Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2698
Title: | การพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้างพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพในประเทศไทย |
Other Titles: | A development of structural equation model for usage behavior of health technology and innovation products in Thailand |
Authors: | ภัควรรณร์ เชาว์ดีธิรัชกุล |
metadata.dc.contributor.advisor: | สุมามาลย์ ปานคำ |
Keywords: | แบบจำลองสมการโครงสร้าง.;ผลิตภัณฑ์ -- นวัตกรรมทางเทคโนโลยี.;การส่งเสริมสุขภาพ -- ไทย |
Issue Date: | 2567 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | นโยบายไทยแลนด์ 4.0 และแผนยุทธศาสตร์ชาติให้ความสำคัญต่อการใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค ยกระดับ คุณภาพชีวิตโดยรวม ผลที่ตามมาคือมีตัวเลือกมากขึ้นและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสุขภาพส่วน บุคคล นำไปสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นพฤติกรรมของผู้บริโภคจึงมี บทบาทสำคัญในการเลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้างพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพในประเทศไทยโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน เชิงคุณภาพได้ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน และวิเคราะห์ฉันทามติโดยใช้เทคนิครัฟเซตเดลฟายแบบอิเล็กทรอนิกส์ เชิงปริมาณใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากผู้ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพจำนวน 800 คน ข้อมูลที่รวบรวมได้รับการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและแบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี และได้ค้นพบพฤติกรรมการใช้งานของผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพในประเทศไทย ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบคือ ความเชื่อด้านสุขภาพ ความสะดวกในการใช้งาน ความน่าเชื่อถือ นวัตกรรมผู้บริโภค การรับรู้ประโยชน์ ทัศนคติการใช้ ความตั้งใจใช้งาน และพฤติกรรมยอมรับ การใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบที่สาคัญที่สุด คือความตั้งใจใช้งาน นวัตกรรมผู้บริโภค ทัศนคติ การใช้งาน ความน่าเชื่อถือ และความเชื่อด้านสุขภาพมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมยอมรับการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อสุขภาพตามลำ ดับ ดังนั้นผู้ประกอบการควรสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เสมอ และสร้างความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพ โดยส่งเสริมให้ผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง |
metadata.dc.description.other-abstract: | The Thailand 4.0 policy and national strategic plan underscore the vital role of technology and innovation in promoting healthcare, aiming to boost efficiency, prevent diseases, and elevate overall quality of life. This emphasis has not only expanded choices but has also raised awareness of personal health, leading to an anticipated increase in the use of health- related technology and innovation. Consequently, consumer behavior becomes a decisive factor in the selection of health technologies and innovations. This research aims to construct a structural equation model which explicates the utilization of health technology and innovations by individuals in Thailand. The study employs a mixed methods research approach. The qualitative phase involved insights from 21 experts, analyzed through rough set theory and the e-Delphi technique. In the quantitative phase, online questionnaires were administered to 800 previous users of health technology. Collected data underwent analysis using descriptive and inferential statistics, incorporating confirmatory factor analysis and structural equation modeling. The results indicate that the developed model aligns effectively with empirical data, shedding light on the usage behavior of health technology products and innovations in Thailand. The model comprises eight components: health beliefs, ease of use, perceived credibility, consumer innovation, perceived usefulness, attitude towards use, adoption intention, and actual adoption of technology and innovation. Notably, adoption intention, consumer innovation, attitude towards use, and health beliefs emerge as the most influential elements, impacting the acceptance behavior of technology and innovation products for health. Entrepreneurs are therefore encouraged to consistently introduce innovative products and establish credibility for health-beneficial products, fostering continuous consumer use of health-related offerings. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (เทคโนโลยีสื่อสังคม)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2566 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | เทคโนโลยีสื่อสังคม |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2698 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | ICT-SMT-D-Thesit |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PAKKAWAAN CHAODEETHIRATHKUL.pdf | 4.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.