Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2755
Title: ผลกระทบของสารลดน้ำอย่างมากที่มีผลต่อการไหลแผ่กำลังอัด และกำลังดึงของมอร์ต้าร์
Other Titles: Effect of superplasticizer on flow, ompressive strength and tensile strength of mortars
Authors: ณัฐวัตร ตันติกุลวิจิตร
metadata.dc.contributor.advisor: วินัย อวยพรประเสริฐ
Keywords: มอร์ต้าร์ -- สารผสม -- วิจัย;มอร์ต้าร์ -- การทดสอบ;กำลังอัด;คอนกรีต -- การลดน้ำ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของสารลดน้ำ อย่างมาก 3 ประเภท ได้แก่ โพลีคาร์บอกซิลิก แนฟทาลีนซัลโฟเนต และเมลามีนซัลโฟเนต ที่มีผลต่อการไหลแผ่กำลังอัด และกำลังดึงของมอร์ต้าร์ โดยใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และประเภทที่ 3 จานวน 3 ตราได้แก่ ตรา A ตรา B และตรา C มีปริมาณสารลดน้ำ อย่างมาก ในช่วง 0 – 1.6 %, 0 – 2.1 % และ 0 –3.6 % ของน้ำหนักปูนซีเมนต์ ตามลำดับ โดยมีค่าแนะนา ในช่วง 0.4 – 1.5 %, 0.8 – 2.0 % และ 0.7 –3.5 % ตามลำดับ มอร์ต้าร์หล่อตามมาตรฐาน ASTM C109 โดยมีอัตราส่วนน้า ต่อซีเมนต์เท่ากับ 0.485 อัตราส่วนปูนซีเมนต์ต่อทรายเท่ากับ 1 ต่อ 2.75 และโมดูลัสความละเอียดของทรายเท่ากับ2.55 ตัวอย่างสำหรับการทดสอบกาลังอัดเป็นรูปลูกบาศก์ ขนาด 555 ซม. และตัวอย่างสำหรับการทดสอบกำลังดึง มีขนาด 7.5x4.5x2.5 ซม. โดยทดสอบที่อายุ 7 วัน 14 วัน และ 28 วัน สำหรับปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 และ 1 วัน 3 วัน และ 7 วัน สำหรับปูนซีเมนต์ประเภทที่ 3 จากผลการศึกษาพบว่า สารลดน้ำอย่างมาก เริ่มแยกตัวจากเนื้อมอร์ต้าร์เมื่อมีปริมาณ 0.8 %, 1.4 % และ 2.1 % ตามลำดับ โดยทำให้การไหลแผ่ มีค่าเพิ่มขึ้น จนถึงปริมาณสารลดน้ำอย่างมากที่ 1.2 %, 1.9 % และ 3.0 % ตามลำดับ สารลดน้ำเกิดการแยกตัวจากมอร์ต้าร์อย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ การไหลแผ่ของมอร์ต้าร์จะมีค่าลดลง เนื่องจากมอร์ต้าร์จะเริ่มแห้งมากขึ้น ดังนั้น กำลังอัดและกำลังดึง มีแนวโน้มไม่แน่นอน ภายในช่วงสารลดน้ำอย่างมากที่แนะนำการไหลแผ่ของมอร์ต้าร์ที่ใช้ปูนซีเมนต์ตรา B มีแนวโน้มมีค่าสูงกว่าการไหลแผ่ของมอร์ต้าร์ที่ใช้ปูนซีเมนต์ตรา A และ C ที่สมนัยกัน
metadata.dc.description.other-abstract: The objective of this research was to study the effects of 3 types of superplasticizer, i.e. Polycarboxylic acid, Naphthalene sulfonate and Melamine sulfonate, on the flow, the compressive strength and the tensile strength of mortars. Portland cement of type 1 and of type 3 were considered. Three brands of Portland cement were used i.e. A, B and C. The doses of superplasticizer were in the range of 0 – 1.6%, 0 – 2.1% and 0 – 3.6% by weight of cement, respectively. The doses recommended by the manufacturers were in the range of 0.4 – 1.5%, 0.8 –2.0% and 0.7 – 3.5%, respectively. Mortars were cast with respect to ASTM C109. The water to cement ratio was 0.485. The cement to sand ratio was 1:2.75. The fineness modulus of sand was 2.55. The specimens for the compression test were cubes of the size 5x5x5cm and those for the tensile test were of size7.5x4.5x2.5cm. These specimens were tested at the ages of 7 day, 14 days and 28 days for the cement of Type 1 and at the ages of 7 days, 14 days and 28 days for cement of type 3. Results from the study showed that superplasticizer tended to segregated from mortars at the dose of 0.8%, 1.4%, and 2.1%, respectively, while the flow was still increasing. From the doses of superplasticizer at 1.2%, 1.9%, and 3.0% upward, respectively, the segregation could be clearly observed resulting in the significantly decreasing in flow of mortars. Therefore the values of the compressive strength and the tensile strength were uncertain. Within the range of recommended doses of superplasticizer, the flow of mortars with cement Brand B tended to be higher than that of the corresponding mortars with cement Brand A and Brand C.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. (วิศวกรรมโยธา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2566
metadata.dc.description.degree-name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2755
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Eng-CE-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NATTHAWAT TANTIKUNWIJIT.pdf6.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.