Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2756
Title: การควบคุมการตอกเสาเข็มในชั้นดินกรุงเทพโดยคำนึงถึงการเพิ่มขึ้นของกำลังของเสาเข็มตามเวลา
Other Titles: Control of pile driving in the Bangkok soil strata with consideration of pile set-up
Authors: อสมาภรณ์ ทองลี้
metadata.dc.contributor.advisor: พิสิทธิ์ ขันติวัฒนะกุล
Keywords: เสาเข็มคอนกรีต;ชั้นดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ;เสาเข็ม -- การทดสอบ -- การก่อสร้าง;เสาเข็ม -- กรุงเทพฯ -- การทดสอบ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงแนวทางการประมาณกำลังของเสาเข็มที่ 14 วันจากผล การทดสอบกำลังของเสาเข็มหลังการตอกแล้วใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมการตอก เสาเข็มให้ได้กำลังระยะยาวที่ต้องการโดยไม่ต้องรอทิ้งระยะเวลา 7-14 วันก่อนทดสอบเสาเข็ม การศึกษายังรวมถึงการวิเคราะห์หาสมการความสัมพันธ์ระหว่างกำลังของเสาเข็มกับเวลา ใน การศึกษานี้ใช้การทดสอบกำลังแบบพลศาสตร์ของเสาเข็ม (Dynamic pile load test)ของเสาเข็ม คอนกรีตอัดแรงที่เวลาต่างๆ รวมถึง ที่เวลาสิ้นสุดการตอกเสาเข็ม (End of driving, EOD), 1 นาที, 10 นาที, 2 ชั่วโมง, 1 วัน และ 14 วันหลังการทดสอบ เป็นเครื่องมือโดยเสาเข็มที่ทดสอบเป็นเสาเข็มรูปตัวไอ ขนาด 0.22 เมตร มีจำนวนทั้งสิ้น 49 ต้น มีความยาวในช่วง 11-25 เมตร เสาเข็มทุกต้นตอก ทะลุชั้นดินเหนียวอ่อน และนั่งบนชั้นดินเหนียวแข็ง 33 ต้น โดยมีเสาเข็ม 16 ต้น ตอกทะลุชั้นดิน เหนียวแข็งและนั่งอยู่บนชั้นทราย พื้นที่ศึกษาครอบคลุมกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยแบ่ง พื้นที่ศึกษาเป็นสามโซนประกอบด้วยโซนเหนือ โซนตะวันออกเฉียงใต้ และโซนตะวันตกเฉียงใต้ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเวลาผ่านไป 14 วัน กำลังของเสาเข็มเพิ่มสูงขึ้นกว่ากำลังที่ 1 นาทีในช่วง 1.5 -5.4 เท่าตัว โดยขนาดของการเพิ่มขึ้นของกำลังตามเวลาจะน้อยลงเมื่อกำลังต่อ ความยาวเสาเข็มที่ 1 นาทีมีค่าสูงขึ้น กราฟระหว่างกำลังของเสาเข็มกับลอกการิทมิกของเวลามี ลักษณะเป็นโค้งหงาย ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้สมการสาหรับคำนวณกำลังของเสาเข็มที่เวลาต่างๆ และสมการสำหรับประมาณเสาเข็มที่ 14 วันจากผลการทดสอบเสาเข็มที่ 10 นาที, 120 นาที และ1วัน หลังจากตอกเสาเข็ม ได้ถูกนำเสนอโดยสมการข้างต้นสามารถใช้ได้กับดินทั้งสามโซนที่ของ กรุงเทพ และสามารถใช้กับเสาเข็มที่มีปลายอยู่ในชั้นดินเหนียวและชั้นทราย
metadata.dc.description.other-abstract: This thesis is a study of the method for estimating the capacity of piles at 14 days from the pile load test results shortly after driving. The aim is to provide a useful tool for controlling pile driving operations, enabling the achievement of the required long-term capacity without the need to wait for 7–14 days before conducting the pile test. Dynamic load tests were used in the study to measure pile capacities at the end of initial driving (EOD) as well as 1 minute, 10 minutes, 120 minutes, 1 day, and 14 days after driving. In this study, forty-nine I-shaped pre-stressed concrete piles with a width of 0.22 m and lengths varying from 11 to 25 m were employed. All of the piles were driven through the soft clay layer and embedded in the stiff clay layer, with some piles passing through the stiff clay layer and sitting on the medium dense sand layer. The study area covers Bangkok and its surroundings. The study area was divided into three zones, consisting of the north zone, southeast zone, and southwest zone. The results of this study showed that after 14 days, the pile capacity was 1.5–5.4 times higher than that at 1 minute. The magnitude of the increase in pile capacity over time decreased with the increasing pile capacity per linear meter at 1 min. The graphs between the pile strength and the logarithmic time were concave upward. In this thesis, equations were developed for calculating pile capacity at various times. The equations to estimate pile capacity at 14 days from the pile capacity tested at 10 min, 120 min, and 1 day after pile driving were also proposed. The above equations can be applied to all three zones of Bangkok and can be employed for piles whose tips are in the clay layer as well as the sand layer
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. (วิศวกรรมโยธา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2566
metadata.dc.description.degree-name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2756
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Eng-CE-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ASAMAPORN TONGLEE.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.