creating a story and meaning without the help of verbal language to make it easily accessible and reduce language barriers. The theme of the animation is loss or disappointment resulting in mental and emotional change. Loss is unavoidable, and every single person must encounter it. The animation tells a story of a woman who tries to turn a white tree into a colorful tree as it used to be. The animation employed clay shading to make the story more attractive. The result of a survey of fifty audiences’ opinion toward the animation, it was found that the animation story was understandable at a good level, communicating intended meaning and message effectively using semiotics. Their opinion toward the design of characters, scenes, and props as well as clay shading techniques was at a very good level. In conclusion, the storytelling techniques allowed the audiences to better understand the story and feel connected to the characters. Watching the animation could allow the audience understand those suffering from loss. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศล.ม. (คอมพิวเตอร์อาร์ต)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2566 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศิลปมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | คอมพิวเตอร์อาร์ต |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2676 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | DIA- ComArt-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
CHALARAT BUAJINDACHA.pdf | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.