Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/364
Title: | การดำรงอยู่และสุนทรียภาพของสัญรูปนาคในสื่อบันเทิงไทย |
Other Titles: | The existing and aesthetic of naga icon in Thai entertainment media |
Authors: | ณชรต อิ่มณะรัญ |
metadata.dc.contributor.advisor: | กฤษณ์ ทองเลิศ |
Keywords: | นาค -- ความเชื่อ;นาค -- สัญลักษณ์;การสื่อสาร -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา;สุนทรียภาพ;สัญญลักษณ์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนีมี้วัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงภูมิหลังของสัญรูปนาคและการประกอบสร้าง โลกทัศน์ความจริงเกี่ยวกับสัญรูปนาคในงานภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ การดำรงอยู่ องค์ประกอบเชิงสุนทรียภาพทางการสื่อสาร แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ปรัชญาภว วิทยาและโลกทัศน์เกี่ยวกับการมีอยู่ วรรณกรรมเกี่ยวกับนาคเนื่องในศาสนา แนวทางการสื่อ ความหมายของภาพจิตรกรรมไทย แนวคิดการผลิตซํ ้าเพื่อสืบทอดทางวัฒนธรรม แนวคิด แบบจำลองการสื่อสารของ Jakobson ปรัชญาชีวสมาสัยและอเสถียรตรรกะ การวิจัยนีเ้ ป็ นการ วิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิเคราะห์ตัวบทงานภาพจิตรกรรมฝาผนังไทย ภาพยนตร์ เรื่อง “15 คํ่า เดือน 11” ละครโทรทัศน์เรื่อง “นาคี” และการสัมภาษณ์นักสร้างสรรค์งานสัญรูปที่เกี่ยวข้อง กับนาค ผลการวิจัยดังนี ้ 1. ภูมิหลังและการประกอบสร้างโลกทัศน์ความจริงเกี่ยวกับสัญรูปนาคในงาน จิตรกรรมตัง้ อยู่บนโลกทัศน์แบบอุดมคตินิยมผ่านสัญลักษณ์ภาพจิตรกรรม ได้แก่ ก) สัญลักษณ์ ลายเส้นและการเคลื่อนไหวของรูปทรง ข) สีกาย ค) การใช้เส้นสินเทา และ ง) การแสดงสัญรูปของ นาคที่มีอิทธิฤทธิ์ การดำรงอยู่ของสัญรูปนาคในงานจิตรกรรมฝาผนังไทยดำรงอยู่ในฐานะงานชัน้ ครูที่เป็นมรดกของชาติและได้รับการผลิตซำ้ ในสื่อสมัยใหม่ 2. โลกทัศน์ความจริงเกี่ยวกับสัญรูปนาคที่สะท้อนผ่านภาพยนตร์และละคร โทรทัศน์พบว่ามีโลกทัศน์ความจริงแบบอุดมคตินิยม เหตุผลนิยม และการบูรณาการโลกทัศน์แบบ อุดมคตินิยมและเหตุผลนิยม 3. องค์ประกอบเชิงสุนทรียภาพทางการสื่อสารของสัญรูปนาค ประกอบด้วย ก) รูปลักษณ์ของนาคมีความงามตามองค์ประกอบศิลป์ ข) ลายเส้นโค้งของนาคเป็นเอกลักษณ์ของ ความงามที่มีความหมาย ค) พืน้ ผิวของเกล็ดนาคเป็นองค์ประกอบสำคัญของความงาม ง) ความ เคลื่อนไหวของพญานาคเป็นกระบวนท่าที่สง่างาม จ) ความงามของพญานาคเกิดจาก ความสัมพันธ์กับบริบท และ ฉ) พญานาคเป็นความงามของธรรมชาติที่สมจริงผสานกับจินตนาการ ในส่วนของสัญรูปนาคในสื่อสมัยใหม่มีประเด็นเพิ่มเติมคือ สัญรูปนาคจำแลงเป็นความงามในร่าง มนุษย์แบบเกินจริง และความงามเป็นอุบัติการณ์ใหม่ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้รับสาร |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purpose of this study was to understand background and the construction of the real-world vision of Naga icon portrayed in films and television dramas, including its existence and communicative aesthetics. The concepts and theories employed in this study include ontology, the concept of Naga existence, Naga-related literature, the signification of Thai mural paintings, cultural reproduction, Jakobson’ s communication model, the philosophy of symbiosis, and fuzzy logic. This study is a qualitative study that encompasses the textual analysis of Thai mural paintings, “ Mekhong Full Moon Party” film, “Na Kee” television drama, and interviews with Naga icon makers. The results revealed that; 1. The background and construction of the real-world vision of Naga icon in mural paintings was based on an idealistic worldview which was shown through figurative symbols. These include a) line symbols and shape movement; b) colors of Naga’s body; c) use of zigzag lines; and d) portrayal of Naga icon with magical power. The existence of Naga in Thai mural paintings was placed highly in a respectable master’ s level as a national legacy, and had been reproduced in the contemporary media. 2. The real-world vision of Naga icon reflected through films and dramas includes the real-world vision of idealism, rationalism, and the applied mixture of both idealism and rationalism. 3. The aesthetic components in the portrayal of Naga icon are as follows: a) the Naga’s appearance was artistically beautiful; b) the curved lines of Naga icon symbolized unique and eloquent beauty; c) the scales of Naga were a major component of beauty; d) the movement of Naga was expressed in an elegant manner; e) the beauty of Naga was attributable to its relationship with the context; and f) Naga was a combination of realistic, natural beauty and imagination. Regarding the Naga icon portrayed in the contemporary media, it was evident that the Naga icon in its human form bore surrealist beauty, which was a new phenomenon that occurred through the participation of the audience |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/364 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CA-CA-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nacharata Aimnaran.pdf | 3.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.