Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/278
Title: ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน : กรณีศึกษาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง การบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน
Other Titles: Constitutionality of the anti-money laundering act of B.E. 2542: a case study on the constitutional court’s decision
Authors: ณัฐธิดา ติตถะสิริ
metadata.dc.contributor.advisor: ญาดา กาศยปนันทน์
Keywords: กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ;การฟอกเงิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ;เงินตรา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ในปัจจุบันการฟอกเงิน ถือว่าเป็นความผิดทางอาญาร้ายแรงที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ จึงจำเป็นที่จะต้องตราพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นมาตรการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรม โดยมีมาตรการทางกฎหมายพิเศษที่สำคัญ 2 มาตรการ คือ มาตรการทางอาญา โดยกำหนดให้การฟอกเงินเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เป็นความผิดที่มีโทษทางอาญา และมาตรการทางทรัพย์สิน ให้ดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้กระทำความผิด และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินต่อไป แม้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 จะถูกตราขึ้น โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสกัดกั้นและยับยั้งปัญหาการฟอกเงินก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวในเรื่องการดำเนินการทางทรัพย์สินบางมาตราเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของบุคคล และเพิ่มภาระให้แก่บุคคลเกินสมควร ซึ่งเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ ความผิดฐานฟอกเงินนั้น จริงๆ แล้วก็คือความผิดอาญาแผ่นดินโดยแท้ เห็นได้จากความผิดมูลฐานทั้ง 26 มูลฐานที่ล้วนแล้วแต่เป็นความผิดอาญาทั้งสิ้น แต่กฎหมายฟอกเงินกำหนดให้มีมาตรการทางแพ่ง ซึ่งมาตรา 50 และ มาตรา 51 วรรคสาม กลับบัญญัติเป็นการผลักภาระการพิสูจน์ไปให้ฝ่ายเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้ที่ อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินมีภาระที่ต้องพิสูจน์เสียเอง ซึ่งการนำกระบวนการทางแพ่งมาปรับใช้ย่อมถือว่าไม่ตรงกับหลักการทางกฎหมายอาญา จึงไม่สอดคล้องต่อหลักนิติธรรมที่ว่ากฎหมายที่ดีจะต้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือสิทธิขั้นพื้นฐานอื่นๆ รวมทั้งสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน และเป็นการเพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิ หรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุและขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 26 และการที่กำหนดให้การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน เป็นมาตรการทางแพ่งและตีความว่าสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์สินย้อนหลังได้ จึงเป็นการบัญญัติมาตรการทางกฎหมายที่เป็นผลย้อนหลังที่เป็นโทษอันเป็นปฏิ ปักษ์กับหลักความยุติธรรมของสากล ไม่สอดคล้องต่อหลักนิติธรรม และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 เป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ตามมาตรา 26 อีกด้วย
metadata.dc.description.other-abstract: Money laundering is considered as a serious crime that is globally concerned. Therefore, the Anti-Money Laundering Act, B.E. 2542, must be enacted. This act is a measure terminating the circles of crimes. It consists of two special measures: the criminal measure stating that money laundering is illegal action that has criminal punishments and the property measure that confiscate criminals’ and stakeholders’ properties. Although the Anti-Money Laundering Act, B.E. 2542, is enacted in order to prevent money laundering problems, the mentioned act states that the property measure limits the rights and freedoms of individuals under the constitution and creates inappropriate burdens for them. That is, this does not comply with the constitution. Money laundering actually is a crime as can be seen from the 26 fundamental offenses that are all crimes. However, the money laundering law states civil measures with the Sections 50 and 51 that create burdens for properties’ owners or individuals who claim that they own the properties to prove issues. Using civil methods does not comply with the principles of criminal laws. Hence, this does not comply with the legal principles that good laws must protect people’s rights, prides, other basic rights and ownerships of properties and not create burdens or limit the rights or freedoms of the people inappropriately. Moreover, this does not comply with the Section 26 of the constitution of the kingdom of Thailand, B.E. 2560. Since actions about the properties are under the civil measures and the properties can be confiscated, these measures have retrospective effects that do not comply with international principle of justice as well as the kingdom of Thailand’s legal principles and constitution, B.E. 2560. The Section 29 also excessively limits the rights and freedom of individuals. It also affects their prides according to the Section 26.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิติศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/278
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Law-Law-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natthida Titthasiri.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.